Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41604
Title: ประสิทธิภาพของเพลงชาติไทย และผลกระทบที่มีต่อชนชั้นทางสังคม
Other Titles: The efficiency of the Thai national anthem and its impacts upon different social classes
Authors: วราวัฑฒิ์ ชูโต
Advisors: กิตติ กันภัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Subjects: เพลงชาติ
ชนชั้นในสังคม
การสร้างจิตสำนึก
National songs
Social classes
Conscientization
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยที่ผสมผสานกันระหว่างการวิจัยในเชิงคุณภาพและในเชิงปริมาณ ซึ่งไม่เพียงแต่มุ่งเน้นไปที่การศึกษาและประเมินให้ทราบถึงประสิทธิภาพเพลงชาติไทยฉบับปัจจุบันในการสร้างความสำนึกและความรักชาติ ด้วยกรอบแนวคิดทางสัญศาสตร์ การตีความแบบเฮอร์เมอนิวติคส์ การเล่าเรื่อง และองค์ประกอบทางดนตรีเท่านั้น หากแต่ยังได้มุ่งเน้นไปที่การศึกษาและวิเคราะห์ให้ทราบถึงผลกระทบในมิติของการรับรู้ ความรู้สึก ปฏิกิริยาการตอบสนองทางกายภาพ ความสำนึก และความรักชาติ ของชนชั้นทางสังคมในกรุงเทพมหานครที่เคยได้ยินได้ฟังเพลงชาติไทย ผ่านประสบการณ์ชีวิตโดยรวม จากการวิจัยเชิงสำรวจ ด้วยการใช้แบบสอบถามจำนวน 399 ชุด เป็นเครื่องมือหลักในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ชนชั้นล่าง ชนชั้นกลาง และชนชั้นบน จำนวนกลุ่มละ 133 คนเท่าๆ กัน จากนั้นจึงนำมาวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยโปรแกรมหาค่าสถิติทางสังคมศาสตร์สำเร็จรูป โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ สถิติร้อยละ สถิติค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมทั้งทำการทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติเชิงอนุมานหรืออ้างอิง ได้แก่ สถิติทดสอบความแปรปรวนทางเดียว และเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่ ด้วยวิธี แอลเอสดี ของฟิชเชอร์ ทำการทดสอบที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ทั้งนี้และทั้งนั้น ผลการวิจัยพบว่า 1. เพลงชาติไทยฉบับปัจจุบัน มีประสิทธิภาพในการสร้างความสำนึกและความรักชาติ อยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้ถึงแม้ว่าเพลงชาติจะมีเนื้อร้อง ความหมาย และองค์ประกอบของการเล่าเรื่องที่เอื้อให้เกิดความสำนึกและความรักชาติขึ้นมาได้ หากแต่เนื้อร้องและความหมายส่วนใหญ่นั้น กลับโน้มเอียงไปยังด้านการผนึกรวมกำลังเพื่อทำศึกสงครามมากกว่าด้านอื่นๆ อีกทั้งความหมายแทบทั้งหมดยังถูกถ่ายทอดออกมาโดยฝ่ายของชนชั้นปกครองหรือในที่นี้คือรัฐบาลและกองทัพทหาร ตลอดจนเนื้อร้องและความหมายส่วนใหญ่ก็ยังถูกผูกยึดไว้ด้วยมิติของเวลาในอดีต ซึ่งทำให้บทเพลงไม่สามารถธำรงความเป็นอมตะไว้ได้ ในขณะเดียวกันนั้น ถึงแม้ว่าเพลงชาติจะมีองค์ประกอบทางดนตรีที่สามารถสร้างความตื่นตัว คึกคัก กระฉับกระเฉง สง่าผ่าเผย องอาจ และฮึกเหิมออกมาได้ อีกทั้งยังมีความลื่นไหลและกลมกลืนซึ่งช่วยเกื้อหนุนให้บทเพลงสื่อสารความหมายในเรื่องของชาติได้เด่นชัดมากขึ้น ตลอดจนยังมีความเรียบง่ายและเหมาะสมต่อทุกคนในการรับรู้ รับฟัง จดจำ ขับร้อง และเข้าถึงความหมายที่บทเพลงต้องการจะสื่อได้จริง หากแต่องค์ประกอบทางดนตรีโดยรวมของเพลงชาติไทยนั้น ยังคงขาดบกพร่องซึ่งจิตวิญญาณ เอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ของความเป็นไทยไป โดยเฉพาะในส่วนของทำนองเพลงเองที่ยังขาดไปอยู่มาก 2. ชนชั้นทางสังคม เกิดการรับรู้ที่ไม่แตกต่างกัน เมื่อได้ยินได้ฟังเพลงชาติไทย 3. ชนชั้นทางสังคม เกิดความรู้สึกที่แตกต่างกัน เมื่อได้ยินได้ฟังเพลงชาติไทย โดยที่ชนชั้นล่างมีมากกว่าชนชั้นกลาง และชนชั้นกลางมีมากกว่าชนชั้นบน ตามลำดับ 4. ชนชั้นทางสังคม เกิดปฏิกิริยาตอบสนองทางกายภาพ ความสำนึก และความรักชาติที่แตกต่างกัน เมื่อได้ยินได้ฟังเพลงชาติไทย โดยที่ชนชั้นล่างมีมากกว่าทั้งชนชั้นกลางและชนชั้นบน
Other Abstract: This integrated qualitative and quantitative research aims to evaluate the efficiency of the current version of the Thai national anthem in developing of national consciousness and nationalism in Thai people through the application of semiotic theory, hermeneutics theory, narrative theory and musical element analysis. It also emphasizes on the impact of the anthem upon different social classes in Bangkok. The study focal points comprise the impact upon their perception, feelings, physical reactions, consciousness and nationalism from audience’s experience. The data is compiled through a survey research with 399 questionnaires. The survey respondents consist of people from the lower class, the middle class, and the upper class with 133 respondents for each group. The Statistical Package for Social Sciences Program (SPSS) is employed to analyze the data and calculate descriptive statistics, including percentage, mean, and standard deviation, as well as inferential statistics for hypothesis testing, i.e. One-Way ANOVA and Fisher’s least significant difference (LSD), with the level of significance at 0.05. The research findings are as follows: 1. The current version of the Thai national anthem is moderately effective in developing national consciousness and nationalism. Although the lyrics of the anthem, including its meaning and narrative elements, facilitate in developing consciousness and nationalism, the main content is still orientated towards force gathering in times of war rather than presenting other forms of solidarity. Moreover, most of the message comes from the ruling class, which in this case are the government and the military institutions. The meaning of the song is associated with the history of the nation, which reduces the quality of immortality. Meanwhile, the musical elements of the anthem can provoke activeness, alertness, vigor, dignity, boldness and courage. Furthermore, with its flowing harmony, it facilitates the concept of the nation. Additionally, the music simplicity makes it easier for everyone to perceive, listen, remember, sing and appreciate the significance of the true meaning. However, the overall musical elements, particularly the melody, still lack the signification of the Thai spirit, unique characteristics and identity. 2. People in each social class perceive the song at the same level when they hear the anthem. 3. People in each social class have feelings at different levels when they hear the anthem. The lower class has a higher level than the middle class and the upper class respectively. 4. People in each social class have physical reactions, consciousness, and nationalism at different levels when they hear the anthem. The lower class has a higher level than the middle and the upper class.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.) --จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41604
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.571
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.571
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Warawat_xu_front.pdf2.09 MBAdobe PDFView/Open
Warawat_xu_ch1.pdf3.71 MBAdobe PDFView/Open
Warawat_xu_ch2.pdf14.8 MBAdobe PDFView/Open
Warawat_xu_ch3.pdf4.95 MBAdobe PDFView/Open
Warawat_xu_ch4.pdf13.34 MBAdobe PDFView/Open
Warawat_xu_ch5.pdf4.68 MBAdobe PDFView/Open
Warawat_xu_ch6.pdf5.05 MBAdobe PDFView/Open
Warawat_xu_back.pdf5.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.