Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41947
Title: การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมือง กรุงธนบุรี
Other Titles: Conservation and development guidelines of urban environment in Krung Thonburi
Authors: สันติ กมลนรากิจ
Advisors: ดุษฎี ทายตะคุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Subjects: การพัฒนาเมือง -- ไทย -- ธนบุรี (กรุงเทพฯ)
การพิทักษ์สิ่งแวดล้อม -- ไทย -- ธนบุรี (กรุงเทพฯ)
การคุ้มครองภูมิทัศน์ -- ไทย -- ธนบุรี (กรุงเทพฯ)
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพัฒนาการของสิ่งแวดล้อมเมืองในกรุงธนบุรี ทั้งปัจจัยด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจและสังคม 2) วิเคราะห์ประเภท การกระจายตัวของสิ่งแวดล้อมเมือง คุณค่าและเอกลักษณ์ของสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมในกรุงธนบุรี 3) วิเคราะห์การเชื่อมโยงระหว่างสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมกับพื้นที่โดยรอบและวิเคราะห์ศักยภาพ ปัญหาและความต้องการของพื้นที่ศึกษา และ 4) เสนอแนะแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองกรุงธนบุรี ผลการศึกษาพบว่า หลังจากมีการขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยาตรงบริเวณเมืองบางกอกในสมัยอยุธยา กรุงธนบุรีได้มีพัฒนาการความเป็นเมืองสืบเนื่องต่อมา โดยมีบทบาทเป็นเมืองหน้าด่านและเมืองท่าให้กับกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรีเป็นราชธานีของไทย ในช่วงปี พ.ศ.2310-2325 ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พัฒนาการของสิ่งแวดล้อมเมืองในด้านต่างๆ ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามบทบาทของเมืองแต่ละยุคสมัย โดยลักษณะการตั้งถิ่นฐานเป็นรูปแบบของชุมชนริมน้ำและเกษตรกรรมใช้เส้นทางน้ำเป็นทางคมนาคมหลักและมีประชากรที่มีเชื้อชาติหลากหลายอยู่รวมกันทั้งชาวไทยดั้งเดิม ชาวจีน ชาว มุสลิม ชาวตะวันตก รวมทั้งชาวมอญ ลาว ญวน หลังจากเปลี่ยนมาเป็นเขตการปกครองหนึ่งของกรุงเทพมหานครในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พื้นที่ศึกษากรุงธนบุรีมีบทบาทและการพัฒนาเมืองควบคู่และรองรับความเจริญไปกับฝั่งพระนคร จนกลายมาเป็นชุมชนเมืองขยายตัวไปทั่วพื้นที่โดยมีเส้นทางถนนเป็นเส้นทางคมนาคมหลักในปัจจุบัน ผลจากการวิเคราะห์พบว่า กรุงธนบุรีมีสิ่งแวดล้อมเมืองที่มีคุณค่าและเอกลักษณ์เป็นจำนวนมาก ซึ่งประกอบด้วยมรดกวัฒนธรรมที่เป็น พระราชวัง วัง วัด ศาสนสถาน สถานที่ราชการ บ้าน รวมทั้งชุมชนดั้งเดิมที่อยู่โดยรอบ ประเพณี วัฒนธรรม วิถีชีวิตที่มีเอกลักษณ์ ซึ่งมีการกระจายตัวอยู่ทั่วพื้นที่ โดยเฉพาะริมแม่น้ำเจ้าพระยา คลองสายหลัก ได้แก่ คลองบางกอกน้อย คลองบางกอกใหญ่ คลองชักพระและคลองมอญ รวมทั้งคลองสายย่อยและถนนสายต่างๆ ที่กระจายอยู่ในพื้นที่ โดยมีความเชื่อมโยงและการเข้าถึงทั้งภายในและพื้นที่ใกล้เคียงเข้าด้วยกัน ปัจจุบันกรุงธนบุรีประสบกับปัญหาที่เกิดจากการขยายตัวและความเจริญเติบโตของเมือง รวมทั้งปัญหาที่เกิดกับมรดกและพื้นที่โดยรอบที่มีความแออัดและเสื่อมโทรมของชุมชน ปัญหาด้านสังคมภายในชุมชน รวมทั้งปัญหาที่เกิดจากการพัฒนาทางกายภาพ เช่น การพัฒนาที่ดิน การตัดถนน การสร้างสะพาน การสร้างเขื่อน ประตูน้ำ เป็นต้น ซึ่งหากไม่มีการควบคุมและการระมัดระวังอาจส่งผลให้เกิดความสูญเสียคุณค่าและเอกลักษณ์ต่อสิ่งแวดล้อมเมือง กรุงธนบุรี การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมือง กรุงธนบุรีนั้นควรมีการวางแผนทั้งในระดับภาพรวม เพื่อเป็นข้อกำหนดหรือกรอบนำไปปฏิบัติในการอนุรักษ์ พัฒนาพื้นที่ให้ดำเนินงานได้บรรลุตามเป้าหมาย วัตถุประสงค์ นโยบายและมาตรการทางวางไว้ โดยมีการวางแผนการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ในระดับชุมชนมาสนับสนุน เพื่อเพิ่มศักยภาพ ป้องกัน แก้ไขปัญหาได้ตรงจุดและสอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ด้วย นอกจากมีการอนุรักษ์ บูรณะ ปรับปรุงตัวมรดกวัฒนธรรมแล้ว ควรคำนึงถึงพื้นที่ที่อยู่โดยรอบด้วยเช่นกัน อันได้แก่ ชุมชน สภาพทางธรรมชาติ หรือสิ่งที่ถือเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน เช่น ประเพณี วัฒนธรรม วิถีชีวิต กิจกรรมทางสังคมและเศรษฐกิจ เพื่อคงไว้ถึงคุณค่าและเอกลักษณ์ของพื้นที่และพื้นที่ศึกษากรุงธนบุรี ในอันที่จะส่งผลดีต่อเนื่องไปยังการเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของกรุงธนบุรีต่อไป
Other Abstract: The objectives of this study are (1) To study the development of Krung Thonburi urban environment in the aspects of politics, government, economy and social (2) To analyze types of the urban environment expansion relatively to the value and feature of historical places in Krung Thonburi (3) To analyze the connection of those historical places and their vicinity, including potential, problem and requirement of the study areas and (4) To recommend a guideline on conservation and development of urban environment in Krung Thonburi. From the study, it found that Krung Thonburi carried on urban development after there was canal excavation cutting across Bangkok at the end of Ayudhaya to Thonburi era. Then, Bangkok became the port city of Ayudhya and Thonburi during the period of 1767-1782 (B.E. 2310-2325), in the reign of the Great King Taksin. Urban environment in Krung Thonburi had been developed accordingly the changing events. The feature of community settlement was around rivers where people of mixed race used for agriculture and main transportation. After becoming a district of Bangkok in the Rattanakosin era, Krung Thonburi had been developed together with the development of Phra Nakorn district as urban environment extended along main transportation until today. An analysis found that Krung Thonburi has many valuable and unique urban environment consisting of cultural heritage like the grand palace, palaces, temples, religious places, government offices, houses as well as old communities with unique tradition, culture and way of life which they have settled around the Chao Phraya River and main canals such as Bangkoknoi, Bangkokyai, Chakphra and Mon including minor canals and roads where all links areas together. Presently, Krung Thonburi encounters problems of urban environment extension and growth of the city as well as slums and deteriorated communities around the places of cultural heritage. Social problems in community and physical problems i.e. land development, construction of roads, bridges and water gates and etc. may destroy a value and image of Krung Thonburi if there is still no guidance and control for urban development. The conservation and development of Krung Thonburi urban environment shall be planned at urban level with explicit guidelines, objectives, policies and measures to be achieved. The development shall be done together with the conservation and development of local communities in order to increase potential and protection and to find solution accordingly local requirements. Beside conserving and restoring the cultural heritage, their vicinity like local communities living nearby which have unique tradition, culture, way of life, social and economic activities should be reserved as the prominent feature of Krung Thonburi. Hence conservation and development of Krung Thonburi will also promote a cultural tourism to be sustainable.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางผังเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41947
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1024
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1024
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Santi_ka_front.pdf3.72 MBAdobe PDFView/Open
Santi_ka_ch1.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open
Santi_ka_ch2.pdf9.06 MBAdobe PDFView/Open
Santi_ka_ch3.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open
Santi_ka_ch4.pdf10 MBAdobe PDFView/Open
Santi_ka_ch5.pdf9.96 MBAdobe PDFView/Open
Santi_ka_ch6.pdf16.94 MBAdobe PDFView/Open
Santi_ka_ch7.pdf14.25 MBAdobe PDFView/Open
Santi_ka_back.pdf1.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.