Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42190
Title: ความเครียด ภาระการดูแล และทัศนคติที่มีต่อเด็กออทิสติกของครูที่ดูแลเด็กออทิสติก ในโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
Other Titles: Stress, burden, and attitude towards autistic children in teachers of autistic children at Kasetsart University Laboratory School Center of Educational Research and Development
Authors: นฤมล ทวีพันธ์
Advisors: พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: peeraphon_tu@yahoo.com
Subjects: เด็กออทิสติก -- การดูแล
ครู -- แง่จิตวิทยา
Autistic children -- Care
Teachers -- Psychological aspects
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความเครียด ภาระการดูแล และทัศนคติที่มีต่อเด็กออทิสติกของครูที่ดูแลเด็กออทิสติก รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดกับภาระการดูแล และทัศนคติที่มีต่อเด็กออทิสติก ในโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา วิธีการศึกษา: เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูที่ดูแลเด็กออทิสติกในโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา จำนวน 160 คน ตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม 2555 ผู้เข้าร่วมการศึกษาตอบแบบสอบถาม 5 ชุด ด้วยตนเอง ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามความเครียดของครูที่ดูแลเด็กออทิสติก 3) แบบสอบถามภาระการดูแลของครูที่ดูแลเด็กออทิสติก 4) แบบสอบถามทัศนคติที่มีต่อเด็กออทิสติกของครูที่ดูแลเด็กออทิสติก และ 5) แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม นำเสนอความเครียด ภาระการดูแล ทัศนคติที่มีต่อเด็กออทิสติกของครู เป็นค่าเฉลี่ย ค่าสัดส่วน และร้อยละ และทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเครียดกับภาระการดูแล และทัศนคติ โดยใช้การทดสอบไคสแควร์ และวิเคราะห์ความถดถอยลอจิสติก เพื่อหาปัจจัยทำนายความเครียดของครูที่ดูแลเด็กออทิสติก ผลการศึกษา: ครูที่ดูแลเด็กออทิสติกส่วนใหญ่ (ร้อยละ 79.4) มีความเครียดอยู่ในระดับน้อย มีความรู้สึกไม่เป็นภาระการดูแล (ร้อยละ76.3) และมีทัศนคติที่มีต่อเด็กออทิสติกระดับดี (ร้อยละ75.6) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของครู ได้แก่ หน้าที่ความรับผิดชอบ (p < 0.05) ภาระการดูแล (p < 0.05) ทัศนคติที่มีต่อเด็กออทิสติกของครู (p < 0.05) และการสนับสนุนทางสังคม ( p < 0.01) ผลการวิเคราะห์ความถดถอยลอจิสติก พบว่า ปัจจัยทำนายความเครียดในระดับมากที่สุดถึงน้อยของครูที่ดูแลเด็ก ได้แก่ มีความรู้สึกเป็นภาระในการดูแล (p < 0.05) ทัศนคติที่มีต่อเด็กออทิสติกของครูระดับไม่ดีถึงปานกลาง (p < 0.05) และมีการสนับสนุนทางสังคมน้อยถึงปานกลาง (p < 0.01) สรุป: ครูที่ดูแลเด็กออทิสติกในโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา ส่วนใหญ่มีความเครียดอยู่ในระดับน้อย มีความรู้สึกไม่เป็นภาระ และมีทัศนคติที่มีต่อเด็กออทิสติกระดับดี ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดของครูที่ดูแลเด็กออทิสติก ได้แก่ หน้าที่ความรับผิดชอบ ภาระการดูแล ทัศนคติที่มีต่อเด็กออทิสติกของครู และการสนับสนุนทางสังคม
Other Abstract: Objective: To study stress, burden, and attitude towards autistic children in teachers of autistic children and relationship between in teachers of burden and attitude towards autistic children at Kasetsart University Laboratory School Center of Educational Research and Development. Method: The data was collected from 160 teachers of students with autism in Kasetsart University Laboratory School Center of Educational Research and Development from August to October 2012. The participants answered five questionnaires which consisted of: 1) Demographic data form 2) Stress Questionnaire of Teachers Caring Autistic Children 3) Burden Interview of Teachers Caring Autistic Children 4) Attitude of Teachers towards Autistic Children Questionnaire and 5) Social Support Questionnaire. The stress, burden, and attitude was presented by mean, proportion, and percentage. The relationship between the stress level and burden, attitude and social support was analyzed by chi-square test. Logistic regression was performed to find out the predictors of the stress in the teachers. Result: Most of the teachers of Autistic Children (79.4%) had the low level of stress. Most of them felt that they had no burden in caring autistic children (76.3%), and had the good level of attitude towards autistic children (75.6%). Factors related to teachers’ stress were responsibilities (p<0.05), burden (p<0.05), attitude towards autistic children (p<0.05), and social support (p<0.01). By logistic regression, the predictors of the highest - to- low level of teachers’ stress were having burden (p<0.05), poor to medium of teachers’ attitude toward autistic children (p<0.05), and low to medium level of social support (p<0.01). Conclusion: Most of the teachers of autistic children in Kasetsart University Laboratory School Center for Educational Research and Development had the low level of stress had no burden in caring autistic children and had the good level of attitude towards autistic children. The factors related to the teachers‘ stress were burden, attitude, and social support.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42190
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.723
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.723
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nareumol_th.pdf1.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.