Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4253
Title: ชีวิตวัฒนธรรมของกลุ่มแฟนเพลงเฮฟวี่เมทัลในประเทศไทย
Other Titles: A cultural life of heavy metal's fan in Thailand
Authors: ชลวรรณ วงษ์อินทร์
Advisors: โอฬาร วงศ์บ้านดู่
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: วัฒนธรรม
ผู้รับสาร
การเปิดรับข่าวสาร
อัตลักษณ์
กลุ่มสัมพันธ์
ชาติพันธุ์วิทยา
แฟนคลับ
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาลักษณะกลุ่ม การรวมกลุ่ม การแสวงหาข่าวสาร และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการฟังเพลงเฮฟวี่เมทัล ของกลุ่มแฟนเพลงเฮฟวี่เมทัลในประเทศไทย ในฐานะกลุ่มผู้รับสารแบบกลุ่มแฟนหรือรสนิยมทางวัฒนธรรม (fan group or taste culture) ภายใต้กรอบแนวคิดเรื่องวัฒนธรรม วิธีการเก็บข้อมูลได้ประยุกต์ใช้วิธีการแบบชาติพันธุ์วิทยา ซึ่งประกอบไปด้วยการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการ ผลการวิจัยพบว่า แฟนเพลงเฮฟวี่เมทัลในประเทศไทยนั้นมีความหลากหลายในด้านประชากร และมีการรวมกลุ่มกันอย่างเหนียวแน่น โดยมีเครือข่ายการสื่อสารทั้งแบบศูนย์กลางและแบบกระจายอำนาจ การรวมกลุ่มที่สำคัญที่สุดของแฟนเพลงเฮฟวี่เมทัลในประเทศไทยคือ การชมคอนเสิร์ตซึ่งมีการจัดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ โดยการชมคอนเสิร์ตนี้จะเป็นการรวมกลุ่ม ที่แฟนเพลงสามารถแสดงอัตลักษณ์ออกมาได้ และจากการรวมกลุ่มชมคอนเสิร์ต ทำให้แฟนเพลงขยายความสัมพันธ์โดยมีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมต่างๆ เป็นผลทำให้กลุ่มของแฟนเพลงเฮฟวี่เมทัลในประเทศไทยมีความเหนียวแน่นและยั่งยืน ถึงแม้ว่าปัจจุบันทั้งวิทยุและโทรทัศน์จะไม่มีการนำเสนอเรื่องราวของดนตรีเฮฟวี่เมทัล แต่แฟนเพลงเฮฟวี่เมทัลก็อยู่ในฐานะผู้รับสารที่มีศักยภาพในการเลือกรับสื่อ และใช้ประโยชน์จากสื่อได้เป็นอย่างดี โดยสื่อหลักที่แฟนเพลงใช้แสวงหาข่าวสารคือสื่ออินเตอร์เน็ต นอกจากนั้นแล้วแฟนเพลงยังใช้สื่ออินเตอร์เน็ต ในการสร้างเครือข่ายติดต่อสื่อสารกันระหว่างกลุ่มด้วย ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปิดรับเฮฟวี่เมทัลนั้นพบว่า เกิดขึ้นจากปัจจัยทางจิตวิทยา หมายถึง รสนิยมในการฟังเพลง เพื่อการผ่อนคลาย เพื่อปลดปล่อยอารมณ์ และบ่งบอกความเป็นตัวของตัวเอง อีกทั้งยังมีปัจจัยทางสังคมวิทยาในเรื่องการหลีกหนีปัญหาต่างๆ และเพื่อปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของแฟนเพลงเฮฟวี่เมทัลด้วย
Other Abstract: Based on the framework of cultural theories, this study aims to examine the cultural life of heavy metal fans in Thailand by investigating their group character, group formation and information accession. In addition, it also focuses on influential factors for their choice of music. Applied ethnography, participant observation, in-depth interview and informal conversation were used as methods for this study. The study found that Thai heavy metal fans very in terms of population and have a close relationship with each other using centralized and decentralized communication networks. The most popular group formation of Thai heavy metal fans is participation in live concerts which allows them to freely express their heavy metal identity. The study also found that their group formation expands to non-music-related activity resulting in the firm and long-lasting relations. Despite the absence of heavy metal news on mass media, heavy metal audience received the information effectively. Their communication and information accession are mainly made through the Internet where there are many websites about heavy metal available for them. In conclusion, psychological and social factor influence the way Thai fans opt for heavy metal music. It responses to their taste of music, gives them pleasure, and helps them express their identity. Heavy metal fans also rely on the music when they encounter social problems. It is a channel for social relation to others, as well
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4253
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.828
ISBN: 9741433433
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.828
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chonlawon.pdf4.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.