Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/425
Title: แนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้กลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Other Titles: Practical guidelines for the measurement and evaluation of learning outcome in vocational and technology for prathom suksa four
Authors: ปิยาภรณ์ วัดสว่าง
Advisors: ศิริชัย กาญจนวาสี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: การประเมินผลทางการศึกษา
กลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี--การประเมินผล
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินคุณภาพของแนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้กลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 วิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1) กำหนดจุดมุ่งหมายของแนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 2) ร่างแนวปฏิบัติฯ และคู่มือการใช้ 3) สร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดระดับและพัฒนาการเรียนรู้ 4) ทดลองใช้แนวปฏิบัติฯ 5) ประเมิน คุณภาพแนวปฏิบัติฯ 6) ปรับปรุงแนวปฏิบัติฯ ผลที่ได้จากการดำเนินการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1. แนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้กลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี ตามแนวคิดของ ศิริชัย กาญจนวาสี (2543) ซึ่งประกอบด้วย 1) ช่วงเวลาของการประเมินผลการเรียนรู้ควบคู่ไปกับการเรียนการสอน ทั้งก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน ในทุกหน่วยการเรียนรู้ โดยยึดเป้าหมายการเรียนรู้เป็นสำคัญ 2)สาระของการประเมินต้องครอบคลุมสาระและพัฒนาการของการเรียนรู้ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้/ทักษะ, ด้านวิธีการแสวงหาความรู้/ทักษะ และด้านคุณธรรม และ 3) เกณฑ์การประเมินโดยอิงตนเอง ใช้วิธีการวัดคะแนนพัฒนาการ (ศิริชัย กาญจนวาสี, 2532) 2. เครื่องมือวัดระดับและพัฒนาการเรียนรู้ 4 ฉบับ คือ 1) แบบสอบความรู้/วิธีการแสวงหาความรู้ 2) แบบสอบทักษะการปฏิบัติงาน 3) แบบประเมินทักษะการปฏิบัติงาน และ 4) แบบสังเกตพฤติกรรมด้าน คุณธรรมอันพึงประสงค์ ผู้วิจัยได้นำแนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ไปทดลองใช้และได้เก็บรวบรวมข้อมูลย้อนกลับจากครูผู้ทดลองใช้แนวปฏิบัติฯ มีผลการประเมินคุณภาพดังนี้ 1) ด้านคู่มือการใช้ พบว่า คู่มือการใช้เขียนอธิบายวัตถุประสงค์ของแนวปฏิบัติฯ, วิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน, การคำนวณคะแนน, การกรอกคะแนนลงแบบฟอร์มต่างๆ ได้ชัดเจนภาษาที่ใช้ เข้าใจง่าย และผู้ใช้สามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง 2) ด้านการนำไปใช้ พบว่า วิธีการและแบบฟอร์มต่างๆ ในการวัดและประเมินผลตามแนวปฏิบัติฯ สามารถทำได้ไม่ยุ่งยาก และได้รับผลตอบรับจากนักเรียนเป็นอย่างดี 3) ด้านประโยชน์ พบว่า ผู้ทดลองใช้ได้รับประโยชน์จากแนวปฏิบัติฯ เป็นอย่างมาก 4) ด้านประสิทธิภาพ พบว่า การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามแนวปฏิบัติฯ ช่วยให้ครูผู้สอนทราบถึงระดับและพัฒนาการของนักเรียนเป็นรายบุคคลอย่างละเอียด
Other Abstract: The purpose of this research was to develop and evaluate the guidelines for measurement and evaluation learning outcome in vocational and technology for prathom suksa four students. The process for this research included 1) to assign the objectives of the guidelines for measurement and evaluation of learning outcome 2) to draft the guidelines and manual to be used 3) to construct and develop the measurement tools a level and growth of learning 4) to try-out of the guidelines 5) to evaluate the guidelines and 6) to improve the guidelines. The results of the process for this research is the guideline for measurement and evaluation learning outcome based on Kanjanawasee’s principles (2543) which consists of 1) the period of evaluation of learning performed before, during and after each learning unit 2) an essence of evaluation have to cover all 3 parts of the content and growth of learning Knowledge/Skill, Learning how to learn and Moral, and 3) the criterion of self-referenced evaluation by the method of growth score (Kanjanawasee, 2532). The measurement tools of student learning’ s level and growth consist of 1) the learning achievement and learning how to learn subtest 2) the performance test 3) the performance appraisal form and 4) Behavior observation form to assess students’ s moral. Researcher had brought the guidelines for measurement and evaluation of learning outcome and had collected feedback data from the teachers concluded as the followings; 1. Manual aspect. Explanation of purpose of the guidelines, the measurement and evaluation of student learning outcome, the point calculation, how to fill out the form had been written clearly in understandable language and can be self-learning. 2. The implementation. The methodology and forms are practical and good respondency from the student. 3. The utilization. The teacher got advantage from the guidelines and meet their satisfaction. 4. The efficiency. The teacher realized and made use of the level of measurement and development of each student.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/425
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.98
ISBN: 9741761546
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.98
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyaporn.pdf3.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.