Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42645
Title: | อิทธิพลของอำนาจและความชอบธรรมต่อระยะห่างทางสังคม : การศึกษาอิทธิพลส่งผ่านของความพอเพียงในตนเอง |
Other Titles: | INFLUENCE OF POWER AND LEGITIMACY ON SOCIAL DISTANCE: THE MEDIATING EFFECT OF SELF-SUFFICIENCY |
Authors: | ปนัดดา นวธนโชติ |
Advisors: | อภิชญา ไชยวุฒิกรณ์วานิช |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา |
Advisor's Email: | apitchaya.c@chula.ac.th |
Subjects: | บุคลิกภาพ ความยุติธรรม จิตวิทยาสังคม Personality Justice Social psychology |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา : อิทธิพลของอำนาจและความชอบธรรมต่อระยะห่างทางสังคม โดยมีความพอเพียงในตนเองเป็นตัวแปรส่งผ่าน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 122 คน ได้ถูกสุ่มเข้าเงื่อนไข จากนั้นทำมาตรวัดความพอเพียงในตนเอง และมาตรวัดระยะห่างทางสังคม ผลการวิจัยพบว่า 1. เมื่อควบคุมอิทธิพลของบุคลิกภาพครอบงำ-ยอมตาม อำนาจและความชอบธรรมมีอิทธิพลทำให้ตัวแปรระยะห่างทางสังคมเพิ่มขึ้น (M = 52.16, SE = 1.14) เมื่อเทียบกับไร้อำนาจที่มีความชอบธรรม (M = 48.30, SE = 1.13) การวิเคราะห์เปรียบเทียบอิทธิพลหลักอย่างง่ายพบว่า ความแตกต่างของระยะห่างทางสังคมระหว่างกลุ่มเงื่อนไขทั้งสองกลุ่มข้างต้นมีนัยสำคัญ (p < .05) 2. เมื่อควบคุมอิทธิพลของบุคลิกภาพครอบงำ-ยอมตาม การไร้อำนาจและการไร้ความชอบธรรมไม่มีอิทธิพลทำให้ระยะห่างทางสังคมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้แม้ว่า เงื่อนไขไร้อำนาจและไร้ความชอบธรรมจะทำให้ตัวแปรระยะห่างทางสังคมเพิ่มขึ้น (M = 51.10, SE = 1.13) เมื่อเทียบกับเงื่อนไขมีอำนาจและไร้ความชอบธรรม (M = 49.65, SE = 1.12) แต่การวิเคราะห์เปรียบเทียบอิทธิพลหลักอย่างง่ายพบว่า ความแตกต่างดังกล่าวไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ความพอเพียงในตนเองไม่ได้เป็นตัวแปรส่งผ่านในความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจและระยะห่างทางสังคม อย่างไรก็ตาม ความชอบธรรมเป็นตัวแปรกำกับระหว่างอำนาจและความพอเพียงในตนเอง (p < .05) |
Other Abstract: | The purpose of this research is to investigate the influence of power and legitimacy on social distance and the mediating role of self-sufficiency. One hundred and twenty-two participants were randomly assigned to different power- legitimacy conditions. Then, they were asked to complete a series of questionnaires accessing social distance and self-sufficiency. Results reveal that 1. Power and legitimacy increased social distance (M = 52.16, SE = 1.14) compared to low power and legitimacy (M = 48.30, SE = 1.13), when the dominant-submissive personalities were controlled. The multiple comparison found that the difference of social distance between these two conditions was significant (p < .05). 2. Low power and illegitimacy insignificant influence social distance. Although, when the dominant-submissive personalities were controlled, the results showed that low power and illegitimacy increased social distance (M = 51.10, SE = 1.13) compare to high power and illegitimacy (M = 49.65, SE = 1.12), the multiple comparison suggested that the difference of social distance between these two conditions was insignificant. 3. Self – sufficiency was not the mediator of the relation between power and social distance. However, legitimacy was the moderator of the relation between power and self-sufficiency (p < .05). |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จิตวิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42645 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.121 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.121 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Psy - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5388554638.pdf | 2.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.