Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43772
Title: มโนทัศน์และการเล่าเรื่องศิลปะการละครในเรื่อง "การะสุโนคาเมน"
Other Titles: CONCEPT AND NARRATION OF DRAMATIC ARTS IN "GARASU NO KAMEN"
Authors: วิธัณยา มีลักษณะ
Advisors: จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Jirayudh.S@chula.ac.th
Subjects: การเล่าเรื่อง
ละครเวที
ศิลปะการแสดง
Narration (Rhetoric)
Performing arts
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามโนทัศน์และการเล่าเรื่องศิลปะการละครที่ปรากฏในการ์ตูนเรื่องการะสุโนคาเมน จำนวน 49 เล่ม รวมถึงศึกษาเปรียบเทียบมโนทัศน์และการดัดแปลงการเล่าเรื่องศิลปะการละครในการะสุโนคาเมน จากแอนิเมชั่นญี่ปุ่น ละครโทรทัศน์ญี่ปุ่นและไทย ละครเวทีไทย ด้วยวิธีการวิเคราะห์ตัวบทร่วมกับการสัมภาษณฺ์ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะการละคร จำนวน 10 ท่าน โดยใช้แนวคิดการเล่าเรื่อง แนวคิดการ์ตูนญี่ปุ่น แนวคิดศิลปะการละคร และแนวคิดการดัดแปลงเนื้อหา ประกอบการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า "การะสุโนคาเมน" มีการนำเสนอมโนทัศน์ศิลปะการละครในสองส่วน ได้แก่ 1) ด้านศิลปะการแสดง พบปรัชญาการแสดงที่เป็นแนวทางหลักของเรื่องคือ Inner Realism : การแสดงออกจากความจริงภายใน โดยใช้ "หน้ากากแก้ว" เป็นสัญลักษณ์แทนการสวมวิญญาณเป็นตัวละคร และ "หน้ากากพันหน้า" แทนการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ต่างจากผู้อื่น ซึ่งจะต้องมีความเชื่อในตัวละคร การสื่อสารระหว่างคู่แสดงหรือปฏิกิริยาโต้ตอบ จนท้ายที่สุดต้องดำรงอยู่ในฐานะตัวละครได้ตลอดเวลาการแสดง และตลอดรอบการแสดง โดยมีกระบวนการฝึกฝนด้วยการฝึกใช้เครื่องมือในการแสดง ได้แก่ ร่างกาย เสียง และอารมณ์ ฝึกบทบาทการแสดง ได้แก่ การศึกษาบทและตีความหมายบทละคร ฝึกการสร้างตัวละครจากร่างกายภายนอก ฝึกการสร้างตัวละครให้รู้ถึงความรู้สึกภายในผ่านประสบการณ์ของตัวละคร การควบคุมพลังในการแสดงให้กลมกลืนมีเอกภาพ แนวทางการเข้าถึงบทบาทการแสดง และองค์ประกอบในการแสดง 2) ด้านการจัดแสดงละครเวที เสนอความหมายของละครที่ดีขึ้นอยู่กับการแสดงของนักแสดงไม่ขึ้นกับขนาดของโรงละคร รวมถึงขั้นตอนการจัดการแสดงละครตั้งแต่เริ่มต้นจนทำการแสดง โดยผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่ควบคุมภาพรวมของละครคือผู้กำกับการแสดง ส่วนการดัดแปลงเป็นแอนิเมชันและละครโทรทัศน์ฉบับญี่ปุ่นคงปรัชญาการแสดงไว้เหมือนต้นฉบับการ์ตูน เน้นที่การอุทิศตนเพื่อการแสดง และการใช้ประสบการณ์ในชีวิตเชื่อมโยงเข้ากับการแสดง การดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์ไทยนำเสนอแนวทางการแสดงจากความจริงภายในแต่นำมาเพียงเรื่องเดียว ทำให้ละครขาดเสน่ห์และขาดการถ่ายทอดกระบวนการการเข้าถึงบทบาทตามที่ฉบับการ์ตูนได้นำเสนอไว้ การแก้ไขโดยผู้เขียนเน้นแนวคิดเรื่องความเชื่อในบทบาทการแสดง โดยเพิ่มเหตุการณ์สำคัญจนทำให้เรื่องราวสามารถดำเนินสู่ตอนอวสานได้
Other Abstract: The purpose of this research are to study the concept and narration of dramatic arts in Garasu No Kamen manga 49 issues and to comparative the concept and changing of narration of dramatics art in Garasu No Kamen animation, TV series and drama which produced in Japan and Thailand, by using textual analysis method and interviewing 10 people who specialize in Thai drama and using the concept of narrative, concept of manga, concept of dramatic arts and concept of changing of content for analyzing. The results of this research are "Garasu No Kamen" presents 2 parts of dramatic arts concept; 1) Dramatic arts are "Inner Realism" which is the major of philosophy in this story, by using "Glass Mask" as a symbolic to transform into other characters and "Thousands of Glass Masks" are the talent that make the main character be different for the others. Moreover, the actors must believe in the character, communion acting partners or reaction and keep the character until the drama finishes and all rounds of the show. They always practice their bodies, voices and emotions, To practice acting is studying the play and interpreting the line, creating the external character and inner feeling from their experiences, controlling the energy harmonious atmosphere, the ways to be the characters and the element of action. 2) The production depends on the good acting of actors and the preparation of the show which is the major's duty of the director. The adaptation in Japanese animations and TV series still keep the concept of acting from the manga such as the acting is the whole of their life, reminding the everyday life's experiences for their acting. However, the adaptation from Thai manga to TV drama presents only the concept of inner realism, the concept of believing in character and they increase some important scenes for narrating the story into the end but they deleted the major point of the manga. It is the procedure of working on the role which might make this series not succeed as it should be. In addition, the writer edited and increased in the concept of believing in character by adding some important scenes to narrate the story into the end.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43772
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1241
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1241
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5384697028.pdf8.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.