Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43773
Title: กลยุทธ์สู่ความสำเร็จของภาพยนตร์โรแมนติกคอมเมดีของจีทีเอช
Other Titles: STRATEGIES FOR SUCCESS OF GTH'S ROMANTIC COMEDY FILMS
Authors: อิทธิฤทธิ์ อึ้งสกุล
Advisors: โสภาวรรณ บุญนิมิตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: leave2remain0@gmail.com
Subjects: ภาพยนตร์ -- การผลิตและการกำกับรายการ
ภาพยนตร์รัก
Motion pictures -- Production and direction
Romance films
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่อง “กลยุทธ์สู่ความสำเร็จของภาพยนตร์โรแมนติกคอมเมดีของจีทีเอช” มีวัตุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีดำเนินกลยุทธ์ธุรกิจการสร้างภาพยนตร์โรแมนติกคอมเมดีของไทยที่ประสบความสำเร็จในแง่รายได้ของบริษัทจีเอ็มเอ็ม ไท หับ จำกัด และเพื่อค้นหาปัจจัยต่างๆที่ส่งผลให้ภาพยนตร์โรแมนติกคอมเมดีทของไทยที่ใช้เป็นกรณีศึกษาทั้ง 3 เรื่อง กลายเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้มากกว่า 130 ล้านบาท งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ใช้ทฤษฏีและแนวคิดในเชิงจิตวิทยาเกี่ยวกับการพัฒนาการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพและการสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจมาใช้ในการวิเคราะห์องค์ประกอบต่างๆทั้งในส่วนของ ภาพยนตร์ตัวอย่าง เพลงประกอบภาพยนตร์ ภาพยนตร์ฉบับเต็ม นอกจากนั้นยังใช้แนวคิดเกี่ยวกับเกี่ยวกับการตลาดภาพยนตร์เป็นกรอบในการศึกษาและทำการวิเคราะห์อีกด้วย แล้วนำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลการแสดงความคิดเห็นที่ได้จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างที่เคยชมภาพยนตร์เหล่านี้ ผลจากการศึกษาพบว่าภาพยนตร์โรแมนติกคอมเมดีของไทยที่สร้างโดยบริษัทจีเอ็มเอ็ม ไท หับ จำกัด ทั้ง 3 เรื่อง นั้น มีกลยุทธ์ในการผลิตภาพยนตร์ที่คล้ายคลึง นั่นคือ มีการปรับปรุงระบบในการทำงาน โดยมีคณะกรรมการในการประเมินโปรเจ็คภาพยนตร์ การแสวงหาพันธมิตรทางธุรกิจ และการเพิ่มช่องทางในการสื่อสารกับกลุ่มผู้ชมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการมุ่งเน้นการใช้สื่อโซเชียลมีเดียที่มากขึ้น เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับกลุ่มผู้ชมภาพยนตร์ ส่วนข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่พบว่ามีความพึงพอใจกับภาพยนตร์โรแมนติกคอมเมดีที่เป็นกรณีศึกษาทั้ง 3 เรื่อง และส่วนใหญ่ก็รู้สึกพึงพอใจกับผลงานภาพยนตร์แนวโรแมนติกและโรแมนติกคอมเมดีของบริษัทจีทีเอชที่เคยสร้างมาก่อนหน้านี้ โดยปัจจัยทีส่งผลให้ภาพยนตร์โรแมนติกคอมเมดีของไทยทั้ง 3 เรื่องประสบความสำเร็จในแง่รายได้ก็คือ 1)ปัจจัยภายใน ได้แก่ บทภาพยนตร์อันเป็นปัจจัยภายในที่สำคัญที่สุดโดยมีผู้เขียนบทมากกว่า 1 คนที่ช่วยกันระดมสมองในการพัฒนา แก้ไขปรับปรุงจนได้บทภาพยนตร์ที่สมบูรณ์ มีการคัดเลือกนักแสดงโดยให้ความสำคัญในแง่ความเหมาะสมตรงตามลักษณะของตัวละครมากกว่าการใช้นักแสดงที่มีชื่อเสียง บริบทของภาพยนตร์จะสอดคล้องกันกับบริบททางสังคมของกลุ่มเป้าหมายและมุกตลก 2) ปัจจัยภายนอกอันได้แก่ 2.1) สื่อหน้าหนัง ซึ่งประกอบด้วย ภาพยนตร์ตัวอย่างทีนำเสนอเรื่องย่อและมีแนวทางที่ตรงกับภาพยนตร์ ใบปิดเน้นอารมณ์ตลกขบขัน และชื่อภาพยนตร์ที่น่าสนใจ 2.2)การโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ ที่มีการเริ่มต้นก่อนภาพยนตร์เข้าฉาย 1เดือน มีการใช้สื่อโซเชียลมีเดียอย่างหลากหลาย สื่อสารอย่างเป็นกันเองแต่มีความสุภาพ การส่งเสริมการขายเน้นการจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อสร้างแรงจูงใจในการเข้าชมภาพยนตร์ และสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ชม นอกจากนั้นยังสามารถททำให้พันธมิตรทางธุรกิจเข้าร่วมทำรายการส่งเสริมการขาย
Other Abstract: The finding of research is as Movie Studio “GTH Company”. GTH have strategies in film production which vary according to its goals. The strategies affecting the success of these Romantic Comedy films are 1) System improvement of Film’s Project Evaluation. 2) Ability of finding business alliances and sponsor. 3) Increasing ways of two-way communication with their customers by using social media for brand building strategies. The Factors affecting the success of these Romantic Comedy films are 1) Internal factor (Quality Control of making film) as follow, screenplay and casting. 2) External factor (Marketing) as follow, advertising media, public relationship, sales promotion and making of interesting movie trailer.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43773
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1242
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1242
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5384707628.pdf8.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.