Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43886
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมพงษ์ ศิริโสภณศิลป์en_US
dc.contributor.advisorอุบลวรรณา ภวกานันท์en_US
dc.contributor.authorกุลยา วงษ์รักษาen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัยen_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:45:43Z
dc.date.available2015-06-24T06:45:43Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43886
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการสำรวจทัศนคติที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อปัญหาการขาดแคลนพนักงานคลังสินค้า การศึกษาแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นนักเรียนอาชีวศึกษาซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนของผู้ที่จะเป็นพนักงานคลังสินค้าในอนาคต โดยได้ให้นักเรียนทั้ง 150 คน ที่กำลังศึกษาในวิทยาลัยเทคนิค 4 แห่งในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลนี้แสดงทัศนคติต่ออาชีพคลังสินค้า กลุ่มตัวอย่างกลุ่มที่ 2 คือพนักงานคลังสินค้าระดับปฏิบัติการจำนวน 160 คนจาก 8 คลังสินค้าในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ซึ่งในกลุ่มนี้ใช้การสอบถามความตั้งใจที่จะอยู่ในอาชีพและในงานปัจจุบัน แบบสอบถามที่นำมาใช้ในการสำรวจทัศนคติแบ่งเป็นหลายมิติ ประกอบด้วยข้อความต่างๆเกี่ยวกับทัศนคติต่อการทำงานในคลังสินค้า และคุณภาพชีวิตการทำงาน การวิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจนั้น ในเบื้องต้นใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่อแจงแจกลักษณะของข้อมูลที่ได้มา และในขั้นสุดท้ายใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุเพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรต้นกับตัวแปรตามซึ่งจะแสดงให้เห็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจที่จะเข้ามาอยู่ในอาชีพพนักงานคลังสินค้า ความตั้งใจที่จะประกอบอาชีพนี้ต่อไป และความตั้งใจที่จะปฏิบัติงานในคลังสินค้าปัจจุบันต่อไป ผลการวิเคราะห์ สรุปได้ดังนี้ : 1. สถานะทางสังคมของพนักงานคลังสินค้าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจที่จะเข้ามาเป็นพนักงานคลังสินค้า 2. การตัดสินใจที่จะประกอบอาชีพพนักงานคลังสินค้าต่อไปนั้น ขึ้นอยู่กับค่าตอบแทนที่ยุติธรรม และระดับความภาคภูมิใจในงาน 3. ความตั้งใจที่จะทำงานในคลังสินค้าที่ปฏิบัติงานอยู่ในปัจจุบันต่อไปนั้น ขึ้นอยู่กับความภาคภูมิใจในงาน ความปลอดภัย และความสะดวกในการเดินทางไปทำงานของสถานที่ปฏิบัติงานen_US
dc.description.abstractalternativeThis research carries out attitude surveys with the objective to determine the factors influencing the shortage of warehouse operators. The study divides survey samples into two groups. The first group represents the vocational students who represent the potential pool of future warehouse operators. A sample of 150 students studying in 4 technical colleges in Bangkok and surrounding areas are solicited to express their attitude towards the warehousing profession. The second group of sample consists of 160 warehouse operators working for 8 warehouses in Bangkok who are asked to share their intention to stay in the profession and in the current job. The questionnaires adopted in the survey breaks up the attitude into a number of dimensions, each consisting of several attitude and quality of work life items. The survey data are first analyzed to compute a number of descriptive statistics of the survey responses. The multiple regression analysis is finally employed to determine the cause-and-effect relationship that will shed the light on the key factors influencing the intention to enter, to stay in the profession and in the current job. Key findings of the analyses are: 1. The “social status of warehouse staff” is the most important factor influencing the decision to enter or not to enter into the warehouse profession. 2. The decision to stay in the warehousing profession is highly governed by the fair compensation and the degree of pride in the work. 3. The intention to stay in the current workplace is influenced mostly by the degree of pride in the work, the workplace safety, and the travel accessibility of the work place.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1341-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectคลังสินค้า
dc.subjectการบริหารงานโลจิสติกส์
dc.subjectWarehouses
dc.subjectBusiness logistics
dc.titleการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการขาดแคลนพนักงานคลังสินค้าที่เกิดขึ้นในระดับอุตสาหกรรมและระดับธุรกิจen_US
dc.title.alternativeANALYSIS OF FACTORS INFLUENCING THE SHORTAGE OF WAREHOUSE WORKERS AT THE INDUSTRY-LEVEL AND FIRM-LEVELen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการจัดการด้านโลจิสติกส์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorsompong.si@chula.ac.then_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.1341-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5487507020.pdf6.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.