Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45038
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเอกชัย กี่สุขพันธ์-
dc.contributor.authorจุฑามณี เกษสุวรรณ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2015-09-07T07:49:05Z-
dc.date.available2015-09-07T07:49:05Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45038-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ ครูที่ปรึกษาและครูประจำชั้น จำนวน 364 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย (แจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) และสถิติเชิงอ้างอิงโดยวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน (Spearman’s rank Correlation coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Stepwise multiple regression analysis) ตัวแปรปัจจัยที่ศึกษา มี 4 ปัจจัย คือ ประสบการณ์ในการทำงานของครู ประสบการณ์ในการเข้ารับการฝึกอบรมของครู จำนวนชั่วโมงสอนของครู จำนวนนักเรียนต่อห้องที่ครูรับผิดชอบในการสอน ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลาง (r = .420) กับประสบการณ์ในการทำงานของครูที่ปรึกษาและมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับค่อนข้างต่ำ (r = .242) กับประสบการณ์ในการเข้ารับการฝึกอบรมของครู ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย มี 3 ปัจจัย คือ ประสบการณ์ในการทำงานของครู ประสบการณ์ในการเข้ารับการฝึกอบรมของครูและจำนวนนักเรียนต่อห้องที่ครูรับผิดชอบในการสอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en_US
dc.description.abstractalternativeThis survey research aims to study factors affecting student caring and supporting operation systems in secondary schools under the secondary educational service area office in Bangkok. A descriptive research methodology and quantitative research methods were used by the teacher advisory group, which consisted of 364 people. The research tool was a questionnaire and analyzed by descriptive statistics. (frequency, percentage, arithmetic mean and standard deviation) Results were analyzed by the Spearman correlation coefficient and Stepwise multiple regression analysis. The result of the study revealed that student caring and supporting operation systems was positively correlated at the moderate level with work experience (r = .420) and was positively correlated at the rather low level with experience in the training of teachers (r = .242) at .05 level of significance. The tree factors affecting student caring and supporting operation systems in secondary schools under the secondary educational service area office in Bangkok are work experience, experience in the training of teachers and number of students per teacher is responsible for teaching at .05 level of significance.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1760-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectความช่วยเหลือทางการศึกษาen_US
dc.subjectEducational assistanceen_US
dc.titleปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeFactors affecting student caring and supporting operation systems of secondary schools under The Secondary Educational Service Area Office in Bangkoken_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorekachaiks@hotmail.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.1760-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jutamanee_ke.pdf2.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.