Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46280
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ปองสิน วิเศษศิริ | en_US |
dc.contributor.author | สัตถามุติ รักสนิทสกุล | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-09-18T04:23:43Z | |
dc.date.available | 2015-09-18T04:23:43Z | |
dc.date.issued | 2557 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46280 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของการบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุขของเด็กไร้สัญชาติ 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุขของเด็กไร้สัญชาติ และ 3) พัฒนาแนวทางการบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้อย่างมีความสุขของเด็กไร้สัญชาติกรอบแนวคิดของการวิจัยประกอบประกอบด้วย 1) องค์ประกอบของการเรียนรู้อย่างมีความสุข 2) กระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสุขในการเรียนรู้ และ 3) ขอบข่ายภารกิจการบริหารโรงเรียนตามกฎกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ.2550 ประชากรในการศึกษาคือโรงเรียนที่มีเด็กนักเรียนติด G ปีการศึกษา 2557 จำนวนทั้งสิ้น 7,032 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือโรงเรียนที่มีเด็กนักเรียนติด G ปีการศึกษา 2557 โดยเลือกจากเขตพื้นที่การศึกษาที่มีเด็กนักเรียนติด G มากที่สุดในแต่ละภูมิภาคของไทย ภูมิภาคละ 1 เขตพื้นที่การศึกษา ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียนและครู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของการบริหารที่จะเสริมสร้างให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุขของเด็กไร้สัญชาติ ผู้บริหารต้องดำเนินการตามองค์ประกอบ 8 องค์ประกอบ คือ การได้รับการยอมรับ, การได้รับความเมตตา, การเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง, การได้เลือกเรียนตามความถนัด ความสนใจ และค้นคว้าเพิ่มเติมในสิ่งที่สนใจด้วยตนเอง, การได้นำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน, การได้รับความรู้พื้นฐานทางด้านภาษา, การได้รับโอกาสทางการศึกษา และการจัดสภาพบรรยากาศในการเรียน โดยดำเนินการผ่านขอบข่ายภารกิจการบริหารโรงเรียน 4 ฝ่ายงาน คือ การบริหารวิชาการ, การบริหารงบประมาณ, การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป 2) สภาพปัจจุบันของการบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุขของเด็กไร้สัญชาติพบว่าด้านการได้รับความเมตตามีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุขของเด็กไร้สัญชาติพบว่าด้านการได้เลือกเรียนตามความถนัด ความสนใจ และค้นคว้าเพิ่มเติมในสิ่งที่สนใจด้วยตนเอง มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ผลการจัดลำดับความต้องการจำเป็น (PNIModified) พบว่าด้านการได้รับความรู้พื้นฐานทางด้านภาษามีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด 3) แนวทางการบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้อย่างมีความสุขของเด็กไร้สัญชาติ พบว่า 3.1) การบริหารวิชาการควรให้ความสำคัญเรื่องหลักสูตรของโรงเรียน 3.2) การบริหารงบประมาณควรให้ความสำคัญเรื่องการจัดทำแผนงบประมาณ 3.3) การบริหารงานบุคคลควรให้ความสำคัญเรื่องการพัฒนาบุคคลกร และ 3.4) การบริหารทั่วไปควรให้ความสำคัญเรื่องการให้โอกาสทางการศึกษา | en_US |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research are 1) To study the educational component to enhance happiness in the learning of stateless children. 2) To study the current situation and desirable of the school administration to enhance happiness in the learning of stateless children. 3) To develop guidelines for school administration to enhance happiness in the learning of stateless children. The study population is the schools which students do not have ID in 2014. School on this study sample is the schools in the Primary Educational Service Area Office which the most have students do not have ID in 2014; one service area office for one region. Information providers are administrators and teachers. The instruments used in the research are interview and questionnaire were analyzed using content analysis, frequency, percentage, average and the standard deviation. The results of this research are: 1) There are 8 components to concern about the learning of children stateless happily; acceptability, kindness, self-esteem, learning by aptitude respectively and interest, application of knowledge to real life, basic language, educational opportunities and classroom atmosphere. By according to the frame works of administration. There are 4 divisions: Academic, Budget, Human resource and General administration. 2) The overall of current situation of the school administration to enhance the learning of children stateless happily is good. The highest average is compassion for the learning happily. The children can choose the lesson based on aptitudes, interests, and more research on what they want to do. The priority needs (PNIModified); the index found that they need the basic knowledge of the language. 3) There are 4 guidelines for school administration to enhance happiness in the learning of stateless children are 3.1) Academic section emphasized developing school curriculum., 3.2) Budget section emphasized the annual action plan., 3.3) Human resource section emphasized develop personal., and 3.4) General administration section emphasized to give the opportunity of education for them. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1147 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | โรงเรียน -- การบริหาร | |
dc.subject | คนไร้รัฐ | |
dc.subject | คนต่างด้าว | |
dc.subject | การเรียนรู้ | |
dc.subject | การบริหารการศึกษา | |
dc.subject | School management and organization | |
dc.subject | Stateless persons | |
dc.subject | Aliens | |
dc.subject | Learning | |
dc.title | แนวทางการบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้อย่างมีความสุขของเด็กไร้สัญชาติ | en_US |
dc.title.alternative | GUIDELINES FOR SCHOOL ADMINISTRATION TO ENHANCE HAPPINESS IN THE LEARNING OF STATELESS CHILDREN | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | บริหารการศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Pongsin.V@chula.ac.th | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2014.1147 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5683428627.pdf | 11.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.