Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46818
Title: ศิลปะเพื่อการพัฒนาภายในตน : การศึกษาเชิงคุณภาพประสบการณ์การเรียนรู้ของนิสิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย : รายงานการวิจัย
Authors: ศศิลักษณ์ ขยันกิจ
Email: sasilak.k@chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: การเรียนรู้
การศึกษาขั้นอุดมศึกษา
Issue Date: 2551
Publisher: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาประสบการณการเรียนรู้ของนิสิตระดับปริญญาตรีโท และเอก สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ที่เข้าร่วมกิจกรรมศิลปะเพื่อการพัฒนาภายในตน ในด้าน๑) มุมมองต่อตนเอง ๒) มุมมองต่อผู้อื่น และ ๓) มุมมองต่อวิชาชีพ งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อตอบคำถามวิจัย ๒ ข้อ คือ ๑) นิสิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยมีประสบการณ์การเรียนรู้ในการเข้าร่วมกิจกรรมศิลปะเพื่อการพัฒนาภายในตนอย่างไร และ ๒) การเข้าร่วมกิจกรรมศิลปะเพื่อการพัฒนาภายในตนทำให้นิสิตเกิดการเปลี่ยนแปลงในมุมมองต่อตนเองต่อผู้อื่น และต่อวิชาชีพ หรือไม่ อย่างไร ผู้เข้าร่วมการวิจัย คือ นิสิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยจำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย นิสิตปริญญาตรี จำนวน ๓ คน นิสิตปริญญาโท จำนวน ๓ คนและนิสิติปริญญาเอก จำนวน ๖ คน นิสิตเข้าร่วมกิจกรรมศิลปะเพื่อการพัฒนาภายในตนสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง เป็นเวลา ๑ ภาคการศึกษา ผู้วิจัยเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคลผลการวิจัย มีดังนี้๑. นิสิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยสะท้อนประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกิดขึ้น ๔ ประเด็น คือ ๑) การมีสติรู้ตัว ๒) การเรียนรู้ตนเอง ได้แก่ การเข้าใจตนเอง การเป็นผู้สังเกตที่ละเอียดอ่อน การลดตัวตน การรู้เท่าทันอารมณ์ ความคิด การกระทำ และการคิดเป็นระบบ ๓) การเรียนรู้ผู้อื่น ได้แก่ การฟังอย่างตั้งใจ และการเปิดรับ และ ๔) การเรียนรู้ชีวิต ได้แก่ การเห็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ การเข้าใจถึงความไม่เที่ยงของชีวิต และการเห็นคุณค่าในสรรพสิ่ง ๒. นิสิตสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงมุมมองต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และต่อวิชาชีพ ดังนี้ ๑) มุมมองต่อตนเอง ได้แก่ การพัฒนาตนเอง และการเห็นคุณค่าในตนเอง ๒) มุมมองต่อผู้อื่น ได้แก่ การเข้าใจและเปิดใจรับ และ ๓) มุมมองต่อวิชาชีพ ได้แก่ การพัฒนาภายในตนของครู และการมีเมตตาต่อเด็ก ผลของการวิจัย พบว่า สุนทรียะทางศิลปะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาภายใน ถือเป็นงานท้าทายสำหรับการพัฒนาครูการศึกษาปฐมวัย ในการบูรณาการความรู้ภาคทฤษฎีเข้ากับศิลปะเพื่อสร้างครูที่มีความเข้าใจในตนเองและชีวิต
Other Abstract: The purpose of this research was to investigate the early childhood education (ECE) students’ learning experiences in viewing themselves, others, and profession. The study used qualitative method to explore two research questions which were 1) how did ECE students experience the art activities for inner development? and 2) did ECE students change their views towards themselves, others, and profession? and how? The participants were 12 ECE students; 3 undergraduate students, 3 master students, and 6 doctoral students. The participants participated in the art activity program once a week for one semester. An in-depth interview was used to elicit the data from each participant. The findings were as follows; 1. Four themes emerged from the ECE students’ learning experience were 1) being mindfulness, 2) learning about themselves which included understanding themselves, being a delicate observer, letting go of ego, detaching from the contents of their consciousness, and thinking systematically, 3) learning toward others which included deep listening and opening their mind, and 4) learning toward life which included understanding the relation between human and the nature, understanding that life was always changing, and appreciating everything around them. 2. ECE students reflected the changes in the views toward themselves, others, and profession which were 1) toward themselves including being able to develop oneself and appreciate themselves, 2) toward others including understanding others and openness, and 3) toward professional including understanding that being a good teacher has to practice inner development and love kindness towards children. This research found that the aesthetic of art played an important role in inner development. In the field of ECE teacher education, this would be a challenge task to weave the theoretical knowledge with arts in order to cultivate teachers who would have better understanding of themselves and life.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46818
Type: Technical Report
Appears in Collections:Edu - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sasiluk_kh.pdf1.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.