Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47477
Title: การวิเคราะห์ลำดับขั้นเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง "ระบบจำนวนจริง" ในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย
Other Titles: An analysis of mathematics content hierarchy on "Real number" in the upper secondary education curriculum
Authors: สุวรรณา สมพงศ์พาณิชย์
Advisors: สุวัฒนา อุทัยรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Suwattana.U@chula.ac.th
Subjects: คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลำดับขั้นเนื้อหาวิชา และนำเสนอลำดับขั้นเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง "ระบบจำนวนจริง" ในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองตามลำดับขั้นเนื้อหาวิชาในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายพุทธศักราช 2524 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) กลุ่มตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 449 คน ผลจากการวิจัยปรากฏว่า ได้ลำดับขั้นเนื้อหาวิชา ซึ่งแบ่งเป็นตอนใหญ่ๆ ได้ 3 ตอน ประกอบด้วยลำดับขั้นทั้งหมด 25 ลำดับขั้น ดังนี้ 1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับจำนวนจริงและสมบัติของจำนวนจริง ประกอบด้วย 9 ลำดับขั้น ดังนี้คือ เซตของจำนวนและเซตของจำนวนเต็ม เซตของจำนวนตรรกยะและเซตของจำนวนอตรรกยะ เซตของจำนวนจริง สมบัติของระบบจำนวนจริง สมบัติการเท่ากันในระบบจำนวนจริง สมบัติการบวกในระบบจำนวนจริง สมบัติการคูณในระบบจำนวนจริง การลบจำนวนจริงโดยใช้การบวกและอินเวอร์ส การบวก และการหารจำนวนจริงโดยใช้คูณและอินเวอร์สการคูณ 2. การแก้สมการและอสมการตัวแปรเดียว ประกอบด้วย 11 ลำดับขั้น ดังนี้คือการใช้ทฤษฎีบทเศษเหลือหาเศษจากการหารพหุนามด้วยพหุนาม การใช้ทฤษฎีบทเศษเหลือและทฤษฎีบทตัวประกอบแยกตัวประกอบพหุนามเมื่อ an=1 การแก้สมการตัวแปรเดียวเมื่อ an=1 การใช้ ทฤษฎีบทตัวประกอบและทฤษฎีตัวประกอบจำนวนตรรกยะแก้สมการตัวแปรเดียวเมื่อ an ≠ 1 การแก้สมการตัวแปรเดียวเมื่อ an ≠ 1 สมบัติการไม่เท่ากัน ช่วง การแก้อสมการตัวแปรเดียว สมบัติของค่าสัมบูรณ์ การแก้สมการตัวแปรเดียวที่อยู่ในรูปค่าสัมบูรณ์ และการแก้อสมการตัวแปรเดียวที่อยู่ในรูปค่าสัมบูรณ์ 3. สมบัติความบริบูรณ์ ประกอบด้วย 5 ลำดับขั้น ดังนี้คือ การมีขอบเขตบนและค่าขอบเขตบนของสับเซตของจำนวนจริงและค่าขอบเขตบนที่น้อยที่สุดของสับเซตของจำนวนจริง สัญลักษณ์การหารลงตัวและสมบัติการหารลงตัว จำนวนเฉพาะ ทฤษฎีและขั้นตอนวิธีการหาร และสัญลักษณ์ของ ค.ร.น. และ ห.ร.ม.
Other Abstract: The purposes of the research were to analyse and present mathematics content hierarchy on "real number" in the upper secondary education curriculum. The research instrument was the test which was constructed based on mathematics content hierarchy following the 2524 B.E. upper secondary education curriculum (2533 B.E. revised edition). The sample were 449 matayom suksa four students in secondary schools under the jurisdiction of the Department of General Eduaction. It was found that there were three parts of mathematics content hierarchy consisted of 25 hierarchies as follows: 1. Fundamental knowledge of real number and its properties which composed of nine sequences: set of natural number and set of integer number, set of rational number and irrational number, set of real number, properties of real number system, properties of equality in real number system, properties of adding in real number system, properties of multiplying in real number system, minusing real number by adding and inverse of adding and dividing real number by multiplying and inverse of multiplying. 2. Solving simple equation and unequation which composed of 11 sequences: using residual theory to find residual from dividing polynomial by polynomial, using residual theory and factor theory to separate the polynomial when an = 1, solving simple equation when an = 1, using factor theory and rational number theory to solving simple equation when an ≠ 1, solving simple equation when an ≠ 1, properties of unequality, interval, solving simple unequation, properties of absolute value, solving simple equation in form of absolute value and solving simple unequation in form of absolute values. 3. Properties of completeness which composed of five sequences: the upper limit and upper limit value of subset of real number and the least value of upper limit of subset of real number, symbol of non-residual dividing and properties of non-residual dividing, prime number, theory and step of dividing steps and symbol of Least-common multiplying and most-common dividing.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47477
ISBN: 9746335405
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suwanna_so_front.pdf690.62 kBAdobe PDFView/Open
Suwanna_so_ch1.pdf448.03 kBAdobe PDFView/Open
Suwanna_so_ch2.pdf1.31 MBAdobe PDFView/Open
Suwanna_so_ch3.pdf785.02 kBAdobe PDFView/Open
Suwanna_so_ch4.pdf1.87 MBAdobe PDFView/Open
Suwanna_so_ch5.pdf567.3 kBAdobe PDFView/Open
Suwanna_so_back.pdf2.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.