Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48580
Title: การวิเคราะห์จุดมุ่งหมายของการประถมศึกษาของไทย
Other Titles: The analysis of the aims of Thai elementary education
Authors: สุภา อักษรดิษฐ์
Advisors: สำลี ทองธิว
ไพฑูรย์ สินลารัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Sumlee.T@Chula.ac.th
paitoon@dpu.ac.th
Subjects: การศึกษาขั้นประถม
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 3 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษาเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของการประถมศึกษาของไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2475-2524 2. เพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องของการกำหนดจุดมุ่งหมายของการประถมศึกษาในเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง คือ รัฐธรรมนูญ นโยบายทางการศึกษาของรัฐบาล แผนการศึกษา พระราชบัญญัติประถมศึกษาและในหลักสูตรประถมศึกษา 3. เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่เป็นพื้นฐานในการกำหนดจุดมุ่งหมายของการประถมศึกษา วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์ นำมาวิเคราะห์ เปรียบเทียบและนำผลการวิจัยมาเรียบเรียงแบบพรรณาวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์ ผลการวิจัย 1. การประถมศึกษาเป็นการศึกษาขั้นมูลฐาน ซึ่งยังไม่มีการกำหนดจุดมุ่งหมายของคำนี้อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร คงมีแต่จุดมุ่งหมายของหลักสูตรประถมศึกษาและจุดมุ่งหมายของการศึกษาระดับนี้ในแผนการศึกษา โดยสรุปการประถมศึกษามีจุดมุ่งหมายเพื่อให้คนไทยอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีศีลธรรม มีความรู้ ความสามารถประกอบอาชีพได้และเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชนและชาติ ตลอดจนมีคุณสมบัติอื่นๆ ที่เหมาะสมแก่การเป็นพลเมืองดี 2. จุดมุ่งหมายของการประถมศึกษาที่กำหนดไว้ในเอกสารต่างๆ โดยทั่วไปมีความสอดคล้องกันในเรื่องการมีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง มีศีลธรรม แต่ไม่สอดคล้องกันในเรื่องการประกอบอาชีพ การมีปัญหาความรู้และจุดมุ่งหมายเพื่อการเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชนและชาติ ซึ่งมักกำหนดไว้หลากหลาย ขาดเอกลักษณ์ เอกสารที่แสดงให้เห็นจุดมุ่งหมายของการประถมศึกษาอย่างเด่นชัดคือ หลักสูตรประถมศึกษา เอกสารอื่นๆ คงกำหนดไว้เป็นจุดมุ่งหมายรวม ไม่ชี้บ่งระดับ โดยทั่วไปรัฐบาลที่บริหารประเทศกำหนดจุดมุ่งหมายและนโยบายของการประถมศึกษาไว้น้อย กระจัดกระจายและขาดการรับช่วงทางความคิดและไม่มีการสืบทอดนโยบายทางการประถมศึกษา ไม่สอดคล้องกับเอกสารอื่นๆ จุดมุ่งหมายของการประถมศึกษาจึงมีแนวโน้มของการเพิ่มปริมาณคุณสมบัติมากขึ้นเป็นลำดับ จนไม่สามารถสรุปภาพรวมได้ว่าคนไทยที่เหมาะสมกับประเทศชาตินั้นมีคุณลักษณะอย่างไร 3. การกำหนดจุดมุ่งหมายของการประถมศึกษาของไทยส่วนใหญ่มีพื้นฐานมาจากสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ได้แก่ สภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม ทรัพยากรและประชากร นอกจากนั้นยังขึ้นกับข้อมูลที่ได้จากนักวิชาการ แนวคิดจากต่างประเทศและความก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยี
Other Abstract: Purpose This research has three purposes: 1. To study the aims of the Thai Elementary Education from 1932 through 1981 2. To analyze the relevancies of the aims in the following documents: National Constitution, the Government Policy for Education, Educational Planning, the Elementary Education Act and the Curriculum of Elementary Education. 3. To analyze the fundamental factors in determining aims at the Elementary Education. Procedure This study was a historical research. The researcher has investigated the data form various documents and interviews; then analyzed and compared the obtained data. The result of the study was compiled in historical descriptive analysis. Results 1. Elementary education was a foundation for people in the country with aims at Thais to literate, to do arithmetic, to have good health, to be good moral, to have knowledge and skills to find jobs and to be a good member to a community and nation and with other qualities to be a good citizen. 2. The aims of elementary education indicated in different documents were in line with good health, moral; but were not in agreement with profession, having knowledge and the qualification of being a good citizen to a community The aims shown in each document were increased in quantity of qualification and were revealed that the aims of elementary education were a little bit specified and relatively discontinued by the government administrated the country. A document to show a vivid aim of elementary education was the Curriculum of Elementary Education. As for other documents, specific aims were not show in level. 3. The indication of the aims of Thai elementary education in general was based on the factors related to the educational environments such as social status, economics, politics, culture, natural resource and population. Additionally, the data depended on the scholars, the progress of academic matters and technology.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48580
ISBN: 9745646067
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supa_ug_front.pdf2.01 MBAdobe PDFView/Open
Supa_ug_ch1.pdf2.24 MBAdobe PDFView/Open
Supa_ug_ch2.pdf4.73 MBAdobe PDFView/Open
Supa_ug_ch3.pdf3.89 MBAdobe PDFView/Open
Supa_ug_ch4.pdf3.83 MBAdobe PDFView/Open
Supa_ug_ch5.pdf4.23 MBAdobe PDFView/Open
Supa_ug_ch6.pdf2.1 MBAdobe PDFView/Open
Supa_ug_back.pdf4.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.