Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49119
Title: สภาพเศรษฐกิจสังคมของผู้อยู่อาศัยในบ้านจัดสรรและอาคารชุด (คอนโดมิเนียม) ในกรุงเทพมหานคร : การศึกษาเชิงสำรวจเบื้องต้น
Other Titles: Socio-economic conditions of people in housing-devloped communities and in condominums in Bangkok Metropolts : An exploratory research
Authors: สัณห์หทัย สงวนศักดิ์
Advisors: ธีรเวทย์ ประมวญรัฐการ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: สถานภาพทางเศรษฐกิจสังคม
บ้านจัดสรร -- ผู้อยู่อาศัย
อาคารชุด -- ผู้อยู่อาศัย
บ้านจัดสรร -- ไทย
อาคารชุด -- ไทย
ภาวะสังคม
กรุงเทพมหานคร -- ที่อยู่อาศัย
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ด้วยสภาวะของบริเวณศูนย์กลางของกรุงเทพมหานครขยายตัวกว้างขึ้นในรูปของการเกิดศูนย์กลางของธุรกิจการค้า บริการ หน่วยราชการ ราคาที่ดินในเขตใจกลางเมืองยิ่งเพิ่มสูงมากขึ้น ทำให้กรุงเทพมหานครอยู่ในสภาพการปรับตัวต่อการเกิดลักษณะที่อยู่อาศัยแบบบ้านจัดสรรกับอาคารชุดซึ่งเป็นแนวโน้มของที่อยู่อาศัยนอกชุมชนแออัดของกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้ต้องการศึกษาถึงสภาพทางสังคมของผู้อยู่อาศัยในบ้านจัดสรรและอาคารชุด โดยวิธีการสังเกตการณ์และสำรวจประชากรที่อาศัยในกรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบว่า ผู้อยู่อาศัยในบ้านจัดสรรส่วนใหญ่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูงกว่าผู้อยู่อาศัยในอาคารชุด ไม่ต้องการย้ายที่อยู่ มีวิถีชีวิตเป็นส่วนตัว มีความนิยมในสิ่งของเครื่องใช้อำนวยความสะดวกมากกว่าผู้อยู่อาศัยในอาคารชุด ในด้านการเลือกแบบที่อยู่อาศัย ผู้อยู่อาศัยในอาคารชุดส่วนใหญ่เป็นผู้เช่า และเลือกเพราะใกล้สถานที่ทำงานแต่มีความคิดที่จะย้ายที่อยู่อาศัย เนื่องจากต้องการที่อยู่อาศัยที่เป็นบ้านของตัวเอง ในขณะที่ผู้อยู่อาศัยในบ้านจัดสรรส่วนใหญ่เลือกเพราะว่าต้องการความเป็นส่วนตัวและส่วนใหญ่ไม่คิดจะย้ายที่อยู่อาศัย ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการย้ายและไม่ย้ายที่อยู่ของผู้อยู่อาศัย ในที่อยู่อาศัยทั้งสองแบบคือ การมีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองหรือเช่าอาศัย ผู้อยู่อาศัยในบ้านจัดสรรทั้งหมดมีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่เป็นของตัวเองไม่คิดจะย้าย ส่วนผู้อยู่อาศัยในอาคารชุดส่วนใหญ่เช่าห้องชุดอาศัยความคิดที่จะย้ายจึงมีเป็นส่วนใหญ่ บ้านจัดสรรแนวโน้มที่จะอยู่นอกชุมชนแออัดของกรุงเทพมหานคร ส่วนที่อยู่อาศัยแบบอาคารชุดเป็นแนวโน้มของความต้องการอาศัยอยู่ในศูนย์กลางธุรกิจซึ่งเป็นชุมชนรอบในของกรุงเทพมหานคร เหตุผลสำคัญประการหนึ่งที่อาคารชุดมีแนวโน้มที่จะอยู่ในศูนย์กลางเมืองแทนที่จะตั้งอยู่ชานเมืองกรุงเทพฯ เหมือนบ้านจัดสรรก็ เพื่อสนองความต้องการของผู้ที่ทำงานในระบบเศรษฐกิจที่ยังเติบโตอยู่ในศูนย์กลางของเมืองซึ่งเพิ่มจำนวนสูงมากขึ้น ประชากรกลุ่มนี้จึงนิยมเช่าอาศัยอยู่ในอาคารชุดซึ่งสะดวกในการดำเนินชีวิตมากกว่า ประชากรเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีรายได้พอสมควรไม่สูงกว่าผู้ที่อยู่ในบ้านจัดสรร มีขนาดครอบครัวเล็กกว่า จึงมีความเป็นอิสระมากกว่า แต่อาจมิได้มีชีวิตที่เป็นส่วนตัวเท่ากับผู้ที่อาศัยในบ้านจัดสรร
Other Abstract: Owing to an expansion of Bangkok following growth in trade, services and public utilities, land in the inner city core area has been intensively used, resulting in price increases. Urban dwellers in the past decade have faced a serious adaptation to housing accommodation in accord with trends in real estate development patterns. Among growing number of middle class population in the urban scene, two types of housing have imerged, i.e., housing-tract communities and condominiums. This thesis is designed to make a comparison of socio-economic conditions among people living in the two different types of accommodation. Aspects of their economic status, outlook on life, materialistic values, housing preferences and reason for the preferences are resorted to understand the extent to which these people are adjusting to the city growth. Findings are that housing-tract dwellers are more economically well-off in terms of income earnings than those in condominiums. It turns out that those in the condominium under study, while drawn from a systematic random sampling, are mostly rentees who could not afford to buy either houses or condominiums for their own. They rent condominium units near their work places while they hope to own houses in the future. People in the housing-tract under study, On the contrary, express their satisfaction to have their own houses. Their idea to move is not evident. They view that living there are more or less established. They collect more substantial item of tools tools appliance, furniture in these dwellers. One of the main reasons for which condominiums tend to locate more in the inner core areas than the housing-developed communities is to serve the growing number of working class members who demand their residence near their work places. These are people who have relatively less earnings, smaller family sizes, more independent yet less individualistic than those in the housing-developed communities. It is however interesting to further investigate if these condominiums dwellers could well adjust to a collective way of life required for this type of livelihood ; and if people in the housing developed community are prone to be more individualistic than their counterpart in condominiums.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49119
ISBN: 9745689734
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sanhataya_sa_front.pdf11.81 MBAdobe PDFView/Open
Sanhataya_sa_ch1.pdf15.54 MBAdobe PDFView/Open
Sanhataya_sa_ch2.pdf5.81 MBAdobe PDFView/Open
Sanhataya_sa_ch3.pdf11.51 MBAdobe PDFView/Open
Sanhataya_sa_ch4.pdf11.75 MBAdobe PDFView/Open
Sanhataya_sa_ch5.pdf17.31 MBAdobe PDFView/Open
Sanhataya_sa_ch6.pdf3.14 MBAdobe PDFView/Open
Sanhataya_sa_back.pdf9.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.