Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49718
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชญาพิมพ์ อุสาโห
dc.contributor.advisorศิริเดช สุชีวะ
dc.contributor.authorเกศกนก ณ พัทลุง
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned2016-11-07T07:30:43Z
dc.date.available2016-11-07T07:30:43Z
dc.date.issued2556
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49718
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อยของโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีประสิทธิผลจากแนวคิดทฤษฎี 2) องค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อยของโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีประสิทธิผลจากพหุกรณี และ 3) พัฒนารูปแบบโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีประสิทธิผลสำหรับประเทศไทย มีวิธีดำเนินการวิจัย 5 ขั้นตอน ประชากรที่ศึกษา คือ โรงเรียนมัธยมศึกษาตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 4 โรงเรียน การตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีประสิทธิผลสำหรับประเทศไทยใช้การอ้างอิงผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ และแบบตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อยของโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มี ประสิทธิผลจากแนวคิดทฤษฎี ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบหลัก 45 องค์ประกอบย่อย 2) องค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อยของโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีประสิทธิผลจากพหุกรณี ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบหลัก 42 องค์ประกอบย่อย 3) รูปแบบโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีประสิทธิผลสำหรับประเทศไทยมีความเป็นไปได้ของการนำไปใช้อยู่ในระดับมากที่สุด องค์ประกอบของรูปแบบมี 6 ส่วน คือ 1) ชื่อรูปแบบ 2) หลักการ แนวคิดพื้นฐานและความเป็นมาของรูปแบบ 3) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 4) ลักษณะของรูปแบบ 5) แนวทางการนำรูปแบบไปใช้ และ 6) เงื่อนไขความสำเร็จของรูปแบบ ชื่อรูปแบบคาดหวัง มุ่งมั่น สัมพันธ์ ร่วมมือ ลักษณะของรูปแบบประกอบด้วย 9 องค์ประกอบหลัก คือ 1) การมีวิสัยทัศน์ร่วมที่ชัดเจนและมั่นคง 2) มีมาตรฐานและความคาดหวังสูงสำหรับนักเรียนทุกคน 3) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง 4) มีวัฒนธรรมของการสื่อสารและความร่วมมืออย่างทั่วถึง 5) หลักสูตร การเรียนการสอน และการวัดผลประเมินผลสอดคล้องกับมาตรฐาน 6) การกำกับการเรียนรู้และการสอนอย่างสม่ำเสมอ 7) การพัฒนาทางวิชาชีพอย่างมีจุดเน้น 8) สิ่งแวดล้อมและบรรยากาศที่สนับสนุนการเรียนรู้ และ 9) การมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างสูงของครอบครัวและชุมชนen_US
dc.description.abstractalternativeThis research is the Qualitative Research and the purposes of this research were 1) to study the components and elements of the effective secondary school from theories, 2) to study the components and elements of the effective secondary school from multiple case study and, 3) to develop an Effective Secondary School Model for Thailand. The process of the study comprised five steps. The populations are the 4 selected secondary schools. An Effective Secondary School Model for Thailand was verified by the connoisseurship. The tools for research include content analysis, observation, interview, and the suitability and possibility assessment form. The collected data were analyzed through content analysis, frequency distribution, percentage, mean and standard deviation. The research results can summarize as follows: The component and element of an effective secondary school from theories include 9 components and 45 elements. The component and element of effective secondary school from multiple case study include 9 components and 42 elements. This model is appropriate and the possibility of implement is at the highest level. The component of this model include 6 parts which were 1) The name of this model 2) The principle , primary idea and background 3) The objective 4) The characteristic 5) The way to implement and, 6) The condition to success. A Model of an Effective Secondary School for Thailand is Expectation, Commitment, Relation, and Collaboration Model includes 9 components which were 1) Clear, consistent and shared vision 2) High standards an expectations for all students 3) Transformational leadership 4) Thoroughly culture of collaboration and communication 5) Curriculum, instruction, measurements and assessments aligned with standards 6) Frequent monitoring of learning and teaching 7) Focused professional development 8) Supportive learning climate and environment and 9) High levels of family and community involvement.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1608-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectโรงเรียนมัธยมศึกษา -- การบริหารen_US
dc.subjectโรงเรียนมัธยมศึกษา -- ไทยen_US
dc.subjectHigh schools -- Administrationen_US
dc.subjectHigh schools -- Thailanden_US
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิต
dc.titleการพัฒนารูปแบบโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีประสิทธิผลสำหรับประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeDevelopment of an effective secondary school model for Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorChayapim.U@chula.ac.th
dc.email.advisorSiridej.S@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.1608-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
katekanok_na.pdf4.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.