Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49762
Title: กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้บริโภคของกองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
Other Titles: Communication strategies according to consumer potential development of the public and consumer affairs divisions, food and drug administration
Authors: จิรวัส พรหมศร
Advisors: ธนวดี บุญลือ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Tanawadee.B@chula.ac.th
Subjects: ผู้บริโภค
พฤติกรรมผู้บริโภค
การสื่อสาร
การวางแผนการสื่อสาร
ช่องทางการสื่อสาร
Consumers
Consumer behavior
Communication
Communication planning
Mass media channels
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสาร เนื้อหาของสาร ข่องทางการสื่อสารที่ใช้ในการสื่อสาร ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาที่ใช้เพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค และ บทบาทของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาตามยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพผู้บริโภคในมุมมองของสื่อมวลชน โดยสัมภาษณ์ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อยุทธศาสตร์นี้ 6 คน และสื่อมวลชน 5 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค พบว่า กลยุทธ์ที่ใช้ในการวางแผนการดำเนินงาน ได้แก่ กลยุทธ์การใช้เทคนิควิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการกำหนดแนวทางในการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค กลยุทธ์ในการกำหนดเป้าหมายของการพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค กลยุทธ์ในการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย 2. กลยุทธ์ที่ใช้ในการออกแบบเนื้อหาของสารในการสื่อสารเพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค ได้แก่ แลยุทธ์การสื่อสารเพื่อให้ความรู้ กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อเผยแพร่าข้อมูลข่าวสาร และกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจ 3. กลยุทธ์ในเลือกใช้ช่องทางการสื่อสาร(สื่อ)ในการพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภคได้กำหนดรูปแบบการใช้สื่อในการประชาสัมพันธ์โครงการหรือข่าวสารต่างๆ ออกเป็น 2 รูปแบบคือ Air War และ Ground War 4. บทบาทของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาในมุมมองของสื่อมวลชนสะท้อนให้เห็นการทำงานองสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ว่ามีภาพลักษณ์ที่ดี และเปิดเผยข้อมูลให้ความร่วมมือและแก้สถานการณ์ได้รวดเร็วทันใจ แต่ในขณะเดียวกันสื่อมวลชนบางส่วนยังคงมีความเห็นว่าการสื่อสารยังไม่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายบางกลุ่มโดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายที่ด้อยการศึกษา
Other Abstract: The objective of this research is to study communication strategies, communication channels and message content designed by the Food and Drug Administration (FDA) and also overview FDA role on consumer potential development. Six executives and five media men were isn-depth interviewed. The key findings can be summarized as follows: 1. The strategies for communication planning covered the identification of direction, goal and target group. 2. The message designed was aimed to inform, educate and persuade of consumer potential development. 3. Air War and Ground War were used as channels of communicating 4. The media reflected that the operation of FDA create good images as FDA is open, cooperative and fast in solving the situation / problems. However, the press wished the FDA would be more attentive to the vast majority of the uneducated consumer.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49762
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1461
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1461
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jirawat_pr_front.pdf483.53 kBAdobe PDFView/Open
jirawat_pr_ch1.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
jirawat_pr_ch2.pdf4.82 MBAdobe PDFView/Open
jirawat_pr_ch3.pdf440.82 kBAdobe PDFView/Open
jirawat_pr_ch4.pdf2.59 MBAdobe PDFView/Open
jirawat_pr_ch5.pdf2.07 MBAdobe PDFView/Open
jirawat_pr_back.pdf776.54 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.