Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52423
Title: นาฏยศิลป์ไทยเพื่อเพิ่มจินตนาการผ่านการแสดงแสงเสียงประกอบจินตภาพ คนดีศรีอยุธยา
Other Titles: Thai dance for aesthetic enhancement by inspecting observing the light and sound performance, Khon Dee Sri Ayutthaya
Authors: รัฐศาสตร์ จั่นเจริญ
Advisors: นราพงษ์ จรัสศรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลกรรมศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: นาฏศิลป์ไทย
ศิลปะการแสดง
การรำ -- ไทย
Dramatic arts, Thai
Performing arts
Dance -- Thailand
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์เรื่อง นาฏยศิลป์ไทยเพื่อเพิ่มจินตนาการ ผ่านการแสดงแสง-เสียงประกอบจินตภาพ คนดีศรีอยุธยานี้ ผู้วิจัยต้องการศึกษารูปแบบและแนวความคิดในการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์เพื่อเพิ่มจินตนาการ ผ่านการแสดงแสง-เสียงประกอบจินตภาพ คนดีศรีอยุธยา ประพันธ์บทการแสดงโดย รศ.ดร. คุณหญิงวินิตา ดิถียนต์ ศิลปินแห่งชาติ และกำกับการแสดงโดย ศ.ดร. นราพงษ์ จรัสศรี จัดแสดงขึ้นเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ณ วัดไชยวัฒนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เนื่องในโอกาสมหามคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างงานนาฏยศิลป์ให้เป็นเครื่องมือในการอนุรักษ์มรดกทางปูชนียสถาน นาฏยศิลป์ และวรรณกรรมของชาติสำหรับเยาวชนคนรุ่นใหม่ ผู้วิจัยได้ตั้งประเด็นคำถามถึงรูปแบบและแนวคิดในการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ไทย พื่อเพิ่มจินตนาการ โดยใช้เครื่องมือ 6 ชนิด ที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ การสำรวจข้อมูลเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ การจัดการสัมมนา สื่อสารสนเทศ การสำรวจข้อมูลภาคสนาม และเกณฑ์มาตรฐานยกย่องศิลปินทางด้านนาฏยศิลป์ โดยการเก็บข้อมูลได้ดำเนินการอยู่ในช่วงของเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2554 ถึง เดือนกรกฎาคม 2556 ข้อมูลทั้งหมดได้ถูกนำมาวิเคราะห์ และได้คำตอบของงานวิจัยในครั้งนี้ คือ รูปแบบของการแสดงนาฎยศิลป์ไทยเพื่อเพิ่มจินตนาการ ในองค์ประกอบการแสดง ซึ่งประกอบไปด้วย 1) บทการแสดง 2) การออกแบบลีลา 3) การออกแบบเครื่องแต่งกาย 4) การออกแบบดนตรี 5) การออกแบบแสง 6) นักแสดง และแนวคิดในการสร้างนาฎยศิลป์ไทยเพื่อเพิ่มจินตนาการ ประกอบด้วย 1) การใช้ความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม 2) การใช้สัญลักษณ์ 3) การใช้ทฤษฎีทางด้านนาฏยศิลป์และทัศนศิลป์4) การใช้ความหลากหลายของรูปแบบการแสดง 5) สะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคมไทย 6) คำนึงถึงความคิดสร้างสรรค์ 7) การอนุรักษ์ความเป็นไทย 8) การคำนึงถึงคุณธรรม จริยธรรม 9) การสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มจินตนาการในการแสดง 10) การคำนึงถึงการสื่อสาร 11) การคำนึงของการรับรู้ของเด็กรุ่นใหม่ ตรงตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัยทุกประการ
Other Abstract: The purposes of this dissertation were to study the patterns and the creativity of the traditional Thai dance for aesthetic enhancement by observing the light and sound performance of Khon Dee Sri Ayutthaya and to create and conserve the traditional Thai dance in order to pass on to the next generation. The performance of this traditional Thai dance was created by Asst. Prof. Dr. Lady Winita Diteeyon, the national artist, and was directed by Prof. Dr. Narapong Jaradsri. The first display of this Thai dance was on 27th December 1992 at Chai Wattanaram Temple in Ayutthaya on the occasion of celebrating His Majesty the Queen Sirikit’s the fifth cycle birthday. The research instruments were consisted of 6 types: 1. Research literature review 2. Specialist interview 3. Seminar 4. Multi media 5. Questionnaires 6. Criteria of traditional Thai Dance. The period of collecting data started from December 2011 to July 2013. The data of the research was analyzed according to the traditional Thai Dance performance criteria. The result of the research found that there were 6 features: 1. Role play 2. Dance patterns 3. Costume design 4. Sound & Music design 5. Light display 6. Performer. In addition, the result of the research in creativity of Traditional Thai dance for aesthetic enhancement found that there were many findings: 1. Variety of cultural dance patterns 2. Symbolic in the dance 3. Performing arts and visual arts based on the theories 4. Various dance patterns 5. Reflecting the ways of Thai living and society 6. Focusing on creativity 7. Conserving the ways of Thai life 8. Concerning morality 9. Creating and enhancing the aesthetic arts 10. Communicative performance and conveying the meaning of the display 11. Concerning the perception of the young generation.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: นาฏยศิลป์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52423
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1732
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1732
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
rattasard_ch.pdf3.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.