Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53292
Title: การวิเคราะห์ธรณีสัณฐานในพื้นที่น้ำท่วม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฏร์ธานี
Other Titles: Geomorphic analysis in flood area at Amphoe Phun Phin, Changwat Suratthani
Authors: เกริกกฤช เดชอุดม
Advisors: มนตรี ชูวงษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: monkeng@hotmail.com
Subjects: ธรณีสัณฐาน -- ไทย -- สุราษฏร์ธานี
อุทกภัย -- ไทย -- สุราษฏร์ธานี
Landforms -- Thailand -- Suratthani
Floods -- Thailand -- Suratthani
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: Flooding is a kind of hazard from a lot of water. As a result of heavy or long continuousraining for a long time, due to low of pressure atmosphere Amphoe Phunpin Chanwat Suratthani is one of effected area from low pressure atmosphere, caused widely flooding in march 2011. The flooding damaged vast asset and life. Flooding is always lack of geomorphic analysis in the area which is essential understanding nature and water characteristic of drainage basin. The data is very important for applied with other knowledges. For protect and dissolve the flooding problem in the area. Associated with topography in Amphore Phunphin Changwat Suratthani is vary of geomorphology and has 2 main rivers, Tapi river and Phum Dueng river. Hence this study is aim to study about geomorphology which is the factor of flooding and identified the real boundary knowledges flooding and some is anomalous flooding. From analysis in the study area found that most of flooding area was in floodplain of Tapi and Phum Dueng river. Which is natural flooding. The most important of flooding in this area is inappropriate land use of geomorphology and water obstruction from building. Associated with long continuous raining. Make water over flooding. And drainage system of Tapi river was changed.
Other Abstract: อุทกภัย (flood) จัดเป็นพิบัติภัยอันตรายที่เกิดจากสภาวะน้ำท่วมหรือน้ำท่วมฉับพลัน มีสาเหตุหลักมาจากการเกิดฝนตกหนักหรือฝนต่อเนื่องเป็นเวลานานจากหย่อมความกดอากาศต่ำ ซึ่งอำเภอพุนพิน จังหวัด สุราษฎร์ธานี เป็นพื้นที่หนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากอิทธิพลจากหย่อมความกดอากาศต่ำทำให้เกิดอุทกภัยเป็นบริเวณกว้างเมื่อเดือนมีนาคม ปี 2554 ที่ผ่านมา น้ำท่วมในพื้นที่นี้ก่อเกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมหาศาล ซึ่งการเกิดน้ำท่วมแต่ละครั้งมักขาดการวิเคราะห์ในเชิงธรณีสัณฐานวิทยาของพื้นที่ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการทำความเข้าใจธรรมชาติและพฤติกรรมของน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำหนึ่ง ๆ และเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญยิ่งในการนำไปบูรณาการกับศาสตร์อื่น ๆ ในการวางแผนแก้ปัญหาน้ำท่วมของแต่ละพื้นที่และการวางแผนการป้องกันน้ำท่วมภายในอนาคตได้อีกด้วย ประกอบกับลักษณะภูมิประเทศในพื้นที่อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีความหลากหลายทางด้านธรณีสัณฐานและมีแม่น้ำสายหลักคือ แม่น้ำตาปีและแม่น้ำพุมดวง ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาธรณีสัณฐานแต่ละชนิด ที่เป็นปัจจัยหลักของการเกิดปัญหาน้ำท่วมและกำหนดขอบเขตที่แท้จริงของพื้นที่ประสบเหตุอุทกภัยได้อย่างถูกต้อง จากการวิเคราะห์สภาพพื้นที่ศึกษาพบว่า พื้นที่น้ำท่วมส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณพื้นที่ที่ราบน้ำท่วมถึง (Floodplain) ของแม่น้ำตาปีและแม่น้ำพุมดวงเป็นหลัก ซึ่งเป็นการท่วมแบบธรรมชาติและยังมีบางบริเวณที่เกิดน้ำท่วมแบบผิดปกติ ซึ่งสาเหตุสำคัญของปัญหาน้ำท่วมในบริเวณพื้นที่ศึกษานี้ คือ การใช้ที่ดิน (Land Use) ที่ไม่เหมาะสมกับลักษณะของธรณีสัณฐาน, การสร้างสิ่งปลูกสร้างขวางทิศทางการไหลของน้ำและประกอบกับปริมาณของน้ำฝนที่ตกต่อเนื่องกันหลายวัน ทำให้ปริมาณน้ำท่าในแม่น้ำตาปีและแม่น้ำพุมดวงมีปริมาณมากจนล้นตลิ่งแม่น้ำ ส่งผลทำให้น้ำท่วมเป็นวงกว้างและยังทำให้ระบบการไหลของลุ่มน้ำตาปี ผิดปกติไปจากธรรมชาติที่ควรจะเป็น
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2554
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53292
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
report_Krirkkrit Detudom.pdf6.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.