Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55632
Title: ความเปลี่ยนแปลงของโครงข่ายลำเหมืองพญาคำ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: CHANGES OF MUEANG PHAYA KHAM SYSTEM, AMPHOE MUEANG, CHANGWAT CHIANG MAI
Authors: ปวร มณีสถิตย์
Advisors: ดนัย ทายตะคุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Danai.Th@Chula.ac.th,danathai@gmail.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาระบบเหมืองฝายและภูมิทัศน์โดยรอบในฐานะระบบนิเวศ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาความเป็นมา วิวัฒนาการ และบทบาทหน้าที่ของระบบเหมืองฝายโดยอ้างอิงกับทฤษฎีภูมินิเวศวิทยา การบริการเชิงนิเวศ และโครงสร้างพื้นฐานภูมินิเวศเพื่อวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงและผลกระทบของโครงข่ายลำเหมืองพญาคำมีต่อภูมิทัศน์โดยรอบและสรุปประเด็นปัญหา นำไปสู่การศึกษาแนวความคิดเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานสีเขียวในการบรรเทาผลกระทบต่างๆ ไปจนถึงการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาโครงข่ายลำเหมืองพญาคำในฐานะโครงสร้างพื้นฐานภูมินิเวศของเมืองเชียงใหม่ให้สอดคล้องกับบริบทของที่ตั้ง เงื่อนไขทางธรรมชาติ เศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน งานวิจัยนี้ดำเนินการโดยการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา วิวัฒนาการของระบบเหมืองฝาย โครงสร้าง ระบบการบริหารจัดการ รวมถึงบทบาทหน้าที่ และการบริการเชิงนิเวศของโครงข่ายลำเหมืองพญาคำที่มีต่อมนุษย์ และพื้นที่โดยรอบ ประกอบกับการศึกษาเปรียบเทียบภาพถ่ายทางอากาศปี พ.ศ.2497 และ พ.ศ.2559 เพื่อให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นรวมถึงลงพื้นที่สำรวจเพื่อบันทึกภาพถ่าย และสัมภาษณ์ผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงแนวลำเหมืองพญาคำเพื่อให้ทราบถึงข้อมูลในเชิงประวัติศาสตร์ ความสัมพันธ์ของผู้คนที่มีต่อลำเหมืองพญาคำ และสรุปประเด็นปัญหาเพื่อเสนอแนะแนวทางในการบรรเทาปัญหา ฟื้นฟู อนุรักษ์และพัฒนาต่อไป ผลการศึกษาพบว่าการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างภูมินิเวศในพื้นที่ศึกษาแบ่งออกเป็นพื้นที่เมือง กึ่งเมือง และ ชนบท โดยการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่เมือง และพื้นที่กึ่งเมืองส่งผลให้บทบาทหน้าที่ และการบริการเชิงนิเวศของโครงข่ายลำเหมืองพญาคำเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด ในขณะที่พื้นที่ชนบทยังคงโครงข่ายของลำเหมืองพญาคำไว้เพื่อการทำเกษตรกรรม ผลจากการศึกษาดังกล่าวนำไปสู่การศึกษาแนวทางในการฟื้นฟู พัฒนา และบรรเทาผลกระทบต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อให้โครงข่ายลำเหมืองพญาคำสามารถทำหน้าที่ในฐานะโครงสร้างพื้นฐานภูมินิเวศของเมืองเชียงใหม่อย่างสอดคล้องกับบริบท และเงื่อนไขในพื้นที่ต่างๆ ต่อไป
Other Abstract: This thesis examines the Muang-Fai system and its context as an ecosystem based on landscape ecology theory, focusing on the history, evolution, landscape structure, functions and ecosystem services of the system, in order to analyze the changes caused by urbanization, evaluate the effect and define a mitigation method. The study process is a comparison of the ecological map based on aerial photographs in 1954 and 2016 in order to detect landscape changes. Observation and interview were used to investigate how they related to the Muang Phayakham system and how they managed this system using the traditional regulations in the past to compare with the Muang Phayakham management process nowadays. The result shows that changes of Muang Phayakham system can be categorized in 3 areas; urban area, mixed suburban and agricultural area and agricultural area. Urbanization has changed Muang Phayakham system in term of functions, ecosystem services and interaction between residents of the area and Muang Phayakham system. On the other hand, in agricultural area, Muang Phayakham system still maintain its functions and ecosystem services, also the interaction with the resident. The results of this study can be used as basic information for Chiangmai city development based on the Muang Phayakham system for comparison to Chiangmai’s landscape infrastructure.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภูมิสถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55632
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.735
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.735
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5873356625.pdf13.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.