Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55679
Title: แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวไทยในการเข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี
Other Titles: THAI TOURISTS’ MOTIVATIONS IN VISITING UBON RATCHATHANI NATIONAL MUSEUM
Authors: ณัชชา กุลปัณณวรรธ
Advisors: กุลพิชญ์ โภไคยอุดม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: gulapish.p@chula.ac.th,gpookaiyaudom@gmail.com
Subjects: พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ
นักท่องเที่ยว -- ไทย
การจูงใจ (จิตวิทยา)
Tourists -- Thailand
Motivation (Psychology)
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี และเพื่อเปรียบเทียบลักษณะประชากรศาสตร์ของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการเข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี ระหว่าง เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ และรายได้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยทีมาท่องเที่ยว จ.อุบลราชธานี และเข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.72 และมีค่าสัมประสิทธ์อัลฟาเท่ากับ 0.82 โดยนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่ออธิบายลักษณะข้อมูลทั่วไปและข้อมูลพฤติกรรมของผู้ตอบแบบสอบถาม ในการทดสอบสมมุติฐาน การทดสอบค่า ”ที” (t-test) ใช้ในการเปรียบเทียบแรงจูงใจในการเข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี ระหว่างเพศชายกับ เพศหญิง ส่วนการเปรียบเทียบแรงจูงใจในการเข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี ในความแตกต่างด้าน อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา และรายได้ วิเคราะห์ความความแปรปรวนทางเดียว (Analysis of Variances) แบบ One-Way ANOVA กรณีพบค่าความแตกต่างเป็นรายคู่ จะใช้วิธีการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ ด้วยวิธีบอนเฟอโรนี่ (Bonferroni’s method)ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุในช่วง 20-29 ปี มีสถานภาพโสด การศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน น้อยกว่าหรือเท่ากับ 10,000 บาท อาชีพนิสิต/นักศึกษา และมีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2. พฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวจังหวัดอุบลราชธานีส่วนใหญ่พบว่า เดินทางมาท่องเที่ยว จ.อุบลราชธานี 2-3 ครั้ง ใช้ระยะเวลาท่องเที่ยว 3-4 วัน เดินทางมากับครอบครัว มีวัตถุประสงค์เพื่อการพักผ่อน/นันทนาการ เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนบุคคล รู้ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวในจ.อุบลราชธานี จากอินเตอร์เน็ต สิ่งดึงดูดใจให้มาท่องเที่ยว จังหวัดอุบลราชธานีมากที่สุดคือ การชมงานเทศกาลแห่เทียนเข้าพรรษา สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดอุบลราชธานี คือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี และรู้ข้อมูลเกี่ยวกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี จากบุคคลใกล้ชิด/คนรู้จัก 3. นักท่องเที่ยวชาวไทยมีแรงจูงใจของในการเข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี โดยรวมทั้ง 6 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า แรงจูงใจในการเข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี อยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านวัฒนธรรม และอีก 5 ด้านอยู่ในระดับมากคือ ด้านการพัฒนาตนเอง ต่อมาด้านสรีระหรือทางด้านร่างกาย ด้านการให้ได้มาเพื่อสถานภาพ และด้านส่วนบุคคล 4. เมื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวไทยในการเข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี ของผู้ตอบแบบสอบถามระหว่างเพศชายและเพศหญิง พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 5. เมื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวไทยในการเข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี ระหว่าง อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ของผู้ตอบแบบสอบถามที่แตกต่างกัน ในภาพรวมมีแรงจูงใจในการเข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 6. เมื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวไทยในการเข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี ระหว่างสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามที่แตกต่างกัน พบว่า ไม่แตกต่างกัน
Other Abstract: The purposes of this research were to study and to compare gender, age, education level, marital status, and average income interms of the Thai touris’ motivations in visiting Ubon Ratchathani Museum and its perimeters in Physical Motivation, Cultural Motivation, Emotional Motivation, Status Motivation and Personal Development Motivation. The samples were 400 Thai tourists who travelled to Ubon Ratchathani province and visited in Ubon Ratchathani National Museum. Questionnaires were adopted as a main method of data collection and were represented in the index of item objectives congruence (IOC) equivalent as 0.72 including Cronbach’s Alpha Coefficient at 0.82. A questionnaire was analyzed statistically using frequency, percentage, mean, standard deviation, and the test value “t” (t-test) in order to compare the motivations in visiting Ubon Ratchathani Museum between male and female. One-way analysis of variance: ANOVA was used to compare the motivations in visiting Ubon Ratchathani Museum among Thai tourists by age, education level, marital status, and average income interval. If the results had been significantly different at the level 0.05 then the Bonfferroni’s Method would have been employed. The results were as followed; 1. The majority of respondents were single females aged between 20-29 years old with bachelor’s degree. Most of them were students with average income less than or equal to 10,000 THB and their domicile are in Northeastern Region. 2. Most tourists have traveled to Ubon Ratchathani province 2-3 times and spent 3-4 days with their families using private cars as vehicle. Their main purposes of visiting were to relax or for leisure. They accessed information about tourist destinations at Ubon Ratchathani province via internet. The most attraction was Candle festival. They perceived Cultural Tourism places referring to Ubon Ratchathani National Museum which they had information via their families. 3. The majority of respondents were motivated at high satisfaction level in all aspects except the cultural motivation which was in highest level. 4. When compared motivation effection to visiting in Ubon Ratchathani National Museum of respondents to gender, it indicated that there was statistical significant differences at 0.05. 5. When compared motivation effection to visiting in Ubon Ratchathani National Museum of respondents to age, education level and average income, it indicated that there was statistical significant differences at 0.05. 6. When compared motivation effection to visiting in Ubon Ratchathani National Museum of respondents to marital status, it indicated that there was no significant differences.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55679
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.805
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.805
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5878404039.pdf4.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.