Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56958
Title: นโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาแบบมุ่งอนาคตเพื่อเด็กและเยาวชนไทย
Other Titles: Future-oriented educational policies and strategies for Thai youths
Authors: จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์
Advisors: จุมพล พูลภัทรชีวิน
อมรวิชช์ นาครทรรพ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Chumpol.P@Chula.ac.th
Amornwich.N@chula.ac.th
Subjects: นโยบายการศึกษา -- ไทย
เยาวชน -- การศึกษา -- ไทย
Youth -- Education -- Thailand
Education and state -- Thailand
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่องนโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาแบบมุ่งอนาคตเพื่อเด็กและเยาวชนไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวโน้มทางเศรษฐกิจสังคมที่มีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนในต่างประเทศและของประเทศไทย 2) ศึกษานโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาแบบมุ่งอนาคตเพื่อเด็กและเยาวชนในต่างประเทศและของ ประเทศไทย 3) ให้ข้อเสนอเกี่ยวกับนโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาแบบมุ่งอนาคตเพื่อเด็กและเยาวชนไทย โดยมีกระบวนการศึกษาวิจัยอันประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ 1) การศึกษาแนวโน้มด้านต่างๆ จากการ ทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 2) การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการมองอนาคต (foresight workshop) และการสร้างภาพอนาคต (scenario planning) สังคมไทยใน 10 ปีข้างหน้าโดยกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 3) กระบวนการมองทางเลือกและให้ข้อเสนอเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ โดยการจัดประชุมระดมความคิด สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และจัดเวทีสัมมนาวิชาการเพื่อสร้างผลกระทบและปรับแต่งข้อเสนองานวิจัย ผลการวิจัย สรุปได้ว่าสังคมไทยใน 10 ปีข้างหน้าจะต้องเผชิญกับแนวโน้มสำคัญและความไม่แน่นอนในด้านต่างๆ ที่มี ผลกระทบต่อสังคม เด็ก เยาวชน และการศึกษาไทย ไม่ว่าจะเป็นแนวโน้มด้านสื่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนโฉมหน้า การเรียนรู้จากห้องเรียนไปสู่โลกไร้พรมแดน กระแสเศรษฐกิจเสรีที่มีผลต่อภาวะการแข่งขันและการแย่งชิง เพื่อเข้าถึงความรู้ กระแสความก้าวหน้าทางวิทยาการที่ส่งผลกระทบต่อการเร่งรัดให้การศึกษาต้องไล่ทันต่อ ความรู้และวิธีวิทยาใหม่ๆ กระแสการเมืองยุคใหม่ท่ามกลางสังคมพหุวัฒนธรรมที่จะหนีไม่พ้นซึ่งความขัดแย้ง และการเรียกร้องสิทธิทางสังคมในกลุ่มชนหรือชาติพันธุ์ต่างๆ แนวโน้มวิกฤตทางจริยธรรมคุณธรรมรวมถึง ความอ่อนแอของสถาบันครอบครัวที่มีผลต่อการอบรมเลี้ยงดูและการใช้ชีวิตของเด็กและเยาวชน ซึ่งทั้งหมดนี้ ยังส่งผลสืบเนื่องเชื่อมโยงไปกับปัญหาวิกฤตเยาวชน เช่น ปัญหาเรื่องเพศ เรื่องความรุนแรง เรื่องการใช้ชีวิตเสี่ยง ฯลฯ ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นด้วย อย่างไรก็ตามผลจากการมองอนาคตและการสร้างภาพอนาคต ได้ทำให้เกิด การมองเห็นภาพอนาคตหลากหลายภาพทั้งภาพบวก ภาพลบและภาพที่คาดว่าจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้ซึ่งมี นัยสำคัญต่อการตั้งหลักเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาในอนาคต ทั้งนี้ในกระบวนการถอยกลับ มามองหาทางเลือกเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ด้วยการระดมความคิดผู้เชี่ยวชาญนั้น ทำให้เห็นทางเลือก เชิงยุทธศาสตร์ที่หลากหลาย ทั้งยุทธศาสตร์ร่วม ยุทธศาสตร์เฉพาะ นอกจากนี้การจัดอับดับความสำคัญของ ยุทธศาสตร์ยังช่วยในการวิเคราะห์ยุทธศาสตร์และการมองถึงยุทธศาสตร์ที่มีพลังสำหรับตอบโจทย์พลวัตรของ โลกได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งผลของกระบวนการดังกล่าวยังนำไปเสนอต่อเวทีสัมมนาเพื่อให้ข้อเสนอแนะต่อการปรับแต่ง ข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์ให้คมชัดเจนขึ้น โดยภายหลังได้มีข้อคิดเห็นเพิ่มเติมจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่น้อย ที่ให้ข้อชี้แนะที่สำคัญต่อการปรับแต่งยุทธศาสตร์ให้สามารถนำไปขับเคลื่อนได้จริงมากยิ่งขึ้นท้ายที่สุด งานวิจัยครั้งนี้ได้มีข้อเสนอต่อการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ที่มุ่งให้เกิดนโยบายสาธารณะในเรื่อง “เมืองแห่งการเรียนรู้” “นโยบายการศึกษาเพื่อชีวิตเท่าทัน” “นโยบายการศึกษาเพื่อชีวิตที่พอเพียง” โดยมี แนวทางดำเนินนโยบายด้วย 4 ยุทธศาสตร์หลักคือยุทธศาสตร์เมืองแห่งการเรียนรู้ ยุทธศาสตร์ทักษะชีวิตศึกษา ยุทธศาสตร์การศึกษาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ยุทธศาสตร์การจัดการแบบมุ่งอนาคต ทั้งนี้ภายใต้ ยุทธศาสตร์ดังกล่าวยังประกอบไปด้วยยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนในภาคปฏิบัติการอีก 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ ยุทธศาสตร์พื้นที่ และยุทธศาสตร์ทาง สังคม โดยมุ่งเน้นการดำเนินงานในกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ผ่านพื้นที่ในโรงเรียน พื้นที่นอกโรงเรียน ในครอบครัว ชุมชน พื้นที่สื่อและพื้นที่เสมือนต่างๆ เพื่อเป้าหมายที่การสร้างเด็กและเยาวชนให้เป็นอนาคตที่ดีของสังคมไทย ต่อไป
Other Abstract: This research, ‘Future-Oriented Educational Policies and Strategies for Thai Youths’, is supported by ‘The 90 Anniversary of Chulalongkorn University Fund’ (Ratchadphiseksomphot Endowment Fund). The research is aimed at: 1) studying the social and economic trends affecting youths worldwide and in Thai Society; 2) studying future-oriented educational policies and strategies worldwide and in Thailand; 3) proposing future-oriented educational policies and strategic recommendations for Thai Youths. Methods of study are composed of 1) documentary review and expert interview; 2) foresight workshops and scenario planning; 3) expert in-depth interview and brainstorming seminar for policies and strategic recommendations. The results of this research can be summarized as follows. Thai society within the next 10 years will confront significant trends and uncertainties that directly affect Thai children. Among major trends are the technological advancements that revolutionize schooling into borderless learning, free trade and economic policy trends along with accelerated rate of knowledge advancements resulting in higher competition among various production sectors, including the education sector, which need to catch up with and to gain access to state-of-the-art knowledge. The increasing multi-cultural society and political trends will lead to more social conflicts and public outcry for equal rights among ethnic groups. The moral crisis and the weakening of Thai families will affect youth life styles resulting in increasing social problems such as sex, violence, teen pregnancy, and other risk behaviors. The results of foresight workshops and scenario planning provide both positive and negative future scenarios. As a result, the most probable scenario is drawn as a basis for identifying significant implications for future education policies and strategies. The backcasting process provides another important step in this research in identifying alternatives for educational policies and strategies based on expert brainstorming activities. The results embrace a diverse set of strategic alternatives including both common and specific strategies. Experts’ ranking of strategies is also employed and used for arriving at a set of recommended strategies in terms of global dynamism. A group of selected experts is then invited to participate in a brainstorming session to critically review the proposed educational policies and strategies, and identify appropriate measures to mobilize those strategies in education policy development. Along with three major educational policies, namely – “City of Learning”, “Education for Life Skill” and “Education for Sufficient Life”, four general strategies have been proposed as a final synthesis. The four general strategies are “Learning City, Skilful Living, Sufficient Lifestyles, Future-Oriented Management”. In order to move towards the suggested policies successfully, mobilizing strategies such as educational investment, knowledge management, area-based development and other social strategies have also been proposed.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: พัฒนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56958
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.675
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.675
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chulakorn_ma_front.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open
chulakorn_ma_ch1.pdf752.67 kBAdobe PDFView/Open
chulakorn_ma_ch2.pdf9.46 MBAdobe PDFView/Open
chulakorn_ma_ch3.pdf1.54 MBAdobe PDFView/Open
chulakorn_ma_ch4.pdf5.71 MBAdobe PDFView/Open
chulakorn_ma_ch5.pdf8.46 MBAdobe PDFView/Open
chulakorn_ma_ch6.pdf8.29 MBAdobe PDFView/Open
chulakorn_ma_ch7.pdf3.06 MBAdobe PDFView/Open
chulakorn_ma_back.pdf4.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.