Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57338
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเหรียญ บุญดีสกุลโชค-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-03-06T01:25:36Z-
dc.date.available2018-03-06T01:25:36Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57338-
dc.description.abstractงานบริการสาธารณสุขประกอบด้วยงาน 4 ส่วนคือ การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค ซึ่งการบริหารจัดงานงานบริการสาธารณสุขให้ได้ประสิทธิภาพนั้น หน่วยงานสาธารณสุขต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในกระทรวงสาธารณสุข ต้องมีการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลสุขภาพรายบุคคลที่ได้จากสถานบริการสาธารณสุขต่าง ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ทางสุขภาพที่สอดคล้องกับหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานและเป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการงานบริการสาธารณสุขโดยรวมต่อไป อย่างไรก็ดี จากความแตกต่างในหน้าที่ความรับผิดชอบหน่วยงานสาธารณสุขต่าง ๆ จึงทำให้สถานบริการสาธารณสุขซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลต้องจัดเตรียมข้อมูลให้ตรงกับความต้องการที่หลากหลาย ทั้งในเรื่อง ประเภท รูปแบบ และข้อกำหนดของข้อมูล ซึ่งก่อให้เกิดความสับสนและการทำงานซ้ำซ้อน ดังนั้นเพื่อเป็นการลดภาระในการจัดเตรียมและนำส่งข้อมูล โดยมีข้อมูลที่เพียงพอต่อการบริหารจัดการงานบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพนั้น จึงเกิดแนวความคิดในการจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อใช้ในการพัฒนาและออกแบบระบบสารสนเทศที่เหมาะสมกับความต้องการใช้ข้อมูลจากหน่วยงานสาธารณสุขต่าง ๆ ที่สนับสนุนการบริหารจัดการงานบริการสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การดำเนินงานวิจัยเริ่มจากการศึกษาภาพรวมการใช้งานข้อมูลและสารสนเทศในระบบสาธารณสุขที่เป็นอยู่ในปัจจุบันจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งจากเอกสาร รายงานที่มีใช้ในหน่วยงานภาพรวมดัชนีชี้วัดสุขภาพ องค์ประกอบระบบข้อมูลสุขภาพและการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องในหลายหน่วยงาน เพื่อกำหนดข้อมูลที่จำเป็นและวิเคราะห์หาความเชื่อมโยงของข้อมูลอย่างเป็นระบบ จากนั้นจึงได้พัฒนารูปแบบและลักษณะของข้อมูลให้เหมาะสมและเป็นไปตามความต้องการใช้ข้อมูลจากหน่วยงานสาธารณสุขต่างๆ โดยผลลัพธ์ที่ได้จากงานวิจัย คือ โครงสร้างระบบข้อมูลสุขภาพ กลุ่มรายงาน และกลุ่มข้อมูลพื้นฐานด้านสุขภาพสำหรับการบริหารจัดการงานสาธารณสุข รวมไปถึงระบบสารสนเทศซึ่งประกอบด้วยฐานข้อมูลและหน้าจอการทำงาน ผลจากงานวิจัยนี้ได้ถูกนำเสนอผ่านการสัมมนาเพื่อรวบรวมความคิดเห็นและรับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญทางสาธารณสุข ซึ่งที่ประชุมสัมมนาได้สรุปว่า ระบบที่ออกแบบสามารถสนับสนุนการดำเนินงานที่สามารถตอบสนองความต้องการตามวัตถุประสงค์ของแต่ละหน่วยงานอีกทั้งยังช่วยให้การจัดการข้อมูลเป็นไปอย่างมีระบบ และลดความซ้ำซ้อนในการจัดเตรียมข้อมูล นอกจากนี้ยังสามารถสนองตอบความต้องการใช้งานข้อมูลในปัจจุบัน และข้อมูลในระบบสามารถสะท้อนผลลัพธ์ทางสุขภาพที่เป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการระบบบริการสาธารณสุขen_US
dc.description.abstractalternativePublic health service, defined by Ministry of Public Health, comprises of four components: medical service, health recovery, health promotion, and disease prevention Individual health data is necessary for effectively and efficiently managing public health service. By law, public health service providers must summit requested information regarding health data to responsible public health administrative units within Ministry of Public Health. Each responsible administrative unit analyses received information to obtain important health outcomes relating to their responsibility and authority. Since each responsible administrative unit has different objectives in their operations, the requirement of supporting health information may be different in term of types of data, data format, and data description. It can cause health service providers a great amount of time and effort to prepare various set of data to support different requirements from all responsible public health administrative units. In order to relieve data preparation workload, a health data management system is proposed. This information system is developed and designed according to all health data requirements from various administrative units within Ministry of Health in order to support effective and efficient public health management. The research starts with gathering relevant information from information users in various forms: documents in health system, health indicator reports, health data elements, and interviews of various users. The gathered information is analyzed to obtain necessary information needed in the proposed health data system. In addition, the interrelation of necessary information is systematically analyzed. Then, the apropos data description is developed according to public health administrative unit requirements. The findings from this research are the identification of basic health data, the suggested health data system structure and useful health reports. In addition, the health data system, including the design of database and user interface, is developed based on the aforementioned findings. The outcomes of this research were presented to responsible persons from public health service providers and administrative units through brainstorming seminar. The seminar attendees agreed with the proposed system and were confident that it can support the current operating objectives in each administrative unit. Moreover, the proposed system can systematically manage health data and reduce the redundancy of data preparation while satisfying all information requirements from administrative units. Finally, the information in the proposed system can demonstrate important public health outcomes which are useful to public health service management.en_US
dc.description.sponsorshipทุนงบประมาณแผ่นดินปี 2551 เลขที่ 100G-IE-2551en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectระบบสนับสนุนการตัดสินใจen_US
dc.subjectระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการen_US
dc.subjectระบบการจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ -- บริการทางการแพทย์en_US
dc.subjectบริการทางการแพทย์ -- การประมวลผลข้อมูลen_US
dc.subjectการบริหารบริการทางการแพทย์en_US
dc.subjectDecision support systemsen_US
dc.subjectManagement information systemsen_US
dc.subjectInformation storage and retrieval system -- Medical careen_US
dc.subjectMedical care -- Data processingen_US
dc.subjectHealth services administrationen_US
dc.titleโครงการพัฒนาศักยภาพ-สมรรถนะการบริหารทรัพยากรและระบบงานเชิงบูรณาการ สำหรับหน่วยงานภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการ และภาครัฐ โครงการพัฒนาระบบสนับสนุนการบริหารจัดการโรงพยาบาล ส่วนเพิ่มเติม ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการด้านสาธารณสุข (Information support system for public healthcare managementen_US
dc.title.alternativeการพัฒนาศักยภาพ-สมรรถนะการบริหารทรัพยากรและระบบงานเชิงบูรณาการ สำหรับหน่วยงานภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการ และภาครัฐ ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการด้านสาธารณสุขen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
Appears in Collections:Eng - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rein_bo_b18345621.pdf2.31 MBAdobe PDFView/Open
Rein_bo_b18345621_c2.pdf16.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.