Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57885
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพทางอาชีพหลังสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เศรษฐานะทางสังคม และความคาดหวังของพ่อแม่ต่อการรับรู้การเป็นผู้ใหญ่วัยเริ่ม
Other Titles: Relations among work status after graduation, socioeconomic status and parental expectations towards self-perception of being emerging adults
Authors: พรธิดา อารีย์รักษากุล
รัชฎาภรณ์ ม่วงบัว
ศรีธิดา บัวเลิศ
Advisors: นิปัทม์ พิชญโยธิน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: nipat.p@chula.ac.th
Subjects: การรับรู้ตนเอง
ความสำเร็จ -- แง่จิตวิทยา
บัณฑิต -- ภาวะสังคม
Self-perception
Success -- Psychological aspects
College graduates -- Social conditions
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพทางอาชีพหลังสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เศรษฐานะทางสังคม และความคาดหวังของพ่อแม่ต่อการรับรู้การเป็นผู้ใหญ่วัยเริ่ม ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างอายุ 22-30 ปี ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีแล้ว จำนวน 526 คน แบ่งเป็น 4 สภานภาพทางอาชีพ ได้แก่ เรียนเต็มเวลา 145 คน เรียนไปด้วยทำงานไปด้วย 102 คน ทำงานเต็มเวลา 224 คน และว่างงาน 55 คน โดยผู้เข้าร่วมการวิจัยได้ตอบมาตรวัดการรับรู้การเป็นผู้ใหญ่วัยเริ่ม มาตรวัดความคาดหวังของพ่อแม่ และมาตรวัดเศรษฐานะทางสังคม ตามลำดับ การเก็บข้อมูลใช้การเก็บผ่านแบบสอบถามออนไลน์โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างตามสะดวก ผลการศึกษาพบว่าผู้ที่เรียนเต็มเวลามีแนวโน้มที่จะรับรู้ว่าตนเป็นผู้ใหญ่วัยเริ่มมากกว่าผู้ที่ทำงานเต็มเวลาในด้านของมุ่งสำรวจความเป็นไปได้ของตนเอง (p = .034) ทางด้านเศรษฐานะทางสังคม พบว่าผู้ที่มีเศรษฐานะอยู่ในระดับสูงจะมีการรับรู้การเป็นผู้ใหญ่วัยเริ่มในด้านมุ่งสำรวจความเป็นไปได้ของตนเองสูง (β = 0.232, p < .05) ในขณะที่มีการรับรู้ในด้านความรู้สึกไม่มั่นคงต่ำ (β = -0.256, p < .05) สุดท้าย คือ ความคาดหวังของพ่อแม่ พบว่าผู้ที่รับรู้ความทะเยอทะยานของพ่อแม่สูง จะรับรู้การเป็นผู้ใหญ่วัยเริ่มในด้านมุ่งสำรวจความเป็นไปได้ของตนเองต่ำ (β = -.225, p < .05) ในทางกลับกัน หากรับรู้ว่าพ่อแม่มีความคาดหวังทางการเรียนสูงจะรับรู้การเป็นผู้ใหญ่วัยเริ่มในด้านมุ่งสำรวจความเป็นไปได้ของตนเองสูงเช่นกัน (β = .239, p < .05) อย่างไรก็ตาม หากบุคคลมีการรับรู้ความคาดหวังของพ่อแม่ทางอาชีพสูงจะรับรู้การเป็นผู้ใหญ่วัยเริ่มในด้านความรู้สึกก้ำกึ่งในอัตลักษณ์ของตนเองสูง (β = .169, p < .05) ส่วนผู้ที่รับรู้ความทะเยอทะยานของพ่อแม่ (β = .131, p < .05) และความคาดหวังของพ่อแม่ทางอาชีพที่สูง (β = .239, p < .05) จะรับรู้การเป็นผู้ใหญ่วัยเริ่มด้านความรู้สึกไม่มั่นคงสูง ในทางตรงกันข้ามหากรับรู้ความคาดหวังของพ่อแม่ทางการเรียนสูง บุคคลจะรับรู้การเป็นผู้ใหญ่วัยเริ่มด้านความรู้สึกไม่มั่นคงต่ำ (β = -.220, p < .05) กล่าวได้ว่า ปัจจัยต่าง ๆ มีความเกี่ยวข้องกับการประเมินการรับรู้การเป็นผู้ใหญ่วัยเริ่มของบุคคล ทั้งเศรษฐานะทางสังคม และความคาดหวังของพ่อแม่ในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งการอยู่ในช่วงผู้ใหญ่วัยเริ่มเป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากได้สำรวจความชอบและพัฒนาความสามารถ เพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นผู้ใหญ่ตอนต้น อย่างไรก็ตาม หากบุคคลตกอยู่ในช่วงนี้นานเกินไป อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตของตัวบุคคล ทั้งความล้มเหลวในการค้นหาอัตลักษณ์ และไม่พร้อมที่จะรับผิดชอบชีวิตของตนเอง
Other Abstract: The aim of this study was to examine the relations among work status after graduation, socioeconomic status, and parental expectations towards self-perception of being emerging adults. Participants were 526 college-graduate emerging adults of age 22-30, with 4 different statuses: full-time graduate students (n = 145), graduate students who also work full-time or part-time (n = 102), working full-time (n = 224), and unemployed (n = 55). Participants completed measures namely Inventory of Dimensions of Emerging Adulthood, socioeconomic status of a family (SES), and Perception of Parental Expectations Inventory. The results indicated that full-time graduate students (M = 2.97) scored significantly higher than people who worked full-time job (M = 2.83) on emerging adults’ perception of experimentation/possibilities/self-focused (p = .034). SES was positively and significantly correlated with experimentation/possibilities/self-focused (β = 0.232, p < .05) and negatively correlated with negativity/Instability (β = -0.256, p < .05). We found that parental ambitions (β = -.225, p < .05) and academic expectations (β = .239, p < .05) were associated with experimentation/ possibilities/self-focused. Parental career expectation was associated with identity exploration/feeling in-between (β = .169, p < .05). Finally, parental ambitions (β = .131, p < .05), academic expectations (β = -.220, p < .05) and career expectations (β = .239, p < .05) were associated with negativity/instability. The results shown that such variables, including socioeconomic status and variety of parental expectations, are associated with how person perceived oneself as being an emerging adult. This period of life is said to help people explore themselves as well as improve skills needed in order to be an adult. However, being an emerging adult for too long will led to a negative outcome such as failure to identify oneself and irresponsible for one’s life.
Description: โครงงานทางจิตวิทยานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2559 A senior project submitted in partial fulfillment of the requirements for the Degree of Bachelor of Science in Psychology, Faculty of Psychology, Chulalongkorn University, Academic year 2016
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57885
Type: Senior Project
Appears in Collections:Psy - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
phornthida_ar.pdf993.33 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.