Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59008
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อภิวัฒน์ รัตนวราหะ | - |
dc.contributor.author | อนุตรา ไชยนันทน์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2018-06-03T05:01:16Z | - |
dc.date.available | 2018-06-03T05:01:16Z | - |
dc.date.issued | 2551 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59008 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้ได้ศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแยกและจัดตั้งจังหวัดใหม่ ใน 4 จังหวัดที่มีการจัดตั้งล่าสุด ได้แก่ จังหวัดมุกดาหาร สระแก้ว หนองบัวลำภูและอำนาจเจริญ การศึกษานี้ได้แบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 3 ระดับ (1) การวิเคราะห์ระดับนโยบาย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา จากเอกสารที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์ (2) การวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น (3) การวิเคราะห์ผลการเปลี่ยนแปลงในด้านอื่นๆ จากการแยกและจัดตั้งจังหวัด เปรียบเทียบในระดับ ประเทศ ภูมิภาค จังหวัดเดิม และจังหวัดใหม่ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ผลการวิเคราะห์พบว่า ในระดับนโยบาย กระบวนการและเกณฑ์การจัดตั้งจังหวัดใหม่ไม่ให้ความสำคัญกับประเด็นด้านการพัฒนาเศรษฐกิจแต่อย่างใด โดยการตั้งจังหวัดใหม่จะให้ความสำคัญกับประเด็นด้านความมั่นคง ด้านการเมืองและด้านการปกครอง รวมทั้งความไม่เหมาะสมของเกณฑ์การแยกและจัดตั้งจังหวัดที่ใช้ในปัจจุบันนอกจากนี้ การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงจากการแยกและจัดตั้งจังหวัด ด้านประชากรพบว่าจำนวนประชากรไม่ได้มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นมากจนเป็นสาเหตุให้มีการจัดตั้งจังหวัด การเปลี่ยนแปลงด้านการเงินการคลัง สรุปได้ว่า งบประมาณการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐในจังหวัดใหม่ไม่มีการลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่เพื่อการพัฒนาด้านเศรษฐกิจโดยเฉพาะ ผลการพัฒนาด้านเศรษฐกิจสามารถแบ่งผลออกได้เป็น 3 กรณี กรณีที่ (1) จังหวัดใหม่และจังหวัดเดิมมีการพัฒนาไม่แตกต่างกัน ได้แก่ จังหวัดมุกดาหาร กรณีที่ (2) จังหวัดใหม่มีระดับการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจคงที่ ส่วนจังหวัดเดิมมีการเติบโตที่สูงกว่าจังหวัดใหม่มาก ได้แก่ จังหวัดสระแก้ว และกรณีที่ (3) จังหวัดใหม่มีระดับการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจคงที่ ส่วนจังหวัดเดิมมีการเติบโตสูงกว่าจังหวัดใหม่เล็กน้อย ได้แก่ จังหวัดหนองบัวลำภู และอำนาจเจริญ การศึกษาสามารถสรุปได้ว่า การแยกและจัดตั้งจังหวัดที่เกิดขึ้นในกรณีที่ผ่านมาเป็นเพียงเหตุผลทางด้านการเมืองการปกครองเท่านั้น จากนโยบายและเหตุผลการแยกและจัดตั้งจังหวัดไม่มีการให้ความสำคัญทางด้านการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ ไม่มีการพิจารณาศักยภาพและการวางแผนเพื่อรองรับการจัดตั้งจังหวัดในอนาคต | en_US |
dc.description.abstractalternative | This paper examines the economic effects of provincial division of four provinces in Thailand: Mukdahan Sakaeo Nongbualumphu and Amnatcharoen. It focuses on three main issues, namely, (1) The division policy. (2) Economic effects of provincial division and (3) the effects from provincial division, population, government investment in infrastructure. The study shows that there is no evidence at policy level that economic development is included as a criterion for provincial division. In terms of government investment, there is very limited major infrastructure investment in the four new provinces since their establishment. In terms of economic development, the four provinces have not experienced much growth in overall economic size or income level, compared to the regional and national figures.The study concludes that the provincial division of the four provinces has not led to economic growth and development. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.2020 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การวางแผนพัฒนาระดับจังหวัด | en_US |
dc.subject | การวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจ | en_US |
dc.subject | ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ | en_US |
dc.subject | Provincial planning | en_US |
dc.subject | Economic impact analysis | en_US |
dc.subject | Economic geography | en_US |
dc.title | ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแยกจังหวัด | en_US |
dc.title.alternative | Economic effects of provincial division | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | การวางแผนภาค | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.author | rapiwat@gmail.com | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2008.2020 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
anuttra_ch_front.pdf | 1.61 MB | Adobe PDF | View/Open | |
anuttra_ch_ch1.pdf | 778.43 kB | Adobe PDF | View/Open | |
anuttra_ch_ch2.pdf | 1.2 MB | Adobe PDF | View/Open | |
anuttra_ch_ch3.pdf | 3.91 MB | Adobe PDF | View/Open | |
anuttra_ch_ch4.pdf | 3.43 MB | Adobe PDF | View/Open | |
anuttra_ch_ch5.pdf | 4.89 MB | Adobe PDF | View/Open | |
anuttra_ch_back.pdf | 559.79 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.