Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60030
Title: ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้แนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐานผ่านกระบวนการกลุ่มเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5
Other Titles: EFFECTS OF LEARNING ACTIVITIES USING PROBLEM-BASED LEARNING APPROACH WITH GROUP PROCESS TO ENHANCE PROBLEM SOLVING ABILITIES OF FIFTH GRADE STUDENTS
Authors: นราลักษณ์ ผ่องปัญญา
Advisors: ยศวีร์ สายฟ้า
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Yotsawee.Sa@chula.ac.th,yotsawee.s@gmail.com
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยแนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐานและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้แนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐานผ่านกระบวนการกลุ่มที่มีผลต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้แนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐานและนักเรียนได้ที่รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้แนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐานผ่านกระบวนการกลุ่ม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 70 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลอง กลุ่มละ 35 คน กลุ่มทดลองที่ 1 เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้แนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มทดลองที่ 2 เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้แนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐานผ่านกระบวนการกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้แนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐาน แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้แนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐานผ่านกระบวนการกลุ่ม และแบบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยแนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐานและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้แนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐานผ่านกระบวนการกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาหลังการทดลองของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้แนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐานและนักเรียนได้ที่รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้แนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐานผ่านกระบวนการกลุ่มสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of the research were to 1) examine the development of the problem solving ability of students after provided with problem-based learning approach and provided with problem-based learning approach with group process who were taught by the normal instruction. 2) to compare the development of the problem solving abilities of students provided with problem-based learning approach with group process before and after the experiment. This research is a experimental research methodology were employed in this study. The subjects were fifth grade students of A school in Nakhon Sawan province. There were 35 students in the experimental group 1 and other 35 students in the experimental group 2. There were two kind of instructional plans conducted between two groups 1) problem-based learning approach instruction plans 2) problem-based learning approach with group process instruction plans and instruments for data collection for this research were problem solving abilities writing skill tests. The collected data were analyzed by using arithmetic mean, standard deviation and t-tests. The results of the study revealed that: 1) The problem solving abilities of students in the experimental group that used problem-based learning approach with group process were higher than those before at .05 level of significance, 2) The mean score of the experimental group in post-test on their problem-solving ability was higher than the control group’s at .05 level of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60030
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1025
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1025
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5783836027.pdf3.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.