Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60669
Title: การจัดการงานรักษาความสะอาดศูนย์การค้า: ผลการศึกษา 5 กรณีศึกษาในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Managing facility cleaning operation in shopping center : a study of five cases in Bangkok
Authors: ณิชา วิริยานนท์
Advisors: เสริชย์ โชติพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Sarich.C@Chula.ac.th
Subjects: ศูนย์การค้า -- ไทย -- กรุงเทพฯ
ศูนย์การค้า -- การทำความสะอาด
Shopping centers -- Thailand -- Bangkok
Shopping centers -- Cleaning
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานรักษาความสะอาดเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดสภาพแวดล้อม ภาพลักษณ์ที่ดี และความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจศูนย์การค้า  การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจรูปแบบการจัดการงานรักษาความสะอาดศูนย์การค้าทั้งสำหรับเจ้าของโครงการ ผู้ให้บริการงานรักษาความสะอาด ตลอดจนผู้ออกแบบอาคารประเภทศูนย์การค้า การศึกษาใช้แนวทางการศึกษาเชิงประจักษ์จากกรณีศึกษาศูนย์การค้าในกรุงเทพมหานคร จำนวน 5 ศูนย์การค้า ได้แก่ 1.ศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์  2.ศูนย์การค้าพาราไดซ์ พาร์ค  3.ศูนย์การค้าเกตเวย์ เอกมัย  4.ศูนย์การค้าเดอะ แพลทินัม แฟชั่นมอลล์ และ 5.ศูนย์การค้าฟอร์จูน ทาวน์   การเก็บรวบรวมข้อมูลทำโดยการสืบค้นจากเอกสารการจัดการและปฏิบัติงานรักษาความสะอาด และสัมภาษณ์ระดับผู้จัดการงานรักษาความสะอาดของแต่ละกรณีศึกษาเพิ่มเติม จากการศึกษาพบว่างานรักษาความสะอาดศูนย์การค้าแบ่งพื้นที่ปฏิบัติงานเป็น 5 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่โถงทางเดิน พื้นที่ห้องน้ำ พื้นที่สนับสนุน พื้นที่ลานจอดรถ และพื้นที่รอบอาคาร โดยพบว่าจำนวนจุดทำความสะอาดในพื้นที่ส่วนกลางมีจำนวนมากที่สุด แผนปฏิบัติงานทำความสะอาดโดยส่วนใหญ่เป็นงานประจำวันและงานประจำสัปดาห์  การจัดชุดปฏิบัติงานพบว่าทุกกรณีศึกษามีหน่วยงานของศูนย์การค้าเป็นผู้ควบคุมการทำงานของบริษัทบริการงานรักษาความสะอาดซึ่งจัดชุดปฏิบัติงานย่อยต่างกัน พบว่าตำแหน่งงานของพนักงานทำความสะอาดมี 2 ตำแหน่งงานที่พบในทุกกรณีศึกษา ได้แก่ หัวหน้างาน และพนักงานทำความสะอาด ซึ่งพนักงานทำความสะอาดมีภาระงานที่แตกต่างกันทั้งหมด 14 รูปแบบภาระงาน แยกกันปฏิบัติงานตามพื้นที่ โดยภาระงานของพนักงานทำความสะอาดที่พบในทุกกรณีศึกษา ได้แก่ พนักงานโถงทางเดิน พนักงานห้องน้ำ พนักงานพื้นที่สนับสนุน พนักงานลานจอดรถ และพนักงานรอบอาคาร พบว่าในทุกกรณีศึกษาจัดให้มีพนักงานทำความสะอาดทั้งในและนอกช่วงเวลาที่ศูนย์การค้าเปิดให้บริการและการประเมินผลการปฏิบัติงานทำความสะอาดทุก 1 เดือน โดยเกณฑ์การประเมินอยู่ที่ร้อยละ 80-90 นอกจากนี้ยังพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการจัดชุดปฏิบัติงาน ได้แก่ เวลาและพื้นที่ปฏิบัติงาน  การจัดสรรพื้นที่ปฏิบัติงานต่อคนพบว่าสามารถกำหนดได้จากโซนพื้นที่ จำนวนตำแหน่งจุดปฏิบัติงาน และหน้าที่เฉพาะ  ส่วนการจัดกำลังคนเข้ามาปฏิบัติงานพบว่ามี 2 รูปแบบ ได้แก่ จัดจำนวนพนักงานแปรผันตามจำนวนผู้เข้ามาใช้งาน และจัดจำนวนพนักงานแปรผกผันกับจำนวนผู้เข้ามาใช้งาน จากการศึกษาสรุปได้ว่าการจัดการงานรักษาความสะอาดศูนย์การค้าจำเป็นต้องมีการวางแผนปฏิบัติงาน ซึ่งประกอบด้วยชุดปฏิบัติงาน ตำแหน่งงาน ภาระงาน และช่วงเวลาปฏิบัติงานที่เหมาะสม โดยจัดให้มีการดำเนินงานทั้งช่วงเวลาที่ศูนย์การค้าเปิดและปิดให้บริการเพื่อให้สภาพของอาคารมีความสะอาดตามระดับที่ต้องการ  โดยจำต้องมีการประเมินผลเป็นประจำเพื่อให้ศูนย์การค้ามีความสะอาดครบทุกพื้นที่และจุดทำความสะอาด
Other Abstract: In a shopping center, cleaning services can be considered as a competitive tool which help enhancing atmosphere, environment, and image of the place. This research aims to study cleaning operations in the shopping center in order to gain better understanding of cleaning service management. Five shopping center in Bangkok; including MBK Center, Paradise Park, Gateway Ekamai, The Platinum Fashion Mall, and Fortune Town have been observed. The study found that cleaning operations area divided into 5 areas; corridor, toilet, support area, parking, and surrounding. In each area, there are different cleaning elements, operation plan, and cleaning personnel’s load. The study found that each case studies have an own cleaning unit that control cleaning services company that provide operation teams. There are some different arrangement for operation teams, by separate or combine the area: inside/outside of the building. Head and maid are found in all case studies. Cleaning personnel’s load type can allocate by zoning, number of cleaning point, and specific function. There are five load types of maid that found in all case studies; corridor maid, toilet maid, support area maid, parking maid, and surrounding maid. The operation time are covered both open and close. And found that there are two pattern of allocation number of staff by time; increase maids follow the number of user, or increase maids inversely with the number of user. The study concluded that the physical factors like sizing, length, area type, and type of retail affect the allocation of cleaning operation plan, operation team and cleaning work load per person. However, the cleaning tasks should be planned whether the shopping center will be opened or not in order to maintain effective work flow and achieve good cleaning quality level.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60669
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1485
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1485
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5673564625.pdf11.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.