Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60
Title: ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อกำหนดพื้นที่เสี่ยงต่อภาวะมลพิษทางอากาศ ในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Geographic information system for determining air pollution risk areas in the Bangkok Metropolis
Authors: วีรญา แพ่งแสง, 2522-
Advisors: ดุษฎี ชาญลิขิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: prcrtsd@yahoo.com
Subjects: ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์--ไทย--กรุงเทพฯ
การวิเคราะห์อนุกรมเวลา
การวิเคราะห์การถดถอย
มลพิษทางอากาศ--ไทย--กรุงเทพฯ
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัญหามลภาวะทางอากาศ จัดเป็นปัญหาหลักที่สำคัญในกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเมืองหลวงและเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ ประชากรอาศัยอยู่จำนวนมาก สาเหตุหลักของปัญหามาจากการเพิ่มขึ้นของยานพาหนะต่างๆ จนทำให้เกิดสภาพการจราจรที่แน่นขนัด และนับวันปัญหานี้จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ภาวะมลพิษทางอากาศเพิ่มขึ้นด้วย งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อกำหนดพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะมลพิษทางอากาศ ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยการนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และการวิเคราะห์อนุกรมเวลา และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณ มาบูรณาการกัน ผู้วิจัยได้ศึกษาก๊าซมลพิษทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ คาร์บอนมอนอกไซด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงของเครื่องยนต์เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศในเขตกรุงเทพมหานครมีทั้งหมด 13 แห่ง ซึ่งมีจำนวนไม่เพียงพอ และทำให้ไม่สามารถวิเคราะห์ช่วงความเข้มของปริมาณก๊าซมลพิษ ในเขตที่ไม่มีสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศที่ถูกต้องได้ ดังนั้นเทคนิคการประมาณค่าเชิงพื้นที่ (Spatial interpolation) สามารถคาดการณ์ความเข้มของปริมาณก๊าซมลพิษในแต่ละพื้นที่ ที่ไม่มีการตรวจวัดคุณภาพอากาศได้ จากการประมาณค่าเชิงพื้นที่จะได้ผลลัพธ์แบ่งเป็นช่วงความเข้ม ของก๊าซมลพิษเท่าแต่ละชนิด และผลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้คือ พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะมลพิษก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์คือ ครอบคลุมพื้นที่บริเวณเขตจตุจักร บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ราชเทวี ลาดพร้าว สาทร และพื้นที่ที่เสี่ยงต่อภาวะมลพิษก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ครอบคลุมพื้นที่บริเวณเขตบางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ราชเทวี ลาดพร้าว วัฒนา สาทร ซึ่งพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะมลพิษทางอากาศของก๊าซมลพิษทั้ง 2 ชนิดนี้ ครอบคลุมพื้นที่ในย่านใกล้เคียงกัน เป็นแหล่งชุมชนที่หนาแน่น และเป็นแหล่งศูนย์กลางทางธุรกิจ สภาพการจราจรที่แออัด ผลจากการศึกษาพบว่า บริเวณดังกล่าวมีช่วงความเข้มของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ และไนโตรเจนไดออกไซด์ในระดับที่สูง ซึ้งคิดเป็น 28.53% และ 23.21% ของพื้นที่ศึกษา ตามลำดับ สำหรับพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะมลพิษก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ได้แก่เขต บางกะปิและสวนหลวง คิดเป็น 29.06% ของพื้นที่ศึกษา
Other Abstract: Air pollution is considered as prime problem in the Bangkok metropolis which has been regarded as the capital and the great economic center of Thailand. The major cause of the problem is a congested traffic condition. As times goes on, the problem seems to be more acute, and be the cause of providing more polluted air. The objective of the research is to determine air pollution risk areas in the Bangkok metropolis by means of integrating geographic information system (GIS), analysis of times series, and multiple regression approaches. The author has studied 3 types of gases which includes carbon monoxide (CO), nitrogen dioxide (NO2), and sulfur dioxide (SO2) and three of which have been mainly generated from the combustion of engine fuel, As only 13 air quality monitoring stations are available in the Bangkok metropolis ; they are not enough in number and not sufficient to analyze different range of the polluted gases in the remaining areas of the capital. Consequently, the range of polluted gases in the remaining areas can be analyzed using a spatial interpolation technique. The results from the technique yields various ranges of gases for each polluted gas and air pollution risk areas. The two major intense polluted gas areas are a carbon monoxide risk area and a nitrogen dioxide risk area and two of which have been covered neighbouring khets such as carbon monoxide risk areas are khet Chatuchak, Khet Bang Rak, khet Bueng Kum, khet Pathum Wan, khet Ratchatewi, khet Lat Phrao, khet Sathon and nitrogen dioxide risk areas are Khet Bang Rak, khet Bueng Kum, khet Pathum Wan, khet Ratchatewi, khet Lat Phro, khet Wattana, khet Sathon. These khet are deemed to be highly intense communities and central business districts that cause heavy traffic condition. The study reveals that the khets are composed of high intense polluted carbon monoxide and nitrogen dioxide with 28.53% and 23.21% of the study area respectively. The two risk areas for high intense polluted sulfur dioxide are khet Bang Kapi and Khet Suan Luang which have been covered 29.06% of the study area
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภูมิศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.874
ISBN: 9741769806
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.874
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Veeraya.pdf3.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.