Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63024
Title: ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับผู้ทรงสิทธิบัตรร่วม
Other Titles: Legal problems concerning the Patent Co-ownership
Authors: ชยุตม์ ศรีทิพโพธิ์
Advisors: อรพรรณ พนัสพัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Orabhund.P@Chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การสร้างสรรค์การประดิษฐ์ในปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงไป จากอดีตที่บุคคล หรือ หน่วยงานจะเป็นผู้คิดค้นทำการประดิษฐ์ด้วยตนเองผู้เดียว เพื่อประหยัดเวลาและต้นทุนการผลิตปัจจุบันความร่วมมือกันในการวิจัยและพัฒนาการประดิษฐ์ระหว่างองค์กรต่างๆ มีความสำคัญมากยิ่งขึ้น ทำให้ในการประดิษฐ์รวมถึงการขอรับความคุ้มครองตามสิทธิบัตรมีบุคคลหลายฝ่ายเข้ามาเกี่ยวข้อง ก่อให้เกิดความเป็นผู้ทรงสิทธิบัตรร่วมกัน ผู้เขียนศึกษาแล้วพบว่าพระราชบัญญัติสิทธิบัตรของไทยมีบทบัญญัติไม่ครอบคลุมหลายกรณีของการถือสิทธิบัตรร่วมกันก่อให้เกิดปัญหาบางประการ อีกทั้งการปรับใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กับสิทธิบัตรนั้นไม่มีความชัดเจนเหมาะสม ผู้เขียนจึงได้ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายเกี่ยวกับผู้ทรงสิทธิบัตรร่วมของประเทศญี่ปุ่น ประเทศเยอรมนี สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีตลอดจนมีกรณีศึกษาเป็นจำนวนมากที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายที่จะนำไปใช้เป็นแนวทางสำหรับประเทศไทยในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายต่อไป วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้เสนอแนะให้ประเทศไทยแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในพระราชบัญญัติสิทธิบัตรในเรื่องความมีส่วนร่วมของผู้ประดิษฐ์ การประดิษฐ์ที่เกิดจากการจ้าง การให้ความยินยอมของผู้ทรงสิทธิบัตรในการทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิและสัญญาโอนสิทธิ การแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างผู้ทรงสิทธิบัตรร่วม สิทธิในสิทธิบัตรร่วมตกเป็นมรดกไม่มีผู้รับ รวมถึงการดำเนินการทางกฎหมายระหว่างผู้ทรงสิทธิบัตรร่วม เพื่อให้สิทธิหน้าที่ของผู้ทรงสิทธิบัตรร่วมมีความชัดเจนเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
Other Abstract: The method for creating inventions has been changed. In the past, a person or organization developed inventions alone. At present,  in order to save time and production costs, collaboration among people and organizations is becoming more important. Such collaboration leads to the co-ownership of a patent.The author  found that the Thai Patent Act does not cover certain issues of joint ownership. Further, the implementation of the Civil and Commercial Code to patents is improper and unclear. The author also carried out a comparative study of patent laws in Japan, Germany, the United Kingdom and the United States as these countries contain industrial and technological progress with a large number of case studies. The comparative study will be used as a guideline to improve patent law in Thailand. In order to better protect the joint owners of patents, this thesis suggests that Thailand should amend the provisions of the Thai Patent Act on the following issues: the collaboration of inventors, employee invention, licensing and assignment of co-ownership, as well as the sharing of benefits by co-owners, the adoption of inheritance law with co-owners, and enforcement  by co-owners.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63024
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.856
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.856
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5985963634.pdf2.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.