Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64091
Title: Detecing high-potential gold mineralization areas using aster satellite images at Chatree gold mining area, Phichit and Phethchabun provinces
Other Titles: การสำรวจพื้นศักยภาพแหล่งแร่ทองคำโดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียม ASTER บริเวณเหมืองทองคำชาตรี จังหวัดพิจิตรและเพชรบูรณ์
Authors: Sigawas Sriprapaporn
Advisors: Abhisit Salam
Sumet Phantuwongraj
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Science
Advisor's Email: Abhisit.A@chula.ac.th
Sumet.P@chula.ac.th
Subjects: Geological surveys
Mines and mineral resources
การสำรวจทางธรณีวิทยา
แหล่งแร่
Issue Date: 2017
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Satellite imagery has been used for resource exploration and management on earth’s surface such as wood density, land management and geological exploration. One of well-known satellite data, Advanced Spaceborne Thermal Emission and Reflection Radiometer (ASTER) satellite images, are used to observe gold deposits by collecting reflectance data of surface materials in the spectral ranges: visible, near-infrared, shortwave-infrared and thermal-infrared. The objective of this study is to use ASTER satellite images obtained before the official operation of Chatree gold mine to detect OH-bearing altered surface minerals considered high-potential gold mineralization areas. The image transformations: band ratio indices and principal component analysis were used on ASTER satellite images covering Chatree gold deposit. Subsequently, the ASTER data was compared to petrographic study and x-ray diffraction analysis of rock samples from representative locations. The results show ASTER satellite images can be used to detect high-potential gold mineralization when analyzed for OH-bearing altered minerals: illite, sericite, chlorite, and kaolinite and montmorillonite. According to the results, this research can be a case study for detecting high-potential gold mineralization areas for the low-sulfidation epithermal deposit in tropical regions.
Other Abstract: ภาพถ่ายดาวเทียมสามารถนำมาใช้ในการสำรวจและจัดการทรัพยากรต่าง ๆ บนผิวโลก ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ป่าไม้ การวางแผนการใช้ที่ดินและการสำรวจทางธรณีวิทยา หนึ่งในภาพถ่ายดาวเทียมที่ถูกใช้อย่างแพร่หลาย คือ ภาพถ่ายดาวเทียม ASTER (Advanced Spaceborne Thermal Emission and Reflection Radiometer) ซึ่งใช้ในการสำรวจแหล่งแร่ทองคำ โดยอาศัยค่าการสะท้อนแสงที่บันทึกได้ของ วัตถุบนผิวดินในช่วงความยาวคลื่นแสงตามองเห็น อินฟราเรดใกล้ อินฟราเรดคลื่นสั้นและอินฟราเรดความร้อน งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำภาพถ่ายดาวเทียม ASTER ที่บันทึกข้อมูลภาพก่อนการเปิดกิจการของเหมืองทองคำชาตรีมาใช้ในการสำรวจพื้นที่ศักยภาพแหล่งแร่ทองคำ ทำการศึกษาการตรวจพบแร่แปรเปลี่ยนที่มีหมู่ไฮดรอกซิลในโครงสร้างบนผิวดินที่เกิดร่วมในแหล่งแร่ที่มีการสะสมตัวของทองคำแบบอีพิเทอร์มอลอุณหภูมิต่ำในบริเวณแหล่งแร่ทองคำชาตรี จังหวัดพิจิตรและเพชรบูรณ์ด้วยวิธี band ratio และ principal component analysis จากนั้นทำการแปลความหมายจากภาพถ่ายดาวเทียม ASTER และทำการเก็บตัวอย่างหินบริเวณผิวดิน นำมาวิเคราะห์ด้วยการศึกษาศิลาวรรณนำและศึกษาธรณีเคมีด้วยวิธี x-ray diffraction (XRD) ผลการศึกษาพบว่าภาพถ่ายดาวเทียม ASTER สามารถตรวจพบพื้นที่ศักยภาพแหล่งแร่ทองคำในบริเวณแหล่งแร่ทองคำชาตรีได้s ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาด้วยศิลาวรรณาและธรณีเคมี ที่พบแร่แปรเปลี่ยนที่มีหมู่ไฮดรอกซิลในโครงสร้าง ได้แก่ อิลไลต์ เซอริไซต์ คลอไรต์ เคโอลิไนต์และมอนต์โมริลโลไนต์ จากการศึกษาในครั้งนี้สามารถเป็นต้นแบบในการค้นหาพื้นที่ศักยภาพแหล่งแร่ทองคำแบบอีพิเทอร์มอลอุณหภูมิต่ำในพื้นที่เขตร้อนชื้นอื่น ๆ ต่อไป
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2560
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64091
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Senior_project_Sigawas Sriprapaporn.pdf4.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.