Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64724
Title: การสื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นไทยผ่านการเป็นเจ้าภาพการประกวดมิสยูนิเวิร์ส 2018 ประเทศไทย
Other Titles: Communicating Thainess identity through hostingthe miss universe pageant 2018 in Thailand
Authors: ปริศญา คูหามุข
Advisors: ธาตรี ใต้ฟ้าพูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Tatri.T@Chula.ac.th
Subjects: อัตลักษณ์
การสื่อสาร
Identity (Philosophical concept)
Communication
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1)​ เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ความเป็นไทยที่ถูกถ่ายทอดผ่านการเป็นเจ้าภาพจัดประกวดมิสยูนิเวิร์ส 2018 ในประเทศไทย (2)​ เพื่อศึกษาการรับรู้ของผู้ชมชาวไทยและผู้ชมชาวต่างชาติที่มีต่อการสื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)​ จากเทปบันทึกการถ่ายทอดสด การประกวดมิสยูนิเวิร์ส​ 2018 รอบชิงชนะเลิศ​ และใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In Depth interview)​ กับผู้จัดการประกวด และผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอัตลักษณ์ไทย​ร่วมกับ​การวิเคราะห์เอกสาร (Documentary analysis)​ จากแหล่งข้อมูลที่เป็น​สื่อสังคมออนไลน์​ ได้แก่ เว็บไซต์ ยูทูบ และเฟซบุ๊ก​ ผลการวิจัย 1. การเป็นเจ้าภาพจัดประกวดมิสยูนิเวิร์ส 2018 ประเทศไทยนำเสนออัตลักษณ์ทางด้านวัฒนธรรมมากกว่าอัตลักษณ์ทางด้านธรรมชาติ ผ่านวิธีการสื่อสาร 5 รูปแบบ คือ วีดิทัศน์ การแสดง กราฟิกแบ็กกราวนด์ วัตถุที่จับต้องได้ และบุคคล โดยการสื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นไทยแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ 1. ลักษณะอัตลักษณ์ความเป็นไทยแบบดั้งเดิม เช่น สถานที่ทางธรรมชาติ ภาษาไทย 2. ลักษณะที่ไม่ใช่อัตลักษณ์ความเป็นไทยแบบดั้งเดิม เช่น การไหว้ ดนตรีไทย นาฏศิลป์ไทย มวยไทย ประเพณีลอยโคม ช่อดอกไม้ จิตรกรรมลายกระหนกไทย สถาปัตยกรรมไทย เครื่องประดับไหล่ช่อฟ้า ทั้งนี้ความเป็นไทยที่ถูกคัดเลือกให้นำเสนอบนเวทีระดับโลกล้วนเป็นวัฒนธรรมหลวงหรือประเพณีหลวง (Great tradition) ซึ่งเป็นวัฒนธรรมระดับชาติหรือเป็นที่รู้จักกันดีและแสดงความเป็นตัวตนของชาตินั้น ๆ 2. ผู้ชมชาวไทยและผู้ชมชาวต่างชาติมีการรับรู้และทัศนคติแตกต่างกัน โดยผู้ชมชาวไทยสามารถรับรู้และเข้าใจอัตลักษณ์ความเป็นไทยได้มากกว่าผู้ชมชาวต่างชาติ ในภาพรวมผู้ชมทั่วโลกมีทัศนคติที่ดีต่อการเป็นเจ้าภาพจัดประกวดมิสยูนิเวิร์ส 2018 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ในขณะเดียวกันผู้ชมชาวไทยมีทัศนคติต่อการสื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นไทยแตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่ชื่นชมการนำเสนออัตลักษณ์ความเป็นไทยบนเวทีระดับโลก แต่ผู้ชมชาวไทยบางกลุ่มไม่เห็นด้วยกับการสื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นไทยที่ไม่ใช่ดั้งเดิมและลดทอนความเป็นไทย เช่น เครื่องประดับไหล่ “ช่อฟ้า” ในรอบชุดว่ายน้ำ และ กราฟิกแบ็กกราวนด์ลายกระหนกไทยที่ลดทอดลายละเอียดที่สื่อถึงเอกลักษณ์ไทยลงไป
Other Abstract: This qualitative research intended to, first, study identities of Thainess channeled through Thailand as the host country to Miss Universe Pageant 2018. Second, to study Thai audience’s and foreign audience’s perception toward Thai identities. Researcher utilized content analysis to study the contest’s final round footage, an in-depth interview with the contest’s organizer as well as Thai Identities experts, and document analysis to process documents from YouTube and Social Media. Findings: 1. By hosting Miss Universe Pageant 2018, Thailand preferred to present its identities of Culture over Natural Resources by using 5 different means of communication; Videos, Performances, Background Graphics, Tangible Objects, and Personalities. The communication of Thai identities was done in 2 manners, first, Traditional Thai Identities was presented through tourist attractions of Thai natural resources. Second, non-traditional Thai identities was presented through paying respect, Thai classical music, Thai dances, Muay Thai, the floating lamps tradition, garlands, Kranok patterns, Thai conventional architectures, Thai shoulder pieces. These representations of Thainess, however, belonged to the Thai royal tradition or the Great Tradition which was domestically celebrated. 2. Thai spectators and foreign spectators exhibited different perceptions and attitudes. Thai audience perceived and conceived Thai identities better than foreign audience. The global audience, overall, demonstrated a positive attitude toward Thailand as the host country of Miss Universe Pageant 2018. Thai audience, on the other hand, had diverse opinions on the presentation of Thai identities. The majority of Thai audience admired the way the presentation was done, the other group, however, took opposition. Those who opposed perceived the presentation of Thai identities as a depreciation of Thainess for instance; the use of Thai shoulder pieces with bikinis and the detail reduction of Kranok patterns used as graphics for the stage background.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64724
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.886
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.886
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6084667128.pdf10.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.