Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65893
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพวงเพ็ญ ชุณหปราณ-
dc.contributor.authorอัมพร พรพงษ์สุริยา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-05-20T04:04:56Z-
dc.date.available2020-05-20T04:04:56Z-
dc.date.issued2544-
dc.identifier.isbn9740316891-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65893-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพี่อศึกษาพฤติกรรมการเป็นสมาชิกขององค์การ ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศูนย์ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในงาน ความยุติธรรมในองค์การ กับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกขององค์การ ตลอดจนศึกษาตัวแปรที่สามารถร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมการเป็นสมาชิกขององค์การ ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศูนย์ กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการ ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ จำนวน 380 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามความพึงพอใจในงาน แบบสอบถามความยุติธรรมในองค์การ และแบบสอบถามพฤติกรรมการเป็นสมาชิกขององค์การ ได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และวิเคราะห์ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา มีค่าเท่ากับ .84 .90 และ .92 ตามลำดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความเบ้ ความโด่ง สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการเป็นสมาชิกขององค์การ ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพเท่ากับ 4.07 ซึ่งอยู่ในระดับสูง 2. ความพึงพอใจในงานรายด้าน มิความสัมพันธ์ทางบวกในระดับตํ่า กับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกขององค์การ ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ ส่วนความพึงพอใจในงานโดยรวม มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง กับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกขององค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ความยุติธรรมในองค์การรายด้านและโดยรวม มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับตํ่ากันพฤติกรรมการเป็นสมาชิกขององค์การ ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ตัวแปรที่สามารถพยากรณ์พฤติกรรมการเป็นสมาชิกขององค์การ ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ความพึงพอใจในงานด้านลักษณะงาน และความยุติธรรมในองค์การด้านการมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน สามารถร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 13.5 (R2 = .135) สมการพยากรณ์พฤติกรรมการเป็นสมาชิกขององค์การ ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ Z พฤติกรรมการเป็นสมาชิกขององค์การ = .231 *Zความพึ่งพอใจในงานด้านลักษณะงาน +.175*Z ความยุติธรรมในองค์การด้านการมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study organizational citizenship behavior of professional nurses, Regional Hospital and Medical Centers, to investigate the relationships between job satisfaction 1 organizational justice and organizational citizenship behavior as perceived by professional nurses, and to search for the variables that could be able to predict organizational citizenship behavior. Subjects consisted of 380 staff nurses, selected by stratified random sampling. Research instruments were job satisfaction, organizational justice and organizational citizenship behavior questionnaires. The instruments’ Cronbach’s alpha coefficients were .84 .90 and .92 respectively. Statistical methods used to analyze data included mean, standard deviation, skewness, kurtosis, Pearson’s product moment correlation coefficient, and multiple regression. Major findings were as follows: 1. The mean score of organizational citizenship behavior as perceived by professional nurses was 4.07, which was at high level. 2. Job satisfaction in each aspect was significantly positively related at low level with organizational citizenship behavior, at the .01 level, but as overall it was positively related at the moderate level. 3. Organizational justice in each aspect and overall were significantly positively related at the low level with organizational citizenship behavior, at the .01 level. 4. Variables that could predicted organizational citizenship behavior as perceived by professional nurses were job satisfaction with work itself and organizational justice with interactional justice. The predictors accounted for 13.5 percents of the variance. (R2 = .135) The function derived from the analysis was as follow : Zorganizational citizenship behavior = .231*work itself +.175*Zinteractional justice-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectพยาบาลen_US
dc.subjectความผูกพันต่อองค์การen_US
dc.subjectความพอใจในการทำงานen_US
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในงาน ความยุติธรรมในองค์การ กับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกขององค์การ ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศูนย์en_US
dc.title.alternativeRelationships between job satisfaction, organizational justice, and organizational citizenship behavior as perceived by professional nurses, regional hospital and medical centersen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการบริหารการพยาบาลen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPaungphen.C@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Amporn_po_front_p.pdf803.23 kBAdobe PDFView/Open
Amporn_po_ch1_p.pdf939.29 kBAdobe PDFView/Open
Amporn_po_ch2_p.pdf2.95 MBAdobe PDFView/Open
Amporn_po_ch3_p.pdf879.06 kBAdobe PDFView/Open
Amporn_po_ch4_p.pdf894.3 kBAdobe PDFView/Open
Amporn_po_ch5_p.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Amporn_po_back_p.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.