Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66935
Title: Biosurfactant production from palm oil using sequencing batch reactors
Authors: Onsiri Huayyai
Advisors: Sumaeth Chavadej
Abe, Masahiko
Ratana Rujiravanit
Other author: Chulalongkorn University. The Petroleum and Petrochemical College
Issue Date: 2008
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Pseudomonas aeruginosa SP4, which was isolated from a petroleum-contaminated soil in Thailand, was used to produce rhamnolipid-type biosurfactants in this study. This research was performed by using two identical units of continuous sequencing batch reactors (SBRs), which were operated on a fill-and-draw basis at a constant temperature of 37°C under aseptic conditions with 1,500 ml working volume, 500 ml feeding volume, and 500 ml decanting volume. Palm oil and a mineral medium were used the sole carbon source and nutrient source, respectively. The effect of cycle time on biosurfactant production performance was investigated at an oil loading rate of 2 kg/m³d. The results showed that 2 d/cycle was the optimum cycle time for biosurfactant production to provide the highest surface tension reduction of 59% and the lowest surface tension of 28.82 mN/m with a critical micelle concentration of 1.05 times CMC, corresponding to the highest COD and oil removal of 89.8% and 96.7%, respectively. Moreover, this cycle time also gave a stable and suitable pH for microbial growth, which was found to be around 6.04. The C/N ratio (16/0.57, 16/1 and 16/3) was found to significantly affect on biomass, pH and biosurfactant production. Nevertheless, the C/N ratio of 16/1 was an optimum ratio for the biosurfactant production by the strain SP4.
Other Abstract: งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพชนิดแรมโนลิปิดจากเชื้อแบคทีเรียสายพันธุ์ Pseudomonas aeruginosa SP4 ซึ่งทำการคัดแยกมาจากแหล่งปิโตรเลียมที่มีดินปนเปื้อนน้ำมันเป็นเวลานานในประเทศไทย โดยใช้เครื่องปฏิกรณ์แบบกะต่อเนื่อง จำนวน 2 ชุด ที่มีลักษณะเหมือนกัน ซึ่งเครื่องปฏิกรณ์นี้ถูกดำเนินการทดลองโดยใช้หลักการของการเติมและการดึงสารออกในสภาวะควบคุมอุณหภูมิที่ 37 องศาเซลเซียส และในสภาวะที่ปลอดเชื้อ หน่วยของเครื่องปฏิกรณ์แบบกะต่อเนื่องมีปริมาตรในการทำงานคือ 1,500 มิลลิลิตร ปริมาตรในการเติมสารคือ 500 มิลลิลิตร ปริมาตรในการดึงสารผลิตภัณฑ์คือ 500 มิลลิลิตร โดยมีน้ำมันปาล์มเป็นแหล่งของธาตุคาร์บอนและสารอาหารแร่ธาตุเป็นแหล่งอาหารให้กับแบคทีเรีย งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพ โดยศึกษาผลของระยะเวลาในการผลิตที่มีปริมาณการป้อนน้ำมัน 2 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร วัน คือ 1 วันต่อวัฏจักร 2 วันต่อวัฏจักร และ 3 วันต่อวัฏจักร จากการทดลองพบว่าระยะเวลาที่เหมาะสมในการผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพคือ 2 วันต่อวัฏจักร โดยมีค่าการลดลงของแรงตึงผิวมากที่สุดคือ 59 เปอร์เซ็นต์ และมีค่าแรงตึงผิวต่ำสุดคือ 28.82 มิลลินิวตันต่อเมตร สามารถผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพที่มีความเข้มข้น 1.05 เท่า ของซีเอ็มซี ซึ่งสอดคล้องกับการย่อยสลายซีโอดีสูงสุดคือ 89.8 เปอร์เซ็นต์ และการย่อยสลายน้ำมันสูงสุดคือ 96.7 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ระยะเวลา 2 วันต่อวัฏจักรยังส่งผลให้ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของระบบมีค่าเฉลี่ยเป็น 6.04 ซึ่งเป็นสภาวะที่เหมาะสมต่อการเจริญเติมโตของเชื้อแบคทีเรียด้วย เมื่อศึกษาผลของอัตราส่วนของธาตุคาร์บอนต่อธาตุไนโตรเจนพบว่ามีผลต่อจำนวนของชีวมวลในระบบ ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง และการผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพ อย่างไรก็ตามอัตราส่วนของธาตุคาร์บอนต่อธาตุไนโตรเจนที่เหมาะสมที่สุดต่อการผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพจากเชื้อแบคทีเรียชนิด Pseudomonas aeruginosa SP4 คือ 16/1
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2008
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Petrochemical Technology
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66935
Type: Thesis
Appears in Collections:Petro - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Onsiri_hu_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ947.58 kBAdobe PDFView/Open
Onsiri_hu_ch1_p.pdfบทที่ 1645.16 kBAdobe PDFView/Open
Onsiri_hu_ch2_p.pdfบทที่ 21.55 MBAdobe PDFView/Open
Onsiri_hu_ch3_p.pdfบทที่ 3999.1 kBAdobe PDFView/Open
Onsiri_hu_ch4_p.pdfบทที่ 41.5 MBAdobe PDFView/Open
Onsiri_hu_ch5_p.pdfบทที่ 5632.2 kBAdobe PDFView/Open
Onsiri_hu_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก1.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.