Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68130
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนรินทร์ วรวุฒิ-
dc.contributor.advisorนวพรรณ จารุรักษ์-
dc.contributor.authorธีรยุทธ นัมคณิสรณ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-09-24T03:51:44Z-
dc.date.available2020-09-24T03:51:44Z-
dc.date.issued2542-
dc.identifier.issn9743346678-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68130-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542-
dc.description.abstractวัดถุประสงค์ เพื่อศึกษาโปรตีน p53 จากน้ําเลือด ในการทํานายการตอบสนองต่อการรักษาของผู้ป่วยมะเร็งตับที่ได้รับการ รักษาด้วยวิธี ที่โอซีอี วิธีดําเนินการ ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้ป่วยไทยที่เป็นโรคมะเร็งตับที่ได้รับการรักษาด้วยวิธี ที่โอซีอีที่มารับการรักษาที่หน่วย เอ็กซ์เรย์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2542 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2542 ใช้ขนาดตัวอย่าง 38 ราย จากการ คาดหวังว่าการทดสอบมีความไวอย่างน้อย 90% และมีความคาดเคลื่อนไม่เกิน 15% เก็บข้อมูลโดยการเจาะน้ําเลือดจากผู้ป่วยมะเร็ง9ตับที่ได้รับการทำการรักษาด้วยวิธี ที่โอซีอี ไปทําการตรวจหาโปรตีน p53 โดยวิธี ELISA โดยรายงานผลเป็นหน่วยพิโคกรัมต่อมิลลิลิตร แล้วนําไปวิเคราะห์ข้อมูลทางคลินิกในการการตอบสนองต่อการรักษาด้วยด้วยวิธี ที่โอซีอี การตรวจโปรตีน p53 จากน้ําเลือดทําโดยผู้ที่ ไม่ทราบผลการวินิจฉัยโรค แล้วนําข้อมูลมาวิเคราะห์ทางสถิติ โดยนําข้อมูลที่ได้หาค่าความไว (Sensitivity) ความจําเพาะ (Specificity) ค่าทํานายผลบวก (positive predictive value) และค่าทํานายผลลบ (negative predictive value) และเปรียบเทียบหาความแตกต่าง ในกลุ่มที่พบและไม่พบโปรตีน p53 ในน้ำเลือด ผลการศึกษา ผู้ป่วยมะเร็งตับจํานวน 45 ราย แบ่งเป็นชาย 32 ราย หญิง 13 ราย อัตราส่วนระหว่างชายต่อหญิงเท่ากับ 2.45 ต่อ 1 มีค่ามัธยฐานของอายุเท่ากับ 59 ปี ค่าเฉลี่ยของอายุเท่ากับ 56.42 พิสัยของอายุ 31-74 ปี ปัจจัยเสี่ยงที่พบประกอบด้วยการติดเชื้อ ไวรัสตับอักเสบบี 24 ราย(ร้อยละ 53.3) ไวรัสตับอักเสบซี 6 ราย (ร้อยละ 13.3) และประวัติดีมแอลกอฮอล์ 12 ราย (ร้อยละ 26.7) และ พบภาวะตับแข็งร่วมด้วย 45 ราย (ร้อยละ 62.2) ระยะของโรคมะเร็งดับแบ่งตามระบบ TNM ประกอบด้วยระยะ 2 ร้อยละ 4.4 ระยะ 3A ร้อยละ 42.2 และระยะ 4A ร้อยละ 53.3 คิดเป็นระยะ Okuda 1, 2, 3 เท่ากับร้อยละ 40. 55.6, 4.4 ตามลำดับ ค่ามัธยฐาน alphafetoprotein เท่ากับ 351.95 เU/ml พิสัย 1.6 ถึง 400,000 IU/ml การตรวจหาโปรตีน p53 ในน้ำเลือดก่อนทำการรักษาด้วยวิธีที่โอซีอี สามารถเก็บและตรวจหาโปรตีน p53 ในน้ำเลือดได้จำนวน 41 ราย พบว่ามีโปรตีน p53 ในน้ำเลือดจำนวน 10 รายคิดเป็นร้อยละ 24.4 ค่าที่ตรวจพบอยู่ระหว่าง 5 - 1147 pg/ml และได้ทำการวัดการตอบสนองของการรักษาด้วยวิธีที่โอซีจำนวน 41 ราย พบมีการตอบ สนองร้อยละ 46.3 และไม่ตอบสนองร้อยละ 53.7 และเมื่อได้ประเมินผลการศึกษาพบมีผู้ป่วยจำนวน 37 รายได้รับการตรวจโปรตีน p53 ในน้ำเลือดและมีการวัดการตอบสนองต่อการรักษาด้วยที่โอซีอี พบว่าผู้ป่วยที่ตรวจพบโปรตีน p53 ในน้ำเลือดจะมีการตอบสนองต่อการ รักษา ร้อยละ 33.3 ซึ่งน้อยกว่าผู้ป่วยที่ตรวจไม่พบโปรตีน p53 ในน้ำเลือดมีการตอบสนองร้อยละ 50 อย่างไรก็ดีเมื่อทำการทดสอบด้วย วิธี Fisher's Exact พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.462) โดยการตรวจหาโปรตีน p53 เพื่อบอกการตอบสนอง ต่อการรักษาด้วยที่โอซีอี พบว่ามีความไว (sensitivity) ร้อยละ 30.0 ความจำเพาะ(Specificity) ร้อยละ 82.3 และค่าทำนายผลบวก (positive predictive value) ร้อยละ 66.7 และค่าทำนายผลลบ (negative predictive value ร้อยละ 50) สรุป 1.การตรวจหาโปรตีน p53 ในน้ำาเลือดด้วยวิธี ELISA พบว่ามีความสามารถในการบอกการตอบสนองต่อการรักษาผู้ป่วย มะเร็งตับด้วยวิธีที่โอซีอี โดยมีความไว (sensitivity) ร้อยละ 30 ความจําเพาะ (Specificity) ร้อยละ 82.3 ค่าทํานายผลบวก (positive predictive value) ร้อยละ 66.7 และค่าทํานายผลลบ (negative predictive value) ร้อยละ 50 2.การใช้การตรวจโปรตีน p53 ในน้ําเลือดด้วยวิธี ELISA ยังไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นตัวทํานายการตอบสนองที่ไม่ดีต่อ การรักษามะเร็งตับด้วยวิธีที่โอซีอี อย่างไรก็ดีมีแนวโน้มว่าผู้ป่วยที่โปรตีน p53 ในน้ำเลือดจะพบการตอบสนองที่น้อยกว่ากลุ่มที่ตรวจไม่ พบโปรตีน p53 ในน้ำเลือด-
dc.description.abstractalternativeObjective to study serum p53 protein as a predictive for unfavorable response to transarterial oily chemoembolization (TOCE) in patients with hepatocellular carcinoma. Methods The populations consisted of new cases of hepatocellular carcinoma who were treated with transarterial oily chemoembolization at Radiology Intervention Unit. Department of Radiology. King Chulalongkorn Memorial Hospital during the 1" January 1999 and the 31" December 1999. With the expectation that the test would have sensitivity of at least 90 % and on least than 15 % error, the sample size was 38. Serum was kept prior the chemoembolization. Serum p53 protein was blindly measured by ELISA method in picogram per milliliter. Data was analysed by statistical methodology to calculate sensitivity, specificity, positive and negative predictive values. Results: There were 45 hepatocellular carcinoma patients enrolled into this study. Thirty-two were male and thirteen were female. Male per female ratio was 2.45: 1. The median of age was 59 years and mean of age was 56.42 years. (Range 31-74 years). Risk factors consisted of hepatitis B virus in 24 cases (53.3%), hepatitis C 6 cases (13.3%) and history of alcoholic consumption 12 cases (26.7%). Twenty-eight cases (62.2%) were associated with cirrhosis. TNM stagings were stage 11 4.4%, stage IIIA 42.2 %, and stage IVA 53.3%. Okuda stagings were stage 1 40%, stage 11 55.6%, and stage 111 4.4%. Median serum alpha-fetoprotein level was 351.95 IU/ml. (range1.6-400000 IU/ml). Forty-one of pre-chemoembolization p53 serum were kept and serum p53 protein was detected in 10 cases (24.4%). The ranges of p53 protein were 5-1147 pg/ml. Forty-one cases were evaluable for tumor response to TOCE and achieved a partial response of 41.46%. Thirty-seven patients had information both serum p53 and the response of the treatment. Patients who had a positive p53 test had a response rate only 33.3% whereas the patients with negative p53 test had a response rate of 50%. How ever, the p-value was 0.462 by Fisher's exact test. The serum p53 protein test has sensitivity of 30.0%, specificity of 82.3%. positive predictive value of 66.7 % and negative predictive value 50%. Conclusions 1. The serum p53 protein by ELISA test to determine the response of chemoembolization has 30.0 % of sensitivity. 82.3% of specificity. 66.7 % of positive predictive value and 50 % negative predictive value. 2. Serum p53 protein, which is measured by ELISA, cannot be used as a predictive factor for unfavorable response to transarterial oily chemoembolization. However, there is a trend of lower response rate to chemoembolization if the serum p53 test is positive.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectโปรตีนในเลือด-
dc.subjectตับ -- มะเร็ง-
dc.subjectยีนต้านมะเร็ง-
dc.subjectยีนต้านมะเร็ง พี53 (ยีนต้านมะเร็ง)-
dc.subjectTransarterial oily chemoembolizzation-
dc.titleการตรวจโปรตีน พี53 ในน้ำเลือด เพื่อใช้เป็นปัจจัยทำนายการตอบสนองที่ไม่ดีต่อการรักษาผู้ป่วยไทยที่เป็นโรคมะเร็งตับด้วยวิธี ทีโอซีอี-
dc.title.alternativeSerum P53 protein as a predictive factor for unfavorable response to transarterial oily chemoembolization (TOCE) in Thai patients with hepatocellular carcinoma-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Teerayuth_na_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ975.58 kBAdobe PDFView/Open
Teerayuth_na_ch1_p.pdfบทที่ 1836.88 kBAdobe PDFView/Open
Teerayuth_na_ch2_p.pdfบทที่ 21.29 MBAdobe PDFView/Open
Teerayuth_na_ch3_p.pdfบทที่ 3836.75 kBAdobe PDFView/Open
Teerayuth_na_ch4_p.pdfบทที่ 4909.46 kBAdobe PDFView/Open
Teerayuth_na_ch5_p.pdfบทที่ 5745.31 kBAdobe PDFView/Open
Teerayuth_na_ch6_p.pdfบทที่ 6631.04 kBAdobe PDFView/Open
Teerayuth_na_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก1.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.