Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7060
Title: ปฏิสัมพันธ์ข้ามระดับระหว่างการล้นไหลกับลักษณะแหล่งความรู้และผู้รับความรู้ที่มีต่อการหน่วงเหนี่ยวการถ่ายโอนความรู้
Other Titles: Cross-level interaction between spillover, knowledge sources and recipient characteristics on stickiness of knowledge transfer
Authors: ทิพย์สุดา จันทร์แจ่มหล้า
Advisors: นงลักษณ์ วิรัชชัย
สุวิมล ว่องวาณิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Nonglak.W@chula.ac.th
wsuwimon@chula.ac.th
Subjects: การบริหารองค์ความรู้
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ประการแรก เพื่อพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของการหน่วงเหนี่ยวการถ่ายโอนความรู้และผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ประการที่สอง เพื่อศึกษาอิทธิพลของตัวทำนายที่มีต่อการหน่วงเหนี่ยวการถ่ายโอนความรู้และผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ โดยการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมที่มีลักษณะความรู้ ลักษณะผู้ให้ความรู้และลักษณะผู้รับความรู้ต่างกัน ประการสุดท้ายเพื่อศึกษาอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ข้ามระดับระหว่างการล้นไหล (spillover) กับลักษณะผู้ให้ความรู้และผู้รับความรู้ที่มีต่อการหน่วงเหนี่ยวการถ่ายโอนความรู้ การดำเนินการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองภาคสนามใช้แบบแผนทดลองแบบวัดก่อนและหลังการทดลองชนิดมีกลุ่มควบคุมแแบบสุ่ม ตัวแปรจัดกระทำได้แก่ผู้ให้ความรู้ ผู้รับความรู้และเนื้อหาความรู้ ตัแปรตามได้แก่การหน่วงเหนี่ยวการถ่ายโอนความรู้และผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ตัวแปรปรับได้แก่ การล้นไหล (spillover) กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 44 คน เป็นนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จำนวน 2 ชั้นเรียน แต่ละชั้นเรียนจะถูกแบ่งเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน กลุ่ม 1 มีผู้ให้ความรู้ที่มีความน่าเชื่อถือและมีแรงจูงใจในการให้มากและมีผู้รับความรู้ที่มีแรงจูงใจและมีความสามารถในการซึมซับและจัดเก็บความรู้มาก กลุ่ม 2 มีผู้ให้ความรู้ที่มีความน่าเชื่อถือและมีแรงจูงใจในการให้มากและมีผู้รับความรู้ที่มีแรงจูงใจและมีความสามารถในการซึมซับและจัดเก็บความรู้น้อย กลุ่ม 3 มีผู้ให้ความรู้ที่มีความน่าเชื่อถือและมีแรงจูงใจในการให้น้อยและมีผู้รับความรู้ที่มีแรงจูงใจและมีความสามารถในการซึมซับและจัดเก็บความรู้มาก และกลุ่ม 4 มีผู้ให้ความรู้ที่มีความน่าเชื่อถือและมีแรงจูงใจในการให้น้อยและมีผู้รับความรู้ที่มีแรงจูงใจและมีความสามารถในการซึมซับและจัดเก็บความรู้น้อย ทุกกลุ่มจะได้รับเนื้อหาความแบ่งเป็นบทเรียนที่เข้าใจยากมีประโยชน์น้อย 3 บทเรียน และบทเรียนที่เข้าใจง่ายมีประโยชน์มาก3 บทเรียนแต่ละครั้งของการเรียนแต่ละบทเรียนจะมีการวัดตัวแปรการหน่วงเหนี่ยวการถ่ายโอนความรู้และผลสัมฤทธิ์ทางวิชการ ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ว่ามีอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ระหว่างลักษณะความรู้และผู้ให้ความรู้ต่อการหน่วงเหนี่ยวการถ่ายโอนความรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กล่าวคือในเนื้อหาความรู้เข้าใจยากมีประโยชน์น้อย ถ้ามีผู้ให้ความรู้ที่มีความน่าเชื่อถือและแรงจูงใจในการให้มากจะมีการหน่วงเหนี่ยวการถ่ายโอนความรู้จะน้อยและมีผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการมากกว่ากลุ่มอื่น และพบว่าโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการหน่วงเหนี่ยวการถ่ายโอนความรู้และผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ทั้งในเนื้อหาความรู้ที่เข้าใจยากมีประโยชน์น้อยและความรู้ที่เข้าใจง่ายมีประโยชน์มาก (มีค่า chi square มีค่า4.277, df=11, p=96, GFI=.971, AGFI=.904 และค่าchi square มีค่า 13.740, df=10, p=.18, GFI=.911, AGFI=.678ตามลำดับ) ตัวแปรผู้ให้ความรู้มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อการหน่วงเหนี่ยวการถ่ายโอนความรู้ซึ่งมีอิทธิพลทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อตัวแปรผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ และพบว่าปฏิสัมพันธ์ข้ามระดับอย่างมีนัยสำคัญระหว่างการล้นไหลกับผู้ให้ความรุ้ต่อการหน่วงเหนี่ยวการถ่ายโอนความรู้
Other Abstract: The three purposes of this study were 1) to develop the causal model of stickiness of knowledge transfer and academic performances 2) to conduct an experiment aiming to study the effects of the predictors on stickiness of knowledge transfer and academic performance by comparing the average of the dependent variables between the experiment and the control groups with different charactenstic of the knowledge source and recipient and 3) to examine the interaction effect across level between spillover and source and recipient characteristics on the stickiness of knowledge transfer. This study was a field experimental research using pretest-posttest randomized control group design. The manipulating variables were the source, recipient and knowledge characteristics. The dependent variables were the stickiness of knowledge transfer and academic performances and the moderator was the spillover. The sample consisted of 44 architectural students from Thammasat University from 2 classes. Each group was divided into 4small groups (5-6 students), consisting of one leader and 3-4 members. The 4 groups in each class were designed to consist of a set of 2 groups of smart leader and members, smart leader and normal members, normal leader and smart members, and normal leader and members. The Research and Statistical Methodology lessons were designed into 2 sets of 6 modules, 3 unambiguous and useful proven knowledge modules and 3 ambiguous and unproven knowledge modules. The result indicated that the source and the knowledge characteristics had the significant interaction effects on the stickiness of knowledge transfer. On the ambiguity and unproven knowledge, the smart source's group had the lower stickiness and higher academic performance than the other. The causal model was well fitted with the empirical data on both knowledge characteristics (X[superscript 2]=4.277,df=11,p=.96,GFI=.971, AGFI=.904 AND X[superscript2] =13.740, df=10, p=.18, GFI=.911, AGFI=.678). The source characteristics had significant effect on the stickiness, which had significant negative effect on the academic performances. It was indicated that there was significant cross-level interaction effect between spillover and source characteristic on the stickiness of knowledge transfer.
Description: วิทยานิพนธ์(ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7060
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.356
ISBN: 9741437935
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.356
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tipsuda_Ja.pdf7.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.