Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70901
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างสรรค์ผลงานเพลงของผู้ประพันธ์เพลงลูกทุ่ง ลพ บุรีรัตน์
Other Titles: Creation of Thai country music by Lop Buriratana
Authors: ขจร ฝ้ายเทศ
Advisors: กาญจนา แก้วเทพ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Kanjana.Ka@chula.ac.th
Subjects: ลพ บุรีรัตน์
เพลงลูกทุ่ง
คีตกวี
Composers
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างสรรค์ผลงานเพลงลูกทุ่งของ ลพ บุรีรัตน์ ที่เกิดขึ้นตลอดชีวิตการเป็นนักประพันธ์เพลงและศึกษาการตอบสนองของ ลพ บุรีรัตน์ ต่อปัจจัยเหล่านี้ที่สะท้องออกมาในผลงานการประพันธ์เพลงของเขา วิธีการวิจัยที่ใช้คือสัมภาษณ์ ลพ บุรีรัตน์ และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานเพลงของ ลพ บุรีรัตน์ และการวิเคราะห์ผลงานเพลง โดยใช้กรอบแนวคิดกระบวนการสร้างสรรค์เพลวลูกทุ่งและแนวคิดเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลกระทบต่อกระบวนการสื่อสารผลงานเพลงลูกทุ่ง ผลกาวิจัยพบว่า กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานเพลงลูกทุ่งของ ลพ บุรีรัตน์ เป็นกระบวนการที่ผู้เผยแพร่ผลงานเพลงเป็นผู้มีบทบาทหลักในการควบคุมวัดของกระบวนการสื่อสารโดยผู้ประพันธุ์เช่น ลพ บุรีรัตน์ จะต้องสร้างผลงานเพลงเพื่อตอบสนองต่อผู้เผยแพร่ จากประวัติศาสตร์ของวงการเพลงลูกทุ่ง ยุคเริ่มต้นจะมีครูเพลงหัวหน้าวงดนตรีเป็นผู้เผยแพร่ จนกระทั่งเมื่อระบบทุนนิยมเข้ามามีอิทธิพลต่อการเพลงลูกทุ่ง อำนาจของผู้เผยแพร่จึงตกไปอยู่ในมือของนักธุรกิจแผ่นเสียงและเทป การสร้างสรรค์ผลงานเพลงของ ลพ บุรีรัตน์ จึงมีลักษณะที่แตกต่างกันซึ่งแบ่งได้เป็น 3 ช่วงเวลา ช่วงแรก (พ.ศ. 2508-2515) ลพ บุรีรัตน์ มุ่งสร้างผลงานเพลงที่มีสุนทรียะทางศิลปะเพื่อให้ครูเพลงหัวหน้าวงดนตรียอมรับให้ผลงานได้รับการเผยแพร่ ช่วงที่สอง (พ.ศ. 2516-2527) ลพ บุรีรัตน์ ต้องเร่งผลิตผลงานเพลงเป็นจำนวนมาก เพื่อตอบสนองต่อการขยายตัวของธุรกิจแผ่นเสียง และเทป โดยพยายามที่จะรักษามาตรฐานทางศิลปะการประพันธ์ไว้ไปพร้อม ๆ กับการสร้างผลงานเพลงให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ลงทุนและผู้ฟังเพื่อแสวงหาความสำเร็จจากกระแสประชานิยม ช่วงที่สาม (พ.ศ. 2528-2540) เป็นช่วงที่ ลพ บุรีรัตน์ ประสบความสำเร็จสูงสุดด้วยการสร้างเพลงลูกทุ่งแนวใหม่ที่ผสมผสานดนตรีสมัยใหม่จากตะวันตกกับศิลปะเพลงพื้นบ้าน เขาสามารถใช้กระแสประชานิยมที่ได้รับมาเป็นอำนาจต่อรองกับนายทุนสร้างเงื่อนไขการขายเพลง “ยกชุด” เพื่อให้เพลงทุกเพลงของเขาได้มีโอกาสเผยแพร่และได้รับความนิยมจากผู้ฟัง
Other Abstract: The objectives of the research are : to study the influential factors upon Lop Buriratana’s Thai country music composition throughout his professional life and to study his reaction towards those factors. Research methodology employed the depth interviewing of Lop Bunratana and others involving in his music composition process, i.e. singer, music arranger, record business owner and mass communicator, as well as the analysis of his written lyrics. Data analysis is done within the conceptual framework of process and factors relating to music compostion. The study reveals that the most powerful element in this communication process is the channel, especially music publishers who control the dynamic of the process. As a composer, Lop Buriratana have to create music which can serve the ultimate benefit of the publishers. From the history of Thai country music, the publisher power has slitted from the master of music bands to the hand of record business owner when the music business is dominated by capitalism. Lop Buriratana’s music composition process can be devided into three perio First (1965-1972), Lop Buriratana’s performances are focusing on the creation of aesthetic master pieces in order to gam acceptance from his band master. Second (1973-1984), to achieve the populanty. he has to produce music in a large number to serv e the expanding record industry and, at the same time, his performances must be able to keep the balance between the artistic standard and the demand of publishers and audiences. Finally (1985-1997), he becomes die most sucessful music composer of the time due to his initiation in combining pop music with Thai folk song. Then, he take advantage from his acheivement, popularity and higher professional status, as bargaining power in dealing with record business owner. He proposes the condition that his whole album must be purchased in order to assure that every songs will be recorded and promoted.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70901
ISSN: 9746385844
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kajohn_fi_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ365.09 kBAdobe PDFView/Open
Kajohn_fi_ch1.pdfบทที่ 11.32 MBAdobe PDFView/Open
Kajohn_fi_ch2.pdfบทที่ 21.94 MBAdobe PDFView/Open
Kajohn_fi_ch3.pdfบทที่ 3140.95 kBAdobe PDFView/Open
Kajohn_fi_ch4.pdfบทที่ 42.36 MBAdobe PDFView/Open
Kajohn_fi_ch5.pdfบทที่ 55.83 MBAdobe PDFView/Open
Kajohn_fi_ch6.pdfบทที่ 61.38 MBAdobe PDFView/Open
Kajohn_fi_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก786.76 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.