Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72517
Title: นิเวศวิทยาของสัตว์ในดินด้านจำนวน น้ำหนักและชนิดในป่าดิบแล้งสะแกราช นครราชสีมา
Other Titles: An ecological study on population, biomass and species composition of soil fauna in dry evergreen forest, Sakaerat, Nakhon Ratchasima
Authors: จิรากรณ์ คชเสนี
Advisors: ไพรัช สายเชื้อ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: สัตว์ในดิน -- ไทย
Soil animals -- Thailand
Tropical dry forests -- Thailand
Issue Date: 2519
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงจำนวน ชนิด น้ำหนักต่อหน่วยพื้นที่การแพร่กระจายและการเคลื่อนที่ขึ้นลงในแนวดิ่งของสัตว์ในดินซึ่งเนื่องมาจากอิทธิพลของสภาวะแวดล้อมในธรรมชาติเปลี่ยนแปลงการเก็บข้อมูลกระทำเดือนละครั้งคือระหว่างเดือนมีนาคม 2518 – กุมภาพันธ์ 2519 บริเวณป่าดินแล้งของสถานีวิจัยสะแกราชการสุ่มตัวอย่างใช้ 1⌿25 ตารางเซนติเมตรสำหรับการศึกษาสัตว์ในดินขนาดเล็กนอกจากนี้ในการศึกษาการแพร่กระจายตามแนวดิ่งจากผิวดินลงไปลึก 21 เซนติเมตรนั้นใช้สุ่มตัวอย่างขนาด 7⌿7⌿7 ลูกบาศก์เซนติเมตรการแยกสัตว์ขนาดเล็กออกจากดินใช้ Tullgren funnel ข้อมูลที่สามารถรวบรวมได้จากการธรรมชาติขณะศึกษาคือ น้ำหนัก Litter ปริมาณน้ำในดินและใน Litter อุณหภูมิและความชื้นสัมพันธ์ที่ระดับต่างๆ ปริมาณน้ำฝนความเป็นกรดเป็นด่างของดินอินทรียวัตถุในดิน ปริมาณแร่ธาตุที่สำคัญในดินคือไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโปตัสเซี่ยม ผลของการศึกษาสรุปได้ว่าน้ำหนักสัตว์ในดินขนาดใหญ่จะสูงสุดในเดือนตุลาคม (6.5830 กรัม/ตารางเมตร) และต่ำสุดในเดือนมีนาคม (0.1923 กรัม/ตารางเมตร) ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากอิทธิพลของหลายปัจจัยด้วยกันเช่น ความชื้นในดินและใน Litter อุณหภูมิดินปริมาณ Litter และอินทรีย์สารในดิน ศัตรูของมันในธรรมชาติและความเป็นกรดเป็นด่างของดิน การแพร่กระจายของสัตว์ในดินเป็นแบบไม่มีระเบียบแน่นอน (Random Distribution) ซึ่งอาจเนื่องมาจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมเฉพาะจุด (Microenvironment) แตกต่างกันส่วนสัตว์ในดินขนาดเล็กจะมีช่วงสูงสดสองช่วงในรอบปีคือเดือนมิถุนายน (2588.8 ตัว/ตารางเมตร) และธันวาคม (4275.2 ตัว/ตารางเมตร) และช่วงต่ำสุดจะพบในเดือนมีนาคม (844.8ตัว/ตารางเมตร) กับเดือนสิงหาคมและกันยายน (918.4 ตัว/ตารางเมตร) ซึ่งความแตกต่างนี้เชื่อว่าเพราะอิทธิพลของน้ำในดินและใน litter มากที่สุด การศึกษาครั้งนี้ไม่พบการเคลื่อนที่ขึ้นลงในแนวดิ่งของสัตว์ในดินพวก Acarina และ Collembola ซึ่งเนื่องมาจากทั้งอุณหภูมิและความชื้นของดินในช่วงความลึกต่างกันจะไม่แตกต่างกันมากนัก จากการศึกษาครั้งนี้สรุปผลได้ดังนี้คือ 1. มีการเปลี่ยนแปลงด้านจำนวน น้ำหนักและชนิดของสัตว์ในดินเกิดขึ้นในรอบปี เนื่องจากอิทธิพลที่คิดว่าสำคัญที่สุดคือความชื้นในดินและใน litter 2. สัตว์ในดินจะมีบทบาทสำคัญต่อการสะสมอินทรีย์สารในดินและปริมาณ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปตัสเซียม จะมีความสำคัญต่อจำนวนมากน้อยของสัตว์ในดิน 3. การแพร่กระตายของสัตว์ในดินบริเวณนี้ไม่เป็นระเบียบ 4. ไม่พบการเคลื่อนที่ขึ้นลงในแนวดิ่งในช่วงความลึกไม่เกิน 21 เซนติเมตรของสัตว์ในดินขนาดเล็ก 5. พบความสัมพันธ์ระหว่างตัวหาที่สำคัญในดิน (ตะขาบและแมงมุม)กับเหยื่อคือ Springtail (Collembola)
Other Abstract: This study is primarily to investigate changing in population, biomass, species composition, distribution pattern and vertical distribution of soil fauna because of environmental factors. Datas were collected monthly from March 1975 to February 1976 in dry evergreen forest, Sakaerat, Nakhon Ratchasima. Sampling size (1X1 m.²) was used for macrofauna and 25X25 cm,² for mesofauna and 7x7x7 cm.³ sample for vertical distribution from surface to 21 cm. depth, Mesofauna was extracted by mean of Tullgren funnel. Weight of litter, water content of soil and litter, temperature and relative humidity at some level, rainfall, pH, organic matter in soil, nitrogen, phosphorus and potassium content of soil were collected from the field. Result: The maximum biomass of macrofauna was in October (6.5830 gm/m²) and the minimum in March (0.1923 gm/m²) and the minimum in March (0.1923 gm/m²) resulted from effect of water content of soil and litter, soil temperature, weight of litter, organic content of soil, pH of soil, and predation. Random distribution pattern of soil faunas were resulted from micro environmental differences. There were two peaks in number of mesfauna’2588.8 Individual/m² in June and 4275.2 Individual/m² in December. The mimmum in number was in August and September (918.4 Individual/m²) mostly resulted from water content of soil and litter. No vertical distribution of Acarina and Collembola occurring in this investigation may be resulted from an insufficience differences in soil temperature and relative humidity at any level. Conclustion : 1. Water content of soil and litter are very important to soil faunas. 2. Soil faunas have some correlation to amount of nitrogen, phosphos us, potassium and organic matter in soil. 3. Distribution pattern of soil faunas are randomly. 4. No vertical distribution of mesofauna (Acarina and Collembola) occurred from surface soil to 21 cm. depth. 5. There are relationships between predators (centipedes and spiders) and preys (Collembola).
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ชีววิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72517
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1976.3
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1976.3
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jiragorn_ga_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ1.1 MBAdobe PDFView/Open
Jiragorn_ga_ch1_p.pdfบทที่ 1777.15 kBAdobe PDFView/Open
Jiragorn_ga_ch2_p.pdfบทที่ 21.94 MBAdobe PDFView/Open
Jiragorn_ga_ch3_p.pdfบทที่ 3955.71 kBAdobe PDFView/Open
Jiragorn_ga_ch4_p.pdfบทที่ 42.11 MBAdobe PDFView/Open
Jiragorn_ga_ch5_p.pdfบทที่ 52.2 MBAdobe PDFView/Open
Jiragorn_ga_ch6_p.pdfบทที่ 6647.05 kBAdobe PDFView/Open
Jiragorn_ga_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก953.41 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.