Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73112
Title: การศึกษาความเป็นไปได้ในการตั้งโรงงานผลิตอะไหล่เครื่องทอผ้า ในประเทศไทย
Other Titles: A feasibility study of a textile weaving machine parts manufacturing plant in Thailand
Authors: สมบัติ โลหะศรี
Advisors: สุทัศน์ รัตนเกื้อกังวาน
เถลิง จารุจินดา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Suthas.R@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: อุตสาหกรรมสิ่งทอ
อะไหล่
ชิ้นส่วนเครื่องจักรกล
เครื่องทอผ้า
Textile industry
Spare parts
Machine parts
Looms
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในปัจจุบันนี้ เครื่องจักรที่ใช้ในการทอผ้ากำลังอยู่ในสภาพที่ชำรุดทรุดโทรม เนื่องมาจากการใช้งานมานานนับ 10 ปี และขาดการซ่อมบำรุงรักษาที่ดี จึงทำให้ผ้าที่ทอออกมาได้เกรดต่ำกว่ามาตรฐานสากล เครื่องจักรทอผ้าที่มีในขณะนี้ 61,931 เครื่อง จำเป็นจะต้องมีอะไหล่มาทดแทนของเดิมที่ชำรุด และโรงงานที่ทำอะไหล่ทอผ้าให้ได้คุณภาพสูงเท่าของต่างประเทศก็มีอยู่น้อยรายไม่สามารถที่จะผลิตได้เพียงพอแก่ความต้องการ ในการจัดหาอะไหล่จากต่างประเทศก็มีราคาสูงมากไม่คุ้มกับราคาในภาวะปัจจุบัน ดังนั้นวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ จะทำการศึกษาและวิจัยความเป็นไปได้ในการตั้งโรงงานผลิตอะไหล่เครื่องทอผ้า เพื่อป้อนให้แก่โรงงานทอผ้าในประเทศ ในการวิจัย จะทำการศึกษาและวิจัยในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านตัวเครื่องจักรที่ใช้ทอผ้าด้านการตลาด ด้านวิศวกรรม ด้านการจัดบุคลากรและองค์กรบริหารธุรกิจ ด้านต้นทุนการผลิต และการลงทุนของโครงการ ผลจากการวิจัยสรุปได้ว่า โครงการใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น 43,659,165 บาท อายุโครงการ 10 ปี โดยมีทางเลือกในการลงทุน 2 ทางเลือกด้วยกันคือ ทางเลือกที่ 1 โครงการใช้เงินทุนส่วนเจ้าของ 23,659,165 บาท จากการกู้ยืมระยะยาว 20,000,000 บาท ระยะเวลาคืนทุน (ใช้อัตราส่วนลด 16%)3 ปี 3 เดือน อัตราผลตอบแทนภายในทั้งสิ้น 44.6% อัตราผลตอบแทนภายในส่วนเจ้าของทุน 70.3% ทางเลือกที่ 2 โครงการใช้เงินทุนส่วนเจ้าของ 13,909,165 บาท จากการกู้ยืมระยะยาว 29,750,000 บาท ระยะเวลาคืนทุน (ใช้อัตราส่วนลด 16%) 3 ปี 8 เดือน อัตราผลตอบแทนภายในทั้งสิ้น 40.8 % อัตราผลตอบแทนส่วนเจ้าทุน 93.7% ผลจากการวิเคราะห์ดังกล่าวข้างต้น สรุปได้ว่าโครงการนี้มีความเป็นไปได้ และเหมาะสมแก่การลงทุน ทางเลือกในการลงทุนที่เหมาะสมที่สุด คือ ทางเลือกที่ 2 เพราะจะให้ผลตอบแทนแก่ผู้ลงทุนในอัตราสูงที่สุด
Other Abstract: Presently, the weaving machines are in the condition of disrepaired units due to lack of maintenance force and they are used for more than 10 years. Therefore, the quality of the product is less than international standard. The number of weaving machines are totally 61,931 units in 1980. At present, a lot of high on these machines. A Few workshop can be locally produced the parts with equivalent quality of import parts and production capacity are insufficient when compare with demand. The import parts are more expensive and are not worthwhile with its present value. Therefore, the purpose for this thesis is to study a manufacturing feasibility of weaving machine parts to supply weaving factory in Thailand. This project will study on several aspects such as weaving machines feature, marketing situation, engineering capability, organization concerned and total investment costs of the project. The results of the study on investment revealed that the investment of the project is 43, 659, 165 baht, project life is 10 years. The investment alternatives are as follows :- Alternative A Owner’s equity 23,659,165 Baht Long-term loan20,000,000 Baht Total internal annual rate of return44.6% Internal annual rate of return on owner’s70.3 % Equity equals Pay-back period equals 3 years and 3 months (appropriated discount annual rate 16%) Alternative B Owner’s equity13,909,165 Baht Long-term loan 29,750,000 Baht Total internal annual rate of return40.8% Internal annual rate of return on owner’s93.7% Pay-back period equals 3 years and 8 months (appropriated discount annual rate 16%) The results of this research can be concluded that this project is feasible and appropriate to be invested. It should be noted that optimum alternative is alternative B which giving highest rate of return to the owner’s equity.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73112
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1982.15
ISSN: 9745615811
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1982.15
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sombat_lo_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ10.35 MBAdobe PDFView/Open
Sombat_lo_ch1.pdfบทที่ 15.27 MBAdobe PDFView/Open
Sombat_lo_ch2.pdfบทที่ 211.5 MBAdobe PDFView/Open
Sombat_lo_ch3.pdfบทที่ 322.82 MBAdobe PDFView/Open
Sombat_lo_ch4.pdfบทที่ 496.16 MBAdobe PDFView/Open
Sombat_lo_ch5.pdfบทที่ 512.38 MBAdobe PDFView/Open
Sombat_lo_ch6.pdfบทที่ 656.01 MBAdobe PDFView/Open
Sombat_lo_ch7.pdfบทที่ 72.89 MBAdobe PDFView/Open
Sombat_lo_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก33.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.