Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76693
Title: | ผลของการจัดการเรียนการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์และคุณภาพผลงานเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา |
Other Titles: | Effects of science project instruction using engineering design process on creative problem solving abilities and quality of creative products of lower secondary school students under the office of the higher education commission |
Authors: | จักรกฤต ภุชงค์ประเวศ |
Advisors: | พรเทพ จันทราอุกฤษฎ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Subjects: | วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) โครงงานวิทยาศาสตร์ การออกแบบวิศวกรรม Science -- Study and teaching (Secondary) Science projects Engineering design |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียนโครงงานวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม 2) ศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนหลังเรียนโครงงานวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม 3) ศึกษาคุณภาพผลงานเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนหลังเรียนโครงงานวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองรูปแบบการทดลองกลุ่มเดียวแบบวัดซ้ำ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง รวม 48 คน มีวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .817 2) แบบสอบถามความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .931 และ 3) แบบประเมินคุณภาพผลงานเชิงสร้างสรรค์ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .993 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์หลังเรียนแตกต่างจากระหว่างเรียนครั้งที่ 2 ระหว่างเรียนครั้งที่ 1 และก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อวัดโดยใช้แบบทดสอบ และการรับรู้ความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์หลังเรียนแตกต่างจากระหว่างเรียนครั้งที่ 1 และก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อวัดโดยใช้แบบสอบถาม 2) ความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนหลังเรียนอยู่ในระดับสูง 3) คุณภาพผลงานเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนหลังเรียนอยู่ในระดับดี |
Other Abstract: | The purposes of this research were 1) to compare the creative problem solving abilities of students before, during and after learning through engineering design process, 2) to study the creative problem solving abilities of students after finishing the process, and 3) to study the quality of creative products of students after having finished the process. The design of this experimental research was Repeated-Measures Designs. The research samples were 48 Grade 8 students who were selected by using purposive sampling from a demonstration school under the Office of the Higher Education Commission. The research instruments for data collection were 1) the creative problem solving abilities test with reliability at .817, 2) the questionnaire of creativity problem solving abilities with reliability at .931, and 3) the evaluation form of quality of creative products with reliability at .993. The data were analyzed by arithmetic mean, standard deviation and repeated measure ANOVA. The results of this research showed that 1) the creative problem solving ability scores after learning all processes were higher than the scores of the 2nd in-process evaluation, the 1st in-process evaluation, and the scores before starting doing the process at a .05 level of significance through the test, and the students' perception of creative problem solving ability scores after having finished all process were higher than the scores of the 1st in-process evaluation and before starting doing the process at a .05 level of significance through the questionnaire, 2) the creative problem solving abilities after having finished all process were at high level, and 3) the quality of creative products after having finished all process were at good level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การศึกษาวิทยาศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76693 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.652 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2020.652 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6183309427.pdf | 9.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.