Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76696
Title: | ผลของโปรแกรมส่งเสริมการแสวงหาความท้าทายในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามทฤษฎีกรอบความคิดของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต |
Other Titles: | Effects of program to promote challenge-seeking in learning English language based on the mindset theory of undergraduate students |
Authors: | เจนจิรา จาติเทศะ |
Advisors: | ปิยวรรณ วิเศษสุวรรณภูมิ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Subjects: | ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน -- โปรแกรมกิจกรรม กิจกรรมการเรียนการสอน ภาษาอังกฤษ -- การสอนด้วยสื่อ English language -- Teaching -- Aids and devices Activity programs in education English language -- Study and teaching -- Activity programs |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมการแสวงหาความท้าทายในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามทฤษฎีกรอบความคิดของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตชั้นปีที่ 4 จากมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง มีรูปแบบการวิจัยเชิงทดลองเเท้จริง (True experimental research design) และนักศึกษากลุ่มตัวอย่าง จำนวน 39 คน ถูกสุ่มเพื่อเข้าเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 19 คนเเละกลุ่มควบคุม จำนวน 20 คน โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมส่งเสริมการแสวงหาความท้าทายในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามทฤษฎีกรอบความคิด และแบบวัดการแสวงหาความท้าทายในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) เเละเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะเเนนการเเสวงหาความท้าทายในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษระหว่างช่วงเวลาการวัดโดยใช้การวิเคราะห์ความเเปรปรวนทางเดียวเเบบวัดซ้ำ (One-way repeated measures ANOVA) เเละการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) นักศึกษากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนการแสวงหาความท้าทายในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (M หลังทดลอง = 4.16, SD หลังทดลอง = 0.45, M ติดตามผล = 4.09, SD ติดตามผล = 0.46, F = 11.67, p = .00) มีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 1.88 (2) หลังได้รับโปรแกรมและในระยะติดตามผลนักศึกษากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนการแสวงหาความท้าทายในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (ระยะหลังทดลอง Mทดลอง = 4.16, SD ทดลอง = 0.45, M ควบคุม = 3.37, SD ควบคุม = 0.19, t = 7.13, p = .00 และระยะติดตามผล Mทดลอง = 4.09, SD ทดลอง = 0.46, M ควบคุม = 3.32, SD ควบคุม = 0.20, t = 6.73, p =.00) และมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 2.29 และ 2.17 ตามลำดับ |
Other Abstract: | The purposes of this research were to examine the effects of the program to promote challenge-seeking in learning English language based on the mindset theory of undergraduate students. The participants of this study are fourth year undergraduate students from a private University. The method is a true experimental research design, 39 students were randomly assigned into 19 experimental group students and 20 control group students. Instruments included program to promote challenge-seeking in learning English Language based on the mindset theory and the challenge- seeking in learning English language scale. Data were analyzed by Mean, Standard deviation, One-way repeated measures ANOVA and T- Test. Findings were (1) Experimental group students significantly gained higher post-test and delayed post-test scores of challenge-seeking in learning English language than their pre-test scores at .05 level (M post-test = 4.16, SD post-test = 0.45, M delayed post-test = 4.09, SD delayed post-test = 0.46, F = 11.67, p = .00) and the effect size for this analysis was of 1.88 (2) After receiving the program from post-test and delayed post-test, experimental group students gained higher challenge - seeking in learning English language scores than those of a control group at the .05 significance level (Post-test M experimental group = 4.16, SD experimental group = 0.45, M control group = 3.37, SD control group = 0.19, t = 7.13, p = .00 and Delayed post-test M experimental group = 4.09, SD experimental group = 0.46, M control group = 3.32, SD control group = 0.20, t = 6.73, p =.00) and the effect size for this analysis were of 2.29 and 2.17 accordingly. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จิตวิทยาการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76696 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.682 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2020.682 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6183313927.pdf | 9.52 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.