Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76751
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ-
dc.contributor.authorธัญวรัตม์ สิงห์จู-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-09-21T07:00:21Z-
dc.date.available2021-09-21T07:00:21Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76751-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563-
dc.description.abstractโรงเรียนนวัตกรรม (innovative schools) เป็นรูปแบบของโรงเรียนรูปแบบหนึ่งที่ส่งเสริมการใช้และสร้างนวัตกรรมในโรงเรียน เน้นพัฒนาทักษะที่จำเป็นในอนาคตให้ผู้เรียน อาทิ ทักษะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาให้ดียิ่งขึ้นและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ลักษณะของโรงเรียนนวัตกรรมและกระบวนการพัฒนาโรงเรียนนวัตกรรมโดยใช้การบูรณาการการวิเคราะห์ข้ามกรณีและการย้อนรอยกระบวนการจากโรงเรียนที่มีการปฏิบัติดี 2) เพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดการเป็นโรงเรียนนวัตกรรม และศึกษาสภาพการเป็นโรงเรียนนวัตกรรมของโรงเรียนในประเทศไทย 3) เพื่อจัดทำแนวทางการพัฒนาเป็นโรงเรียนนวัตกรรมที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย การวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนาตัวบ่งชี้ลักษณะของโรงเรียนนวัตกรรมและกระบวนการพัฒนาโรงเรียนนวัตกรรม จากการศึกษาเอกสารและการบูรณาการการวิเคราะห์ข้ามกรณีและการย้อนรอยกระบวนการ กรณีศึกษา คือ โรงเรียนที่มีการปฏิบัติดีด้านนวัตกรรม 4 แห่ง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการลงพื้นที่ภาคสนามและการสัมภาษณ์ ระยะที่ 2 การพัฒนาเครื่องมือวัดการเป็นโรงเรียนนวัตกรรม ตัวอย่างวิจัย คือ โรงเรียนที่มีการส่งเสริมด้านนวัตกรรม 109 แห่ง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามการพัฒนาโรงเรียนนวัตกรรม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ระยะที่ 3 การศึกษาสภาพการเป็นโรงเรียนนวัตกรรมของโรงเรียนในประเทศไทย ตัวอย่างวิจัย คือ โรงเรียนในจังหวัดกรุงเทพมหานคร 311 แห่ง จำแนกตามสังกัดโรงเรียน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามการพัฒนาโรงเรียนนวัตกรรม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และระยะที่ 4 การจัดทำแนวทางการพัฒนาการเป็นโรงเรียนนวัตกรรมที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย โดยการสัมภาษณ์และการทำแบบประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการตีความและสถิติเชิงบรรยาย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ตัวบ่งชี้ลักษณะของโรงเรียนนวัตกรรมที่สำคัญ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) นโยบายโรงเรียนด้านนวัตกรรม 2) หลักสูตรเชิงนวัตกรรม 3) การจัดการเรียนรู้เชิงนวัตกรรมของครู 4) ความเชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมของครู และ 5) ลักษณะทางกายภาพของโรงเรียน และตัวบ่งชี้กระบวนการพัฒนาโรงเรียนนวัตกรรมที่สำคัญ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) การเรียนรู้เชิงนวัตกรรมของนักเรียน  2) การเรียนรู้เชิงนวัตกรรมของครู 3) การสร้างเครือข่ายชุมชน และ 4) ภาวะผู้นำนวัตกรรมของผู้บริหาร  2. เครื่องมือวัดการเป็นโรงเรียนนวัตกรรมเป็นแบบสอบถามการพัฒนาเป็นโรงเรียนนวัตกรรม มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ (rating scale) จำนวน 37 ข้อ พัฒนาจากผลการพัฒนาตัวบ่งชี้ลักษณะของโรงเรียนนวัตกรรมและกระบวนการพัฒนาโรงเรียนนวัตกรรมในระยะที่ 1 ผลการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัย พบว่า แบบสอบถามมีความตรงเชิงเนื้อหา และมีค่าเที่ยงอยู่ระหว่าง 0.773 ถึง 0.937 เมื่อพิจารณาผลการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของตัวบ่งชี้ลักษณะของโรงเรียนนวัตกรรม พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (ไค-สแควร์(4, N=109) = 3.705, p = .447, GFI = .986, AGFI = .949, RMR = .013, RMSEA = .000) เมื่อพิจารณาการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของตัวบ่งชี้กระบวนการพัฒนาโรงเรียนนวัตกรรม พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (ไค-สแควร์(1, N=109) = 0.039, p = .844, GFI = 1.000, AGFI = .998, RMR = .002, RMSEA = .000)  3. ผลการศึกษาสภาพการเป็นโรงเรียนนวัตกรรมตามตัวบ่งชี้ลักษณะของโรงเรียนนวัตกรรม พบว่า โรงเรียนมีลักษณะของโรงเรียนนวัตกรรมในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายตัวแปรสังเกตได้ พบว่า ทุกตัวแปรมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยตัวแปรที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การจัดการเรียนรู้เชิงนวัตกรรมของครู และตัวแปรที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ หลักสูตรเชิงนวัตกรรม สำหรับผลการศึกษาสภาพการเป็นโรงเรียนนวัตกรรมตามตัวบ่งชี้กระบวนการพัฒนาโรงเรียนนวัตกรรม พบว่า โรงเรียนมีกระบวนการพัฒนาโรงเรียนนวัตกรรมโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายตัวแปรสังเกตได้ พบว่า ตัวแปรที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ภาวะผู้นำนวัตกรรมของผู้บริหาร และตัวแปรที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การสร้างเครือข่ายชุมชน 4. แนวทางการพัฒนาเป็นโรงเรียนนวัตกรรมที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย มี 5 แนวทางหลัก และ 13 แนวทางย่อย ดังนี้ 1) แนวทางด้านนโยบายโรงเรียนด้านนวัตกรรม มี 1 แนวทางย่อย 2) แนวทางด้านหลักสูตรเชิงนวัตกกรรม มี 2 แนวทางย่อย 3) แนวทางด้านการจัดการเรียนรู้เชิงนวัตกรรม มี 4 แนวทางย่อย 4) แนวทางด้านความเชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมของครู มี 3 แนวทางย่อย และ 5) แนวทางด้านลักษณะทางกายภาพของโรงเรียน มี 3 แนวทางย่อย                                                                                                                                 -
dc.description.abstractalternativeInnovative schools are a type of school that encourage to use and create innovations in school. The school must develop essential skills for students in the future, such as creative thinking, innovative thinking for enhancing the quality of education and responding to social and economic changes. The objective of this research were: 1) to develop indicators of an innovative school characterization and process of developing an innovative school with the integrating cross-case analyses and process tracing from the best practice; 2) to develop the innovative school questionnaire and to study the state of being the innovative schools in Thailand, and 3) to suggest innovative schools’ guidelines for developing school in Thailand. The research was divided into four phases. The first phase was to develop indicators of an innovative school characterization and process of developing an innovative school with synthesizing documentaries and integrating cross-case analyses and process tracing from the best practice of the four innovative schools. The data have collected by fieldwork and interview. The second phase was to develop the innovative school questionnaire. The samples were 109 schools that encouraged innovation. Data collected by the innovative school questionnaires and then analyzed with confirmatory factor analysis. The third phase was to study the state of being the innovative schools in Thailand. The samples were 311 schools in Bangkok. Data collected by the innovative school questionnaires and then analyzed with descriptive statistics. The fourth phase was to suggest innovative schools’ guidelines in developing schools in Thailand by interviewing the expert and making assessments and then analyzed with content analysis and descriptive statistics. The research findings were as followed: 1. The innovative school characteristics consist of five elements: 1) Innovative school policy, 2) Innovative curriculum,  3) Innovative teaching, 4) Innovative expertise, and 5) Physical appearance. And the innovative school development process consists of four elements: 1) Students’ innovative learning, 2) Teachers’ innovative learning, 3) Community networking, and 4) Innovation leadership. 2. The instrument of this research is the innovative school questionnaire. It is a rating scale with 37 items was develop from the results in phase 1. The results of the quality examination of questionnaire found that the innovative school questionnaire was consistent in content validity and the internal consistency reliability coefficient between 0.773 to 0.937. The model of indicators of an innovative school characterization found that the model fit the empirical data (χ2 (4, N=109) = 3.705, p = .447, GFI = .986, AGFI = .949, RMR = .013, RMSEA = .000) and the model of indicators of process of developing an innovative school found that the model fit the empirical data (χ2 (1, N=109) = 0.039, p = .844, GFI = 1.000, AGFI = .998, RMR = .002, RMSEA = .000) 3. The results of studying the characteristics of the innovative school found that the schools had the innovative school as a whole with a high level. When consider the objective variables, it was found that all objective variables have a high level. The variable with the highest mean was innovative teaching, and the variable with the least mean was innovative curriculum. And the result of the study of the innovative school development process found that the schools had the innovative school development process as a whole at a high level. When consider the objective variables, it was found that the variable with the highest mean was innovation leadership, and the variable with the least mean was community networking. 4. Five guidelines for developing innovative schools in Thailand and thirteen sub-guidelines were: 1) The innovative school policy was 1 sub-guidelines, 2) The innovative curriculum was 2 sub-guidelines, 3) The innovative teaching was 4 sub-guidelines, 4) The innovative expertise was 3 sub-guidelines, and 5) The physical appearance was 3 sub-guidelines.                -
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1058-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectนวัตกรรมทางการศึกษา-
dc.subjectEducational innovations-
dc.subject.classificationArts and Humanities-
dc.subject.classificationArts and Humanities-
dc.titleแนวทางการพัฒนาการเป็นโรงเรียนนวัตกรรม : การบูรณาการการวิเคราะห์ข้ามกรณีและการย้อนรอยกระบวนการ-
dc.title.alternativeGuidelines for developing innovative schools: integrating cross-case analyses and process tracing-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2020.1058-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280063727.pdf5.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.