Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76754
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชิตพงษ์ ตรีมาศ | - |
dc.contributor.author | น้ำเพชร ชื่นแพ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2021-09-21T07:00:23Z | - |
dc.date.available | 2021-09-21T07:00:23Z | - |
dc.date.issued | 2563 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76754 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเนื้อหาและรูปแบบการสร้างแบบฝึกพาวเวอร์คอร์ดออนไลน์เพื่อพัฒนาชีพจรจังหวะสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 2) พัฒนาแบบฝึกพาวเวอร์คอร์ดออนไลน์เพื่อพัฒนาชีพจรจังหวะสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก 2) แบบทดสอบทักษะการปฏิบัติ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ 4) แบบประเมินแบบฝึกพาวเวอร์คอร์ด กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการสอนกีตาร์ไฟฟ้า และนักกีตาร์ที่มีชื่อเสียงทางด้านกีตาร์ไฟฟ้าสไตล์ร็อค ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. เนื้อหาและรูปแบบการสร้างแบบฝึกพาวเวอร์คอร์ดออนไลน์ด้านเนื้อหาประกอบไปด้วย 1) เนื้อหาที่เกี่ยวกับพาวเวอร์คอร์ด 2) คำอธิบายเกี่ยวกับโน้ตบนคอกีตาร์ของสายที่หกและสายที่ห้า 3) เทคนิคและแบบการฝึกปฏิบัติมือขวา 4) แบบฝึกที่พัฒนานำมาจากบทเพลงจริง 5) การสาธิตตัวอย่างก่อนเข้าแบบฝึก 6) แบบสาธิตการฝึกฝนที่ถูกและการฝึกฝนที่ผิด ในด้านรูปแบบประกอบไปด้วย 1) องค์ประกอบของภาพและเสียง ต้องมีคุณภาพ มีการใช้กราฟฟิกในการเน้นเนื้อหาที่ต้องการให้ผู้เรียนจดจำ 2) บุคลิกภาพ การแต่งกายของผู้สอนที่เหมาะสม และบรรยากาศสถานที่ถ่ายทำที่สร้างแรงจูงใจในการเรียน 3) การบรรยายถึงวิธีการปฏิบัติประกอบระหว่างการสาธิต 4) มุมกล้องที่ถ่ายทำที่สามารถแสดงภาพของการเล่นที่เจาะจงและมีความชัดเจน เพื่อให้ผู้ฝึกสามารถเรียนรู้และปฏิบัติได้ด้วยตนเอง 2. ผลการประเมินคุณภาพแบบฝึกพาวเวอร์คอร์ดออนไลน์จากผู้เชี่ยวชาญทางด้านการสอนกีตาร์ไฟฟ้าทั้งหมด 5 ท่านพบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.96, SD = 0.06) และจากการพัฒนาแบบฝึกยังพบว่า การฝึกปฏิบัติพาวเวอร์คอร์ดเพื่อพัฒนาชีพจรจังหวะให้สัมฤทธิ์ผลนั้น ควรให้ความสำคัญกับการปฏิบัติมือขวาเช่นเดียวกับการเล่นมือซ้าย โดยมุมกล้องควรเน้นให้เห็นการปฏิบัติของมือขวาที่ชัดเจนทุกครั้ง เนื่องจากการสร้างจังหวะเกิดขึ้นจากการดีดขึ้น-ลงของมือขวา นอกจากนี้ควรใช้เสียงเมโทรนอมเพื่อช่วยการนับจังหวะจริงก่อนเริ่มแบบฝึก เพื่อให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์แบบฝึก | - |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were as follows: 1) to examine the content and components of creating online power chord exercises on steady beat controlling for primary school students and 2) to develop the online power chord exercises on steady beat controlling for primary school students. The research and development methodology was applied in this study with in-depth interviews, practice tests, satisfaction evaluation and quality assessment filled by participants. The participants consisted of primary school students, electric guitar teaching experts and well-known electric guitarists. The results of the study were as follows: 1. The development and components of online power chord exercises consisted of; 1) power chord related information, 2) narratives of the musical notes on the fifth and sixth strings, 3) techniques for practicing with the strumming-hand, 4) exercises developed from mainstream songs, 5) pre-exercise demonstration by the teacher, and 6) demonstration on the difference between proper practices and common mistakes during exercises. The presentation components include the following key elements: 1) high-quality visual and audio elements are essential, including graphic visualization to emphasize all important concepts; 2) the teacher’s personality and gestures must be considered along with the location, to facilitate a good learning environment. 3) the communication and instruction must be clear and understandable during the demonstration. 4) the camera angles and focal lengths should be appropriate, so that the practitioner can follow and practice independently. 2. According to the findings of the quality assessment of online power chord exercises by five electric guitar teaching experts, the exercises are effective at the highest levels (M = 4.96, SD = 0.06). From the perspective of online power-chord exercise development, it was also found that effective exercises for steady beat controlling should emphasize strumming-hand practice as well as fretting-hand practice, with camera angles focusing predominantly on the strumming-hand’s movement. This is because rhythm is generated through strumming. In addition, a metronome should be used along with each exercise to help students keep track of steady beats to be compliant with the aims and objectives of the exercises. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.689 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | กีตาร์ -- การศึกษาและการสอน | - |
dc.subject | จังหวะดนตรี | - |
dc.subject | Guitar -- Instruction and study | - |
dc.subject | Musical meter and rhythm | - |
dc.subject.classification | Social Sciences | - |
dc.title | การพัฒนาแบบฝึกพาวเวอร์คอร์ดออนไลน์เพื่อพัฒนาชีพจรจังหวะสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย | - |
dc.title.alternative | Development of online power-chord exercises on steady beat controlling for primary school students | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | ดนตรีศึกษา | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2020.689 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6280072327.pdf | 5.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.