Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76774
Title: การพัฒนานวัตกรรมการสอนประวัติศาสตร์ศิลป์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ระดับประถมศึกษาตอนปลาย
Other Titles: Development of art history innovation for improving cross-cultural understanding in elementary
Authors: สุภิญญา สมทา
Advisors: อินทิรา พรมพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการพัฒนานวัตกรรมการสอนประวัติศาสตร์ศิลป์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ระดับประถมศึกษาตอนปลาย  และ 2) เพื่อพัฒนาการสอนประวัติศาสตร์ศิลป์ให้เด็กวัยประถมศึกษาตอนปลาย มีความเข้าใจมีความสามารถในการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมเพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข งานวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 ระยะศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง จำนวน 9 ท่าน โดยใช้วิธีเลือกเฉพาะเจาะจง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ 4 ด้าน ด้านการสอนประวัติศาสตร์ศิลป์ ด้านการเรียนการสอนศิลปศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ด้านการสอนในบริบทการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม และด้านการพัฒนานวัตกรรมการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนานวัตกรรม ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ระยะที่ 2 ระยะพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในในการวิจัยคือ ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง จำนวน 9 ท่าน โดยใช้วิธีเลือกเฉพาะเจาะจง และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) นวัตกรรมการสอนประวัติศาสตร์ศิลป์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ระดับประถมศึกษาตอนปลาย 2) แบบประเมินคุณภาพนวัตกรรม 3) แบบวัดทักษะการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม และ 4) แบบสัมภาษณ์ผู้เรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ สถิติ t-test และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการพัฒนานวัตกรรมการสอนประวัติศาสตร์ศิลป์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ระดับประถมศึกษาตอนปลาย ได้แก่ การพัฒนาชุดสื่อการเรียนรู้หลายมิติ โดยใช้เนื้อหาประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตกในเชิงเปรียบเทียบและบูรณาการ เพื่อสร้างทักษะการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ให้แก่ผู้เรียนในวัยประถมศึกษาตอนปลาย ประกอบด้วยองค์ประกอบ 6 ประการ ได้แก่ แนวทางคำนึงถึงผู้เรียนเป็นหลัก แนวคิดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง จุดประสงค์ 3 ด้าน (ความรู้ ทักษะ ลักษณะนิสัย) วิธีการสอนแบบเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เนื้อหาที่เหมาะสมและใกล้ตัวผู้เรียน และสื่อหลากหลายประเภท ทั้งเทคโนโลยีที่สร้างอารมณ์และความสนุกสนาน นำมาซึ่ง 2) นวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นชื่อว่า “History of Art… การเดินทางของศิลปะ” โดยเป็นชุดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ศิลปะสำหรับเด็กประถมศึกษาตอนปลาย โดยประกอบด้วย คู่มือการใช้ หนังสือ คลิปวิดิโอ วัสดุอุปกรณ์กิจกรรมศิลปะ เกมการ์ด การเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีผ่าน QR CODE ที่อยู่ในรูปแบบของชุดกิจกรรม (Activities Package) รวมทั้งรูปแบบการประเมินผลผ่านแบบวัดทักษะการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม และแบบสัมภาษณ์ผู้เรียน จุดเด่นของนวัตกรรมนี้คือการสอนแบบเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นหลัก เชื่อมโยงระหว่างองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์ศิลป์ วัฒนธรรมตะวันตกและวัฒนธรรมไทย เพื่อให้เกิดการวิเคราะห์และสังเคราะห์ นำไปสู่ทักษะการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม มีเนื้อหาจำนวน 6 บทเรียน มีผลการประเมินคุณภาพนวัตกรรมจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 9 ท่านใน 4 ด้านได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านการออกแบบ ด้านวัตถุประสงค์ และด้านการเรียนรู้ที่เหมาะสมมาก โดยผู้เรียนให้ความเห็นเกี่ยวกับนวัตกรรมว่า รู้สึกชอบ สนุกสนานเพลิดเพลิน ได้ความรู้ เข้าใจที่มาของศิลปะ มีความกระตือรือร้นอยากทำงานศิลปะที่หลากหลาย
Other Abstract: The objectives of this research were to 1) study guideline to improve art history teaching innovation for improving cross—cultural understanding in elementary and 2) develop art history teaching in elementary for cross-cultural understanding and live happily in society. This research separates to 2 phases. First, study phase. The sample groupwas specific selected, 9 experts in 4 fields. Including Art history, Teaching Art in elementary, Cross-cultural Learning and Innovation development. The research instrument was Interview forms the guideline. Statistical data analysis by qualitative data analysis. Second, develop phase. The sample groups were specific selected, 9 experts in 4 fields and were selected by cluster sampling, 30 students in P.5 Satit Chulalongkorn University school. The research instruments were 1) Art history innovation for improving cross-cultural understanding in elementary 2) Quality assessment form 3) Pre&Posttest in cross-cultural skill 4) Student’s interview form. Statistical data analysis by using mean, standard deviation, t-test and qualitative data. The research findings were as follows: 1) guideline to improve art history teaching innovation for improving cross—cultural understanding in elementary: Instructional media develop from west art history comparison and integration for cross-cultural understanding in elementary students.  including 6 elements: guideline to student center, self-directed learning concept, 3 objectives in knowledge, practice and attitude, narrative learning, appropriate contents and multimedia with technology. 2) The innovation was called “History of Art… การเดินทางของศิลปะ” which art history learning for elementary including packaging, manual, book, video clip, art materials, game card and QR CODE learning. The innovation is in activities package design. This innovation’s concept is teaching strategy by student center. Teaching by narration with technology and linked between art history culture in west and Thai. The result of Quality assessment in 4 fields, Content, Design, Objectives and Learning was very suitable. Student’s interview form showed students appreciated in innovation, enjoyed, understand knowledge and history of art, enthusiastic to do art.  
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศิลปศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76774
URI: http://www.doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1212
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.1212
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280156427.pdf7.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.