Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77001
Title: | สภาวะที่เหมาะสมในการแสดงออกของโปรตีนออสที่โอพอนทินในพืชโดยใช้เจมินีไวรัลเวคเตอร์ |
Other Titles: | Optimization of osteopontin protein expression in plant using geminiviral vectors |
Authors: | พีรวัส พัฒนประยูรวงศ์ ดุษฎี โล้วพฤกษ์มณี ธนพร หิรัญสถิต |
Advisors: | วรัญญู พูลเจริญ |
Other author: | คณะเภสัชศาสตร์ |
Subjects: | วิศวกรรมเนื้อเยื่อ Tissue engineering เทคโนโลยีชีวภาพพืช Plant biotechnology |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิศวกรรมเนื้อเยื่อเป็นเทคโนโลยีที่มุ่งปรับปรุงหรือทดแทนเนื้อเยื่อและอวัยวะที่เสียหาย โปรตีนรีคอมบิแนนท์ หลายชนิดมีความจำเป็นต้องนำมาใช้ในงานวิศวกรรมเนื้อเยื่อเพื่อปรับปรุงหรือทำหน้าที่ทางชีวภาพทดแทน ซึ่งนำไปสู่ค่าใช้จ่ายของเทคโนโลยีที่สูงมาก ดังนั้นคนจำนวนมากในประเทศกำลังพัฒนาจึงไม่สามารถเข้าถึงการรักษาได้ ใน ปัจจุบันพืชมีการนำมาใช้เป็นแหล่งผลิตโปรตีนรีคอมบิแนนท์หลายชนิด เนื่องจากข้อดีหลายประการของพืชที่ เหนือกว่าระบบอื่นๆ เช่น ต้นทุนการผลิตต่ำ ความสามารถในการขยายปริมาณการผลิต ปราศจากเชื้อโรคที่ก่อให้เกิด โรคในมนุษย์และกระบวนการปรับแต่งโปรตีนที่จำเป็นของสิ่งมีชีวิตจำพวกยูคารีโอต ข้อมูลเบื้องต้นในห้องทดลอง พบว่าโปร์ตีนออสทีโอพอนทินเป็นหนึ่งในโปรตีนที่มีศักยภาพในการกระตุ้นการงอกของกระดูก วัตถุประสงค์ของ การศึกษานี้คือ เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมในการแสดงออกของโปรตีนออสทีโอพอนทินในใบยาสูบ (Nicotiana benthamiana) โดยอะโกรแบคทีเรีย GV3 101 ถูกนำมาใช้สำหรับการถ่ายโอนยีนออสทีโอพอนทินในเวคเตอร์เจมินิ ไวรัลเข้าสู่เซลล์พืช ความหนาแน่นของอะโกรแบคทีเรียถูกเปรียบเทียบที่ 600 nm (OD600) 0.125 ถึง 0.8 ผลการ ทดลองแสดงให้เห็นว่าที่ OD600 0.5 เป็นความหนาแน่นของอะโกรแบคทีเรียที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการแสดงออกของโปรตีนออสทึโอพอนทิน งานวิจัยก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่า ยืน p19 สามารถยับยั้งการยับยั้งกระบวนการ gene silencing ได้ ผลการทดลองนี้จึงเป็นการยืนยันว่า การร่วมกันของเวกเตอร์ p19 กับเวกเตอร์ที่มียีนออนที่โอพอนทิน สามารถเพิ่มระดับการแสดงออกของโปรตีนออสที่โอพอนทินได้ นอกจากนี้ใบยาสูบถูกเก็บระหว่าง 1-5 วันหลังการส่งถ่ายยีน และถูกนำไปวิเคราะห์การแสดงออกของโปรตีนออสทีโอพอนทินโดยใช้เทคนิค SDS-PAGE และ Western blot การแสดงออกของออสที่โอพอนทินสูงที่สุดที่วันที่ 3 หลังถูกส่งถ่ายยีน การศึกษานี้เป็นการเสนอแนะถึงสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตโปรตืนออสที่โอพอนทินในพืช ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการผลิตโปรตีนเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาเทคนิควิศวกรรมเนื้อเยื่อในอนาคต |
Description: | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาเภสัชศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาการค้นพบและพัฒนายา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2559 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77001 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Pharm - Senior projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pharm_SeniorProject_3.8_2559.pdf | ไฟล์โครงงานทางวิชาการฉบับเต็ม(3.8-2559) | 806.66 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.