Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77669
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorไพฑูรย์ คงสมบูรณ์-
dc.contributor.authorพลชา บูรณกาญจน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-10-29T08:57:53Z-
dc.date.available2021-10-29T08:57:53Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77669-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563en_US
dc.description.abstractปัจจุบันธนาคารในประเทศไทย ได้มีการให้บริการผลิตภัณฑ์ด้านสินเชื่อให้แก่ลูกหนี้ในหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อภายในประเทศ เช่น ตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Notes: PN) หรือสินเชื่อสำหรับการเข้าทำธุรกรรมระหว่างประเทศ เช่น สินเชื่อเพื่อการนำเข้าและส่งออก (Trade Finance) รวมไปถึงการให้บริการการออกหนังสือค้ำประกันต่างประเทศ (Standby Letter of Credit: SBLC) โดยการให้บริการออกหนังสือค้ำประกันต่างประเทศ หรือ Standby Letter of Credit (“SBLC”) ของธนาคารนั้น มีวัตถุประสงค์สำหรับกรณีที่ลูกหนี้จะเข้าทำนิติกรรมสัญญากับบุคคลอื่น ไม่วาจะเป็นสัญญาการดำเนินงาน หรือสัญญาที่มีข้อผูกพันต้องชำระเงินต่างๆ โดยคู่สัญญาอีกฝ่ายนั้นจะมีความเสี่ยงจากการที่ลูกหนี้จะไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้อย่างครบถ้วน และก่อให้เกิดความเสียหาย เช่น ไม่สามารถปฎิบัติหรือส่งมอบงานได้ตามกำหนดเวลา หรือไม่สามารถชำระเงินได้ครบตามที่กำหนดไว้ เป็นต้น เพื่อป้องกันความเสี่ยงดังกล่าวคู่สัญญาอีกฝ่ายจึงได้มีข้อกำหนดให้ลูกหนี้ต้องนำหนังสือค้ำประกันที่ออกโดยธนาคารวางเข้าค้ำประกันสำหรับการดำเนินงาน หรือการเข้าทำสัญญาต่างๆ ดังนั้นลูกหนี้จึงมีคำขอออกหนังสือค้ำประกันมายังธนาคารที่ตนมีวงเงินสินเชื่ออยู่ เพื่อให้ธนาคารออกหนังสือค้ำประกันต่างประเทศและเข้าไปผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันให้แก่ลูกหนี้บนสัญญาประธานต่างๆ ที่ลูกหนี้ได้เข้าทำนิติกรรมกับคู่สัญญาอีกฝ่าย ต่อมาหากลูกหนี้ไม่สามารถปฎิบัติตามสัญญาประธานดังกล่าวได้ คู่สัญญาอีกฝ่ายในฐานะผู้รับผลประโยชน์มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ธนาคารชำระหนี้แทนตามจำนวนเงินที่ระบุในหนังสือค้ำประกันต่างประเทศแต่ละฉบับ ดังนั้นการที่ธนาคารเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันผ่านการออกหนังสือค้ำประกันต่างประเทศ จะเป็นการสร้างความมั่นใจแก่ผู้รับผลประโยชน์ว่าหากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แล้วก็จะสามารถเรียกให้ธนาคารชำระหนี้แทนได้ และธนาคารก็มีสิทธิที่จะมาไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้ตามในภายหลังได้ ทั้งนี้หากลูกหนี้ตามสัญญาสินเชื่อของธนาคารเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ และอยู่ในสภาวะการพักชำระหนี้ (Automatic Stay) ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2541) มาตรา 90/12 คำสั่งสภาวะการพักชำระหนี้ตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวไม่ได้มีผลไปถึงคู่สัญญาที่อยู่ในต่างประเทศ ดังนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันคือหากลูกหนี้ได้มีการเข้าทำสัญญาที่มีข้อผูกพันต้องชำระเงินแก่เจ้าหนี้ต่างประเทศ โดยสัญญาดังกล่าวถูกค้ำประกันโดยหนังสือค้ำประกันต่างประเทศที่ออกจากธนาคารในประเทศไทย ต่อมาหากลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประธาน เจ้าหนี้ต่างประเทศยังคงบังคับชำระหนี้ดังกล่าวผ่านการเรียกร้องให้ชำระหนี้ใต้ความผูกพันตามหนังสือค้ำประกันต่างประเทศที่ธนาคารได้มีการออกเพื่อค้ำประกันไว้ ซึ่งโดยทั่วไปธนาคารมีหน้าที่ที่จะต้องชำระทันทีโดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิดของลูกหนี้ โดยปัจจุบันเกิดปัญหาขึ้นว่าธนาคารสามารถมาไล่เบี้ยกับลูกหนี้ขณะที่ลูกหนี้อยู่ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการได้อย่างไร และกรณีที่ลูกหนี้ได้มีการมอบหลักประกันเป็นการจดทะเบียนทางธุรกิจหลักประกันบัญชีเงินฝากไว้ ธนาคารสามารถบังคับหลักประกันดังกล่าวเพื่อมาชำระหนี้ได้ทันทีหรือไม่ หรือจะต้องมีการยื่นขอรับชำระหนี้ตามกระบวนการฟื้นฟูกิจการ และรอรับชำระหนี้ตามแผนของลูกหนี้ในภายหลัง ซึ่งธนาคารในฐานะเป็นเจ้าหนี้ที่มีหลักประกันอาจจะไม่ได้รับชำระหนี้ตามที่ควรจะเป็นซึ่งจะขึ้นอยู่กับแผนฟื้นฟูกิจการที่ผู้นำแผนจะนำส่งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และจะต้องเป็นไปตามความเห็นชอบของเจ้าหนี้ทั้งหมด จากประเด็นปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นว่าคำสั่งสภาวะการพักชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2541) ยังไม่สามารถระงับการบังคับชำระหนี้จากเจ้าหนี้ประเทศได้ อันส่งผลให้เกิดความเสียหายและความเสี่ยงต่อธนาคารในฐานะที่เป็นผู้ค้ำประกัน รวมถึงตัวลูกหนี้เองที่อาจจะไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการฟิ้นฟูได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงควรศึกษาถึงบทบัญญัติของกฎหมายไทยที่จะเข้ามาคุ้มครองลูกหนี้และธนาคารจากการเรียกรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ต่างประเทศระหว่างที่ลูกหนี้อยู่ในระหว่างกระบวนการฟื้นฟูกิจการen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.158-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- ค้ำประกันen_US
dc.subjectลูกหนี้en_US
dc.titleสิทธิของธนาคารในฐานะผู้ออกหนังสือค้ำประกันต่างประเทศ: ศึกษากรณีลูกหนี้นำเงินฝากมา เป็นหลักประกัน และอยู่ระหว่างกระบวนการฟื้นฟูกิจการen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.subject.keywordการพักชำระหนี้en_US
dc.subject.keywordกระบวนการฟื้นฟูกิจการen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2020.158-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280058434.pdf3.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.