Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79076
Title: การแปลภาษาถิ่นจาเมกาในนวนิยายยุคหลังอาณานิคม เรื่อง The Book of Night Women  โดย มาร์ลอน เจมส์
Other Titles: Translation of Jamaican dialect in the postcolonial novel – the book of night women by Marlon James
Authors: หรรษา ต้นทอง
Advisors: แพร จิตติพลังศรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Subjects: การแปลและการตีความ
จาเมกา -- ภาษาถิ่น
จาเมกา
James, Marlon. The Book of Night Women
Translating and interpreting
Jamaica -- Dialectology
Jamaica
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สารนิพนธ์ฉบับนี้ เป็นการศึกษาแนวทางการแปลภาษาถิ่นจาเมกาในวรรณกรรมยุคหลังอาณานิคมเรื่อง The Book of Night Women ของ Marlon James ซึ่งเป็นนวนิยายที่สะท้อนถึงความหลากหลายทางภาษา ชาติพันธุ์และวัฒนธรรมในประเทศจาเมกาผ่านการใช้ภาษาของผู้เขียน ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิดหลังอาณานิคม แนวคิดวรรณกรรมยุคหลังอาณานิคม ลักษณะภาษาถิ่นจาเมกา ลักษณะภาษาไทยถิ่นอีสานและภาษาไทยถิ่นโคราช ลักษณะภาษาเก่า รวมทั้งแนวทางการแปลภาษาถิ่นและภาษาต่างมาตรฐานอื่น ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางการแปลที่รักษาความหลากหลายทางภาษาที่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรมของประเทศจาเมกา ผลการวิจัยพบว่าการแปลเพื่อรักษาความหลากหลายทางภาษาซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายของสารนิพนธ์ฉบับนี้ทำได้โดยการวิเคราะห์ลักษณะภาษาที่ใช้ในตัวบทต้นฉบับและนำมาเทียบเคียงกับลักษณะของภาษาไทยถิ่นอีสานและภาษาไทยถิ่นโคราชเพื่อถ่ายทอดภาษาที่แตกต่างกันไปตามเชื้อชาติของตัวละคร เกิดเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาการแปลที่สามารถถ่ายทอดความหลากหลายทางภาษาจนนำไปสู่การถ่ายทอดต้นฉบับได้อย่างใกล้เคียง นอกจากนี้ แนวทางการแปลนี้ยังแสดงให้เห็นถึงการใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการต่อต้านอำนาจอาณานิคมและช่วยส่งเสริมการแสดงออกถึงอัตลักษณ์และตัวตนของคนที่ใช้ภาษาที่ไม่ใช่ภาษาศูนย์กลาง
Other Abstract: This study aims to create the strategy for translating the Jamaican Creole dialect in The Book of Night Women by Marlon James, a postcolonial novel that reflects linguistics, ethnics and cultural diversities in Jamaica. Various concepts have been applied in this study, including Postcolonial concepts of language, characteristics of Jamaican Creole and Thai dialects namely I-san (North-eastern) and Korat, archaic language, and strategies in translating dialects and non-standard English in order to device translation strategies that are able to maintain linguistic heterogeneity and represent social and cultural diversities in Jamaica. The study reveals that the translation strategy that meets the purpose of this study can be achieved by analysing the linguistic features of the source text and comparing them to the features of Thai I-san and Korat dialects in order to convey linguistic diversity that represents race and ethnicity of each character. This strategy offers solutions to the research question and the translation approach that reflects the source text’s heterogeneity. In addition, this translation strategy also demonstrates the use of language as a tool for resisting colonial power and gives more prominent voice to people who use non-standard languages.
Description: สารนิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การแปลและการล่าม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79076
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.220
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2021.220
Type: Independent Study
Appears in Collections:Arts - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6180341922.pdf2.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.