Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79183
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ประณัฐ โพธิยะราช | - |
dc.contributor.advisor | ชวนชม อ่วมเนตร | - |
dc.contributor.author | คุณานนต์ ภัสสรภาคย์ | - |
dc.contributor.author | ธนพร ทรัพย์โชคพูล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2022-07-07T09:07:58Z | - |
dc.date.available | 2022-07-07T09:07:58Z | - |
dc.date.issued | 2563 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79183 | - |
dc.description | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพอลิเมอร์และสิ่งทอ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563 | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มุ่งเน้นในการพัฒนาวัสดุเชิงประกอบพอลิเมอร์ผสมพอลิไฮดรอกซีบิวทิเรต/พอลิแลกติก-แอซิดและไฮดรอกซีอะพาไทต์ สำหรับกระบวนการพิมพ์สามมิติระบบฉีดเส้นพลาสติก (FDM) เพื่อนำมาใช้ในการผลิตวัสดุทดแทนกระดูก เริ่มจากการหาปริมาณพลาสติไซเซอร์ที่เหมาะสม โดยกำหนดพลาสติไซเซอร์ที่ปริมาณต่าง ๆ (10 20 และ 30 ส่วนต่อพอลิเมอร์และไฮดรอกซีอะพาไทต์ 100 ส่วน) จากนั้นเตรียมเส้นวัสดุเชิงประกอบด้วยเครื่องอัดรีดแบบเกลียวคู่ โดยมีการกำหนดไฮดรอกซีอะพาไทต์ในปริมาณต่าง ๆ (10% 20% และ 30% โดยน้ำหนัก) และทำการศึกษาสมบัติต่าง ๆ ได้แก่ สมบัติทางความร้อน ความสามารถในการไหล สัณฐานวิทยา จากนั้นทดสอบความสามารถในการเตรียมชิ้นงานจากวัสดุเชิงประกอบด้วยการพิมพ์สามมิติระบบฉีดเส้นพลาสติก (FDM) รวมทั้งทดสอบสมบัติเชิงกลของชิ้นงานที่ได้ ผลการทดลองพบว่าปริมาณพลาสติไซเซอร์ที่เหมาะสม คือ 10 ส่วนต่อพอลิเมอร์และไฮดรอกซีอะพาไทต์ 100 ส่วน และจากการทดสอบความสามารถในการไหล พบว่าที่ปริมาณไฮดรอกซีอะพาไทต์ 10% โดยน้ำหนัก มีความสามารถในการไหลที่ดีและค่อนข้างสม่ำเสมอ แต่เมื่อเพิ่มปริมาณของไฮดรอกซีอะพาไทต์ ความสามารถในการไหลของวัสดุเชิงประกอบลดลง ในการตรวจสอบสัณฐานวิทยาพบว่า ที่ปริมาณไฮดรอกซีอะพาไทต์ 10% โดยน้ำหนัก เกิดการกระจายตัวได้ดีในพอลิเมอร์ และเมื่อเพิ่มปริมาณไฮดรอกซีอะพาไทต์ เป็น 20% และ 30% โดยน้ำหนัก พบการเกาะกลุ่มกันของไฮดรอกซีอะพาไทต์ ในการทดสอบสมบัติเชิงกลพบว่า ที่ปริมาณไฮดรอกซีอะพาไทต์ 10% โดยน้ำหนัก ให้ค่าความทนแรงกระแทก ค่ามอดุลัสดัดโค้ง และค่าความเค้นดัดโค้งที่ระยะยืด 2% สูงที่สุด จึงสรุปได้ว่าที่ปริมาณไฮดรอกซีอะพาไทต์ 10% โดยน้ำหนัก วัสดุเชิงประกอบมีสมบัติเชิงกลที่เพียงพอต่อการนำไปใช้เป็นแบบจำลองโครงเลี้ยงเซลล์กระดูก อย่างไรก็ตาม จากการทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ พบว่าพอลิโพรพิลีนไกลคอลเกรดที่นำมาใช้เป็นพลาสติไซเซอร์ในงายวิจัยนี้มีความพิษต่อเซลล์ ดังนั้นจึงควรมีการปรับเปลี่ยนใช้พอลิโพรพิลีนไกลคอลเกรดที่ไม่เป็นพิษ หรือใช้พลาสติไซเซอร์ชนิดอื่นที่ไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ | en_US |
dc.description.abstractalternative | This research focused on the development of composite materials from PHB/PLA and hydroxyapatite by FDM 3D-printing for bone tissue engineering. The first step focuses on finding the optimum amount of plasticizer at a concentration of 10, 20, or 30 phr. Composite filament was prepared by using a twin-screw extruder and. The hydroxyapatite content in the composite are 10%, 20%, and 30%wt. Thermal, flow, morphological properties were analyzed. Then we prepared the specimens from composite filament by using FDM 3D-printer. Mechanical properties of the specimens were analyzed. The results showed that the optimum plasticizer content was 10 phr. From the flowability test we found that 10%wt hydroxyapatite had good flowability and consistency but when increasing the content of hydroxyapatite, flowability was worsen. For morphological properties, the experiment showed that at 10%wt hydroxyapatite, it was well dispersed in the polymer and when increasing the content of hydroxyapatite, it caused the agglomeration of hydroxyapatite. From the mechanical property tests, the impact strength, flexural modulus and flexural stress at 2% strain are highest at 10%wt hydroxyapatite. In conclusion, PHB/PLA composite with 10%wt hydroxyapatite had sufficient mechanical properties to be used as a scaffold model. However, the cytotoxicity test found that polypropylene glycol grade used as plasticizers in this study was cytotoxic. Therefore, a non-toxic grade of polypropylene glycol or other types of non-toxic plasticizers should be used. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | Polylactic acid | en_US |
dc.subject | Hydroxyapatite | en_US |
dc.subject | Polymeric composites | en_US |
dc.subject | กรดโพลิแล็กติก | en_US |
dc.subject | ไฮดรอกซีอะพาไทต์ | en_US |
dc.subject | วัสดุเชิงประกอบโพลิเมอร์ | en_US |
dc.title | วัสดุเชิงประกอบพอลิเมอร์ผสมพอลิไฮดรอกซีบิวทิเรต/พอลิแลกติกแอซิด และไฮดรอกซีอะพาไทต์ที่ขึ้นรูปด้วยการพิมพ์สามมิติ | en_US |
dc.title.alternative | 3D-Printed Polyhydroxybutyrate/Polylactic acid/Hydroxyapatite Composite Materials | en_US |
dc.type | Senior Project | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
63-SP-MATSCI-004 - Kunanon Passarapark.pdf | 1.7 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.