Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79639
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสืบสกุล นรินทรางกูร ณ อยุธยา-
dc.contributor.authorธรรมวรรธน์ สุติวรรธนวัตร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-07-23T04:30:44Z-
dc.date.available2022-07-23T04:30:44Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79639-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษากรอบแนวคิดสมรรถนะครูฝึกอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีและวิธีการพัฒนาครูฝึกในสถานประกอบการ 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาครูฝึกในสถานประกอบการ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาครูฝึกในสถานประกอบการตามแนวคิดสมรรถนะครูฝึกอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีแบบ mixed-methods sequential explanatory design ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูฝึกในสถานประกอบการในเครือข่ายร่วมกับ 18 วิทยาลัยอาชีวศึกษาของรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร  ตัวอย่างผู้ให้ข้อมูล คือ ครูฝึกในสถานประกอบการและครูนิเทศจากสถานอาชีวศึกษา รวม 402 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมิน แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น PNImodified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) กรอบแนวคิดสมรรถนะครูฝึกอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ประกอบด้วยกลุ่มสมรรถนะสำคัญ 4 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มสมรรถนะด้านวิชาชีพ (2) กลุ่มสมรรถนะด้านเจตคติ (3) กลุ่มสมรรถนะด้านการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี (4) กลุ่มสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้  และกรอบแนวคิดวิธีการพัฒนาครูฝึกในสถานประกอบการ ประกอบด้วยรูปแบบการพัฒนา 3 รูปแบบ ได้แก่ (1) การพัฒนาในเวลาปฏิบัติงาน (2) การพัฒนานอกเวลาปฏิบัติงาน (3) การพัฒนาในรูปแบบผสมผสาน  2) สภาพปัจจุบันของการพัฒนาครูฝึกในสถานประกอบการสำหรับเครือข่ายสถานศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร ตามแนวคิดสมรรถนะครูฝึกอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ทั้ง 4 กลุ่มสมรรถนะอยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่สภาพที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยรูปแบบการพัฒนาที่มีต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การพัฒนาในเวลาปฏิบัติงาน รองลงมาคือ การพัฒนานอกเวลาปฏิบัติงาน และการพัฒนาแบบผสมผสาน ตามลำดับ  3) แนวทางการพัฒนาครูฝึกในสถานประกอบการ ตามแนวคิดสมรรถนะครูฝึกอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี มีทั้งหมด 7 แนวทาง ดังนี้ สำหรับกลุ่มสมรรถนะทางวิชาชีพ (1) พัฒนาความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะวิชาชีพสู่การปฏิบัติ (2) พัฒนาความสามารถในการเลือกและใช้เครื่องมือ แหล่งเรียนรู้ เพื่อการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย และสำหรับกลุ่มสมรรถนะทางการจัดการเรียนรู้ (3) พัฒนาความสามารถในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (4) พัฒนาความความสามารถในการวิเคราะห์ผู้เข้ารับการฝึกอบรม (5) พัฒนาความสามารถในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ (6) พัฒนาทักษะการสื่อสารและการถ่ายทอดความรู้ และ (7) พัฒนาความสามารถในการเขียนแผนการฝึกอาชีพ และสามารถเลือกผสมผสานวิธีการอบรมเพื่อความเหมาะสมต่อสภาพแวดล้อมของสถานประกอบการ-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research were 1) to study the conceptual framework of in-company trainers’ competencies based on concept of dual vocational education and methods of development 2) to explore the current and desirable states of development of in-company trainers 3) to propose approaches for development of in-company trainers based on the concept of trainer competency for the dual vocational education (DVE). The population used in this research were in-company trainers under a network of 18 public vocational colleges in Bangkok.  The research informants consisted of 384 in-company trainers and 18 college supervisors. The mixed-methods sequential explanatory research design was employed through conceptual framework mapping, a 5-point rating scale questionnaire, and appropriability and possibility assessment. The data were analyzed by frequencies, percentages, means, standard deviation, PNImodified and content analysis. The research findings showed: 1) the conceptual framework about DVE in-company trainer’s competencies consisted of 4 clusters (1) Occupational Practice (2) Attitude (3) DVE Management (4) Learning Management; with 3 developmental dimensions (1) On-the-Job Development (2) Off-the-Job Development (3) Mixed-method Development  2) the overall current and desirable states of the in-company trainers’ competency development were at moderate and highest level respectively.  The most needed developmental pattern was on-the-job development followed by off-the-job and blended development.  3)  Proposed approaches are to develop seven in-company trainers’ competencies under two domains: With regard to the Occupational Practice domain (1) applying professional knowledge and skills into practice, (2) selecting and using tools and learning resources for effective and safe operations; and with regard to the Learning Management domain, (3) measuring and evaluating learning outcomes, (4) analyzing trainees’ background, (5) applying information technology for learning, (6) communication skills and knowledge transfers and (7) developing lesson plans. In addition, it is recommended to adjust and blend training methods to match a specific company’s learning environment.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.718-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectครูอาชีวศึกษา -- การฝึกอบรม-
dc.subjectอาชีวศึกษา-
dc.subjectVocational teachers -- Training of-
dc.subjectVocational education-
dc.subject.classificationSocial Sciences-
dc.titleแนวทางการพัฒนาครูฝึกในสถานประกอบการ สำหรับเครือข่ายสถานศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร ตามแนวคิดสมรรถนะครูฝึกอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี-
dc.title.alternativeApproaches for development of in-company trainers For public vocational college network in Bangkok Based on the concept of trainer competencies For dual vocational education-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2021.718-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6183337027.pdf3.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.