Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81338
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สิริกัญญา โฆวิไลกูล | - |
dc.contributor.author | บุณฑริกา เทพารักษ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2022-12-01T06:42:16Z | - |
dc.date.available | 2022-12-01T06:42:16Z | - |
dc.date.issued | 2563 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81338 | - |
dc.description | เอกัตศึกษา น.ม. (การเงิน/ภาษีอากร)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 | en_US |
dc.description.abstract | เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเรื่องการนำกิจการมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจเพื่อศึกษาเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการนำกิจการมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 เอกัตศึกษานี้ดำเนินการศึกษาโดยวิธีวิจัยทางเอกสารเกี่ยวกับกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องในการรับกิจการเป็นหลักประกันทางธุรกิจเพื่อขอสินเชื่อ โดยศึกษาทั้งกฎหมายของประเทศไทยและกฎหมายของต่างประเทศ และวิเคราะห์ปัญหาที่เกี่ยวกับการรับกิจการเป็นหลักประกันของกฎหมายและหลักเกณฑ์ต่างๆ ของไทยและศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศอังกฤษและประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นแม่แบบในการนำหลักกฎหมายมาร่างพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 ของประเทศไทย และนำมาวิเคราะห์ถึงปัญหาเกี่ยวกับการรับกิจการเป็นหลักประกันทางธุรกิจของไทยที่มีอัตราที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับการรับหลักประกันทางธุรกิจประเภทอื่น งานวิจัยนี้พบว่า ปัญหาการไม่รับหลักประกันทางธุรกิจประเภทกิจการเพราะผู้รับหลักประกันมีความกังวลเกี่ยวกับการบังคับหลักประกัน วิธีการในการประเมินมูลค่าและคุณสมบัติของผู้ประเมินมูลค่าและผู้บังคับหลักประกัน ทำให้ไม่เกิดการรับหลักประกันประเภทกิจการได้จริงในทางปฏิบัติวิจัยนี้เสนอให้ตรากฎหมายเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ในการประเมินมูลค่ากิจการให้ใช้วิธี 4 วิธีในการประเมินและต้องประเมินมูลค่าปีละครั้งและเพิ่มทางเลือกกรณีบังคับกิจการให้สามารถเลือกได้ว่าจะบังคับกิจการออกขายหรือเพียงยึดอำนาจบริหารและกำหนดคุณสมบัติของผู้ประเมินมูลค่าให้เป็นผู้ที่มีหน่วยงานรับรองและคุณสมบัติของผู้บังคับหลักประกันให้มีคุณสมบัติเช่นเดียวกันผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.193 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | องค์กรธุรกิจ -- การกำหนดมูลค่า | en_US |
dc.subject | หลักประกัน | en_US |
dc.title | ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการนำกิจการมาเป็นหลักประกัน ทางธุรกิจตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ.2558 | en_US |
dc.type | Independent Study | en_US |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | กฎหมายการเงินและภาษีอากร | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject.keyword | จำนอง | en_US |
dc.subject.keyword | จำนำ | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.IS.2020.193 | - |
Appears in Collections: | Law - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6280049834.pdf | 1.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.