Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84684
Title: Brand experience of Thai consumers towards Let's Relax Spa and Massage
Other Titles: ประสบการณ์ตราสินค้าของผู้บริโภคชาวไทยที่มีต่อ Let's Relax Spa and Massage
Authors: Sasachol Chumnanvej
Advisors: Suthiluck Vungsuntitum
Other author: Chulalongkorn university. Faculty of Communication Arts
Issue Date: 2023
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: This study aimed to explore the brand experience of Thai consumers toward Let’s Relax Spa and Massage across four dimensions. Using qualitative methodology, nine participants were purposively selected for on-site and online in-depth interviews, ensuring diversity based on specific criteria. The participants, actual consumers aged 27-33, shared their experiences using open-ended questions guided by Brakus et al.'s (2009) brand experience dimensions and the 7Ps of service marketing. The findings indicated an overall positive brand experience, particularly in sensory and behavioral aspects, with outstanding experiences in sight, sound, and taste senses. While most participants had a positive affective experience, some expressed disappointment with staff service. Intellectual experience was relatively low due to insufficient brand information, but it minimally impacted the overall brand perception. Regarding the place, participants perceived Let’s Relax Spa and Massage as strategically located and reasonably priced, offering a premium service experience. Elements such as people and promotion were identified as areas for improvement in the participants' perception.
Other Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจประสบการณ์ตราสินค้าของผู้บริโภคชาวไทยใน 4 มิติ ที่มีต่อ Let’s Relax Spa and Massage โดยดำเนินการด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยทำสัมภาษณ์เชิงลึกผ่านการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัวและบนระบบออนไลน์กับกลุ่มตัวอย่าง 9 คน ใช้เทคนิคการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงเพื่อให้มีความหลากหลาย กลุ่มตัวอย่างของผู้ใช้บริการ Let’s Relax Spa and Massage อายุระหว่าง 27-33 ปี โดยใช้แนวคำถามปลายเปิดเป็นเครื่องมือของการเก็บข้อมูล ประสบการณ์ของแบรนด์ ประกอบด้วยมิติทางสัมผัส ทางอารมณ์ ทางพฤติกรรม และทางปัญญาตามงานวิจัยของ Brakus et al. (2009) ถูกนำมาใช้ในการสำรวจประสบการณ์ตราสินค้าของผู้บริโภคต่อ Let’s Relax Spa and Massage และ 7Ps ของการตลาดบริการเพื่อทราบความคิดเห็นทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อแบรนด์ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีประสบการณ์ตราสินค้าโดยรวมที่ดีต่อ Let’s Relax Spa and Massage โดยมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อกับประสาทสัมผัสและพฤติกรรมที่เป็นบวก มีประสบการณ์ที่โดดเด่นในทางประสาท เสียง และการสัมผัสรสนิยม นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างทุกคนล้วนพูดถึง Let’s Relax Spa and Massage กับผู้อื่นในทางที่ดี อาทิ ปัจจัยที่ควรมาใช้บริการที่นี่ อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะมีประสบการณ์ทางอารมณ์ที่ดี บางคนยังมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับบริการจากพนักงานซึ่งอาจทำให้พวกเขาผิดหวังเล็กน้อย กลุ่มตัวอย่างมีประสบการณ์ทางด้านปัญญาน้อยที่สุดเนื่องจากพวกเขาไม่ได้รับข้อมูลจากแบรนด์เท่าที่ควร อย่างไรก็ตามสิ่งนี้ก็ไม่ทำให้ประสบการณ์แบรนด์โดยรวมเปลี่ยนแปลงมากนัก ผลการศึกษายังแสดงให้เห็นว่าในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสถานที่ ผู้เข้าร่วมมีความรู้สึกว่า Let’s Relax Spa and Massage เป็นแบรนด์ที่ตั้งอยู่ในทำเลใจกลางเมืองที่สามารพวกเขาสามารถเข้าถึงได้ง่าย และในแง่ของการบริการ (ผลิตภัณฑ์) สิ่งของทางกายภาพ เช่น การตกแต่งของสถานที่ และกระบวนการในการให้บริการถือว่ามีความเหมาะสมหากพิจารณาปัจจัยในด้านของราคา อย่างไรก็ตามพวกเขาคิดว่าปัจจัยด้านพนักงานและการส่งเสริมการขายยังเป็นสิ่งที่สามารถปรับปรุงให้ดีได้มากขึ้น
Description: Independent Study (M.A. (Communication Arts))--Chulalongkorn University, 2023
Degree Name: Master of Arts (Communication Arts)
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Strategic Communication Management
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84684
Type: Independent Study
Appears in Collections:FACULTY OF COMMUNICATION ARTS - INDEPENDENT STUDY

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6588015628.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.